30 มี.ค. 2021 เวลา 02:09 • สุขภาพ
“ฮีทสโตรก” คืออะไร? ใครมีโอกาสเป็นได้บ้าง? แล้วจะป้องกัน และแก้ไขได้อย่างไร?
1
ทุกคำถาม มีคำตอบอยู่ในบทความนี้ครับ
จากการคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงหน้าร้อนของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน จะมีอากาศร้อนอบอ้าวเป็นระยะ ๆ และมีอากาศร้อนจัดในบางแห่ง และในบางช่วง อุณหภูมิน่าจะสูงถึง 40 - 43 องศาเซลเซียส!!!
1
ในสภาพอากาศที่ร้อนจัดอย่างนี้ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาแน่นอนครับ โดยเฉพาะ “โรคฮีทสโตรก” (Heat Stroke) หรือ “โรคลมแดด” ซึ่งโรคนี้เกิดได้ทุกเพศทุกวัย และมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว
ร้อนตับแล่บกันเลยทีเดียว!!!
โรคฮีทสโตรกคืออะไร?
เป็นโรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน มักจะเกิดเมื่ออยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป ส่งผลให้เกิดภาวะวิกฤตที่ไม่สามารถปรับตัว หรือควบคุมระดับความร้อนได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคนี้ถ้าหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องมีโอกาสรอดชีวิตถึง 90 % แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้เกินกว่า 2 ชั่วโมง ก็มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการของโรคนี้ไว้ให้ดี
ข้อสังเกต และอาการ
🎼เริ่มอาการบ่ดี🎼 ระวังนะครับ
1. มีอาการหน้ามืด อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีแรง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หอบ หายใจเร็ว ใจสั่น และหัวใจเต้นเร็วมาก
2
2. อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งรูขุมขนจะปิดจนไม่สามารถระบายเหงื่อออกมาได้
3. รู้สึกกระหายน้ำเป็นอย่างมาก
4. ตัวร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ผิวแดงจัด วัดอุณหภูมิได้มากกว่า 40 องศาเซลเซียส
5. มีอาการสับสน มึนงง หงุดหงิด พูดจาไม่รู้เรื่อง อาจถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง และหมดสติได้
ผู้ที่มีความเสี่ยง
อยู่กลางแดดอย่างนี้ระวังนะจ๊ะ
1. ผู้ที่ทำงานกลางแจ้งในที่อากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน ๆ อาทิเช่น กรรมกร เกษตรกร นักกีฬา ฯล
2. ผู้สูงอายุ และเด็ก
3. ผู้ที่อดนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
4. ผู้ที่ดื่มเหล้าจัด
5. ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด เป็นต้น
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ตามภาพเลยครับ อธิบายได้ดีมาก
1. นำผู้ป่วยเข้าที่ร่มในบริเวณที่อากาศเย็น หรืออากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
2. คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
3. ใช้ผ้าชุบน้ำอุณหภูมิปกติ แล้วเช็ดตัว ซอกรักแร้ คอ ขาหนีบ และหน้าผาก โดยเน้นไปที่การเช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อระบายความร้อนในร่างกาย
4. ใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน หรือใช้อะไรก็ได้พัดให้แรง ๆ เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด
5. หากยังไม่ฟื้นให้รีบโทร 1669 เพื่อนำตัวส่งโรงพยาบาลในทันที
วิธีป้องกัน
จิบน้ำบ่อย ๆ ครับ ทำได้ง่าย และสะดวกที่สุด
1. หลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้งที่มีอากาศร้อนมาก ๆ เป็นเวลานาน ๆ
2. จิบน้ำบ่อย ๆ ถึงแม้ไม่กระหายก็ตาม เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น และลดอุณหภูมิในร่างกาย
3. เลือกสวมเสื้อผ้าสีอ่อน ไม่หนา ระบายความร้อนได้ดี
4. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้อุณภูมิในร่างกายสูงขึ้นได้ง่าย
1
5. เด็ก และคนชราควรจัดให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
จะเห็นได้ว่าโรคฮีทสโตรกหรือลมแดดนั้นรุนแรง และอันตรายเป็นอย่างมาก แต่เราก็สามารถที่จะป้องกันตัวเอง และคนรอบข้างตามข้อมูลข้างต้นนะครับ
สุดท้ายนี้ก็ขอให้ทุกคนดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และปลอดภัยนะครับ
ทั้งนี้ยืนยันว่าบทความของผมไม่ใช่คำตอบ หรือบทสรุปที่ดีที่สุด ทุกคนควรใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับข้อมูลนะครับ
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม ไลค์ คอมเมนท์ หรือว่าแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมเสมอ
ขอบคุณครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สวัสดีครับ
ขอบคุณที่มา
โฆษณา