2 เม.ย. 2021 เวลา 14:12 • สิ่งแวดล้อม
“นกตบยุง”
สำหรับบางคนอาจจะเป็นชื่อที่คุ้นหู
แต่สำหรับบางคนอาจจะเป็นชื่อที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน
เพราะฉะนั้นในโพสต์นี้ผมจะมานำเสนอเกี่ยวกับเรื่องของนกตบยุงครับ
ความหมายของชื่อนกตบยุง
ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด บ้างก็บอกว่าพวกมันมีท่าบินที่เหมือนกำลังตบยุงกลางอากาศ บ้างก็บอกว่าเวลาพวกมันงับแมลงจะมีเสียงเหมือนกำลังตบยุง
นกตบยุงเล็ก Indian nightjar จากสวนพุทธมณฑล
นกตบยุง(nightjar)เป็นนกกลางคืนชนิดหนึ่ง
ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับนกฮูก นกเค้าแต่อย่างใด
มันเป็นนกที่มักจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนพื้น(อาจจะอยู่บนต้นไม้ เกาะสายไฟเป็นบางครั้ง)ตอนกลางวันก็มักจะหาที่ราบใกล้ๆหญ้ารกๆ แล้วก็นอนสงบนิ่งเหมือนเป็นเพียงท่อนไม้ท่อนหนึ่ง
นกขนาดไม่ถึงฟุต ตอนกลางวันก็สงบนิ่ง ไม่ร้องไม่ขยับใดๆ เวลาไปเดินที่ใหนระวังอย่าเหยียบน้องนะครับ😅
พวกมันเป็นนกที่กินแมลงเป็นอาหาร โดยพวกมันจะเริ่มตื่นอย่างเต็มที่และหาอาหารในช่วงพลบคำ่
เสียง”จุ๋ง จุ๋ง จุ๋ง”ในช่วงกลางคืนคือเสียงอันuniqueของพวกมัน
ลองฟังตัวอย่างเสียงของนกตบยุงหางยาวในลิ้งนี้ได้เลยครับ
ส่วนอันนี้เป็นเสียงของนกตบยุงเล็ก เสียงของมันจะถี่กว่ามากๆ
ลวดลายบนหลังมีการเลียนแบบกิ่งไม้ เศษใบไม้เพื่อการพรางตัว
นกตบยุงในไทยมีทั้งหมด6ชนิด ประกอบไปด้วย
นกตบยุงเล็ก Indian Nightjar
นกตบยุงหางยาว Large-tailed Nightjar
นกตบยุงป่าโคก Savanna Nightjar
นกตบยุงภูเขา Grey Nightjar
นกตบยุงพันธุ์มลายู Malay Eared-nightjar
นกตบยุงยักษ์ Great Eared-nightjar
โดยในนกตบยุงทั้ง6ชนิดนี้ มีเพียงนกตบยุงป่าโคกเท่านั้นที่มีประชากรที่เป็นนกอพยพ ที่เหลือเป็นนกประจำถิ่น
ภาพที่แสดงถึงนกตบยุงชนิดต่างๆในไทย จากหนังสือBird of Thailand รูปประเทศไทยจะแสดงพื้นที่ที่มีการพบนกชนิดนั้นๆอยู่ สีเขียวหมายถึงพื้นที่ที่เป็นนกประจำถิ่น ส่วนสีฟ้าคือพื้นที่ที่เป็นนกอพยพ
สำหรับในประเทศไทยนั้น มีเพียง
นกปากกบ(frogmouth)เท่านั้น ที่เป็นญาติสนิทกับนกตบยุง โดยพวกมันต่างจากนกตบยุงตรงที่ พวกมันใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้เท่านั้น ไม่ได้ใช้ชีวิตบนพื้นเหมือนนกตบยุง
ภาพของนกปากกบพันธุ์ชวา(Blyth’s frogmouth)จาก อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี
ทีนี้เรามาพูดถึงนกตบยุงเล็กในภาพที่ผ่านๆมากันครับ
ในวันที่20มีนาคมที่ผ่านมา ผมได้ตามไปยังสถานที่ที่มีคนเจอนกตบยุงเล็ก(สวนพุทธมณฑล)
ด้วยความที่ผมยังไม่เคยเจอนกตบยุงมาก่อนในชีวิต ทำให้ผมไม่มีประสบการณ์ในการหาตัวพวกมันแต่อย่างใด จึงใช้เวลาหาตัวมันนานมากๆ
ระหว่างนั้นผมก็เอาเวลามาถ่ายนกเด้าดินทุ่งเล็ก(Paddyfield pipit)ไปพลางๆ
นกเด้าดินทุ่งเล็ก(Paddyfield pipit) เป็นนกcommonชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ตามทุ่งทั่วไป
และในที่สุด ก็มีคนเจอนกตบยุงเล็กครับ ซึ่งเค้าได้เห็นนกตบยุงเล็กตัวนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว เค้าเลยสามารถชี้ให้พวกผมดูได้อย่างง่ายดาย
การได้เจอกับนกตบยุงครั้งนี้เป็นอะไรที่ผมมีความสุขมาก เพราะมันเป็นนกโปรดของผมมาตั้งแต่ตอนที่ผมเพิ่งดูนกใหม่ๆ ด้วยความที่มันค่อนข้างแปลกตาและมีการวิวัฒนาการไปในเส้นทางที่แตกต่างจากนกทั่วไป
และอีกอย่าง ในช่วงที่ผมไป มันกำลังเลี้ยงลูกถึง2ตัววว
จากรูปนี้จะเห็นว่ามีปากของ”น้อง”ถึงสองตัว ที่แม่นกตบยุงกำลังอุ้มเอาไว้อยู่ใต้ปีก
เนื่องจากเป็นช่วงที่พวกมันเลี้ยงลูก มันจึงยอมให้คนเข้าใกล้ได้มากