11 มิ.ย. 2021 เวลา 13:00 • ศิลปะ & ออกแบบ
ตอนที่12. จตุรัสวาติกัน Piazza san Pietro แห่งลม
1
X I I. Piazza san Pietro 3
1
on location.
วาดรูปอยู่ในเงามืด
Bernini อาจทำอะไรต่ออะไรรอบกรุงโรมทั่วไปหมด แต่ที่นี่คืออนุสาวรีย์แห่งงานของเขาเลยที่นี่คือ"VATICANO"หรือ VATICAN" ตอนนี้ขอลืมชิ้นงานด้านในวาติกันของ Bernini ซึ่งมีมากมายเต็มไปหมด (เพราะเข้าไปแล้วก็ดูไม่รู้อีกอาจจะต้องพึ่งตำราแต่คนเขียนก็ขี้เกียจแล้วและมาครั้งนี้ก็ยังไม่ได้ไปดูวาติกันซ้ำอีกครั้ง)
...
สัญลักษณ์กลางจตุรัสคือโอบิลิสก์มีกางเขนที่ยอดต่อความรู้สึกกับกางเขนเหนือโดมใหญ่
กางเขนสองอัน
.....นับแต่ศาสนจักร แข็งแกร่งขึ้นมาโดยเฉพาะอำนาจและความร่ำรวย จากความซบเซา มีการจัดทำ Piazza (เปี้ยซซ่า_ภาษาไทยใช้คำว่าอะไรดี จตุรัสหรือก็ไม่ครอบคลุม) อันนี้ตั้งแต่ยุค ศต.ที่15แล้ว สมัยแรกๆก็เป็นพื้นที่เหลี่ยมกว้างๆธรรมดา กว่าที่ Bernini จะเข้ามาออกแบบ Piazza นี้ ก็ประมาณ คต.ที่ 17 รูปทรงโค้งเสมือนวงแขนแห่งพระเจ้าทีโอบอุ้มผู้คน (ไม่ได้แปลมาจากไหนมาแต่เล่นสำนวนเล็กน้อย ) ผู้คนมหาศาลจากทั่วทุกทิศ ที่เข้ามาเฝ้าผู้นำศาสนาจะต้องรู้สึกตัวเล็กลงมากมากเวลาเข้ามาในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นี่ถือเป็นจตุรัสพลาซ่าหรือเพียสซ่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก เช่นเดียวกับแนวความคิดในการออกแบบพระราชวังกษัตริย์ แนวความคิดในการออกแบบของศิลปินนั้นถ้าถูกใจวาติกันแทบจะสามารถทำอะไรก็ได้เพราะในสมัยก่อนนั้น วาติกันมีทั้งอิทธิพลทางการเมืองการปกครองและร่ำรวยมาก
...
ให้ดูเสกลคนเทียบกับเสกลตัวอาคาร
......โค้งเป็นระเบียงสองเสาสูงใหญ่ เห็นแล้วนึกถึงระเบียงคตรอบพระอารามบ้านเราเลย ไม่ใช่เรื่องขนาดที่นำมาเปรียบกันแต่ผมนึกถึงประโยชน์ใช้สอยที่ผู้คนที่มีชีวิตในสมัยก่อนและสมัยนี้ได้ใช้งานจริงๆเพื่อพักและเตรียมตัวเข้าไปที่วาติกัน ต่อเสกลของผู้คน ต่อความรู้สึกและต่อศรัทธา ในศาสนสถานนั้นนั้น และวิถีของระเบียงคตในบ้านเราก็คล้ายคลึงกัน
.
ทิศที่ตำแหน่งโอบิลิสก์
แห่งลม
ขอบคุณสามรูปตอนบน จาก Google Earth และ Wikipedia
ยุคคต.ที่ 17 ระบบคำนวนไปไกลกว่ายุคของกรีกหรือโรมันแล้ว ถ้าเพื่อนๆลองดูดีดีจากแปลนของสถานที่แห่งนี้ตามรูปตอนบน วงแขนของพระเจ้า(ต้องจดลิกสิทธิ์แล้วสิชื่อนี้ : )) นั้นไม่ใช่รูปทรงกลม ทึ่กึ่งกลางนั้นเป็นเสาโอบิลิกส์แน่นอน Burnini ให้วงแขนของพระเจ้าเป็นรูปไข่ ถ้าผู้อ่านเป็นคนใดเป็นนักเรียนสถาปัตยกรรมรุ่นเก่า จะรู้ดีว่า คำว่ารุ่นเก่าคือเขียนแบบด้วยมือ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์อย่างสมัยนี้ จะรู้ว่าการเขียนแบบตลอดจนการคำนวนต่างๆของรูปไข่นั้นไม่ใช่วิทยายุทธิ์ระดับพื้นฐานเลย เป็นระดับปรมาจารย์ยังร้องเลย ลำพังแค่การหาพื้นที่รูปไข่ก็แย่แล้ว ยังไม่พูดถึงมิติอื่นๆ การสร้างสถาปัตยกรรม รูปไข่ในยุคนั้นแม้ใน คต.ที่17ก็ตาม ก็ถือเป็นสุดยอดของความท้าทายทีเดียว
....เมื่อปีก่อนที่ผมมา คนพาไปเขาให้ไปยืนที่มาร์คเกอร์ตำแหน่งหนึ่ง ณจุดนั้นเราสามารถดูระเบียงโค้งนี้โดยไม่เห็นเสาต้นที่สองเลย ฟังแค่นี้หลายท่านคงเฉยๆและอาจจะงงลองนึกภาพว่าระเบียงตัวโค้งนั้นวางอยู่กับเสาสองต้น ถ้าวงแขนของพระเจ้าเป็นรูปทรงกลมเวลาเรามองที่จุดศูนย์กลางวงกลม เสาต้นที่หนึ่งจะบังเสาต้นที่สองพอดีทุกมุมตา เมื่อเรายืนอยู่บนศูนย์กลางที่ โอบิลิสก์ตั้งพอดี แต่ที่นี่เป็นรูปวงรี และย้อนกลับมาที่รอบฐานของโอบิลิสก์มีจุดมาร์คเกอร์เป็นหินรูปวงรีแกะสลักเป็นรูปหน้าคนเป่าลม แสดงตำแหน่งทิศทางของลมถึงสิบหกตำแหน่งตามรูปด้านบน การที่ทำไว้นั้นเข้าใจว่าน่าจะเป็นเรื่องบันทึกรายละเอียดหรือชื่อมากกว่า แล้วทำไมถึงเป็นเรื่องของลมล่ะครับ ในหนังสือมีคำตอบไหม ไม่งั้นพี่ Bernini ผู้ออกแบบต้องมาเล่าให้ฟังแล้ว เมื่ออ่านในวิกิมีสดุดกับประโยคเล็กๆประโยคหนึ่งว่า ที่ฐานของโอบิสก์สองด้านตรงข้ามกันมีคำจารึกของคาถาปราบผี อย่าหัวเราะน่ะครับ เรื่องเช่นนี้ในสมัยก่อนเป็นเรื่องจริงจังทีเดียว ในยุคที่แล้วโลกของจิตวิญญาณเป็นความปกติธรรมดาผู้เผยแพร่ศาสนาเข้าไปในพื้นที่ต่างต้องเผชิญกับเรื่องคาดเดาไม่ได้ในชุมชน ผู้เผยแพร่นั้นคือตัวแทนของศาสนจักรคือตัวแทนของวาติกันและเป็นทูตของพระเจ้า ถ้ากำหราบผีไม่ได้ใครจะศรัทธา ก่อนที่ลมจากทุกทิศทุกทางจะหวนพัดผ่านเข้าสู่วาติกัน
.
...Obelisk ต้นนี้ชื่อ the circus of Nero นำมาจากอียิปต์ ลองมองตามขึ้นไปซิครับObelisk นำมาตั้งแต่ 37AD ดูเทคโนโลยี่ของคนสมัยก่อน คนรุ่น(เฉี่ยว)สองพันปีที่แล้วตัดหินสูงใหญ่ขนาดนี้ได้อย่างไรที่เป็นแท่งเดียวกัน เสาหินนี้สูงตั้ง 25 เมตรเทินอยู่บนฐานอีก 8 เมตรและมาปักอยู่ที่นี่เมื่อ คศว.17 แล้วเขาทำฐานทำโครงสร้างรับฐานนี้อย่างไร เอาเรื่องการขนส่งก็นแย่แล้ว อ้อสายล่อฟ้าอีกมีหรือไม่ ลุงวิกิแกก็ไม่บอกไว้
.
มุมมองที่ถนนด้านนอก
ไปขโมยรูปเจ้าถิ่นมาวันที่โป๊บออกบัญชร
.....ผม เดินมาจากสะพานนางฟ้าหรือปราสาท Castel Sant' Angelo ซึ่งกล่าวถึงเป็นตำแหน่งสัญลักษณ์ที่5(จิตวิญญาณ) ถนนหน้าปราสาทนี้ พุ่งเข้าหาศูนย์กลางของวาติกันคือโอบิลิสก์ โอบิลิสก์แต่ละตำแหน่งในโรมมีเหตุผลของยุคสมัยที่สร้างไว้ นี่คือตำแหน่งธาตุที่สี่คือลม โอบล้อมด้วยวงแขนของพระเจ้าทีกำลังส่งความรักความปรารถนาดีมาสู่พวกเราทุกคน ดูระยะทางเหมือนไม่ไกลนักแต่เดินไปก็เล่นเอาเหงื่อตกทีเดียว ในวงแขนของพระเจ้าผมแทบหาพื้นที่นั่งอย่างสบายคำว่าสบายคือมีที่ร่มหน่อยและไม่ค่อยจะมีคนมายุ่งมากนัก ไม่ได้เลยเพราะแม้แต่เป็นวันธรรมดา ที่ไม่ใช่เสาร์อาทิตย์ผู้คนเต็มลานเลยเดินกันเต็มไปหมด เข้าใจว่าคงมีการสวดอะไรในตอนเที่ยงเพราะหลังจากวาดรูปเสร็จ เดินกลับไปอีกครั้งประมาณบ่ายสองแล้วผู้คนบางตาลง แล้วผมก็อ้อมออกมาที่วงนอกของวงแขนพระเจ้า ประมาณข้อศอกด้านขวามือของพระเจ้ากระมัง ตรงนั้นมีเสต็บบันไดและร้านขายน้ำอยู่ มุมมองยังได้เห็นวาติกันเป็นมุมเอียงเล็กน้อย นั่งวาดได้แค่ลายเส้นประมาณสี่สิบนาที จากนั้นก็เดินรอบๆดูโน่นดูนี่่ดูนั่น
.
.....แม่ชีคนหนึ่ง สะพายกระเป๋าอย่างคนเดินทาง มาจากที่อื่น ยืนมองวาติกันนั้นอยู่คนเดียว แล้วผมก็เดินไปเดินมาอยู่แถวนั้น ถ่ายรูปบ้างดูพื้นที่ีดูงานสถาปัตยกรรมบ้าง ร่วมยี่สิบนาทีกลับมาที่ตรงนั้นอีกครั้ง แม่ชีคนเดิมยังยืนมองวาติกันอยู่เช่นเดิมกลางแดดจ้า ผู้คนรอบตัวบางเบามากแล้ว ศรัทธาของผู้คนนี้มีพลัง ศรัทธาของคนตัวเล็กๆคนหนึ่งอาจเปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างรอบตัว ศรัทธาที่มั่นคงของผู้คนเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่จริงจริงและศรัทธาของแม่ชีคนนี้ก็ฉายสว่างขึ้นกลางแดดอดไม่ได้ที่ตากล้องต้องจับภาพไว้ ศาสนจักรยิ่งใหญ่ขึ้นมาด้วยปัจจัยนี้เอง
.
โคลงชมวาติกัน
โคลงชมซานเปโตร ธาตุลม
โคลงชมวัดฝรั่ง
ทางแก้ว

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา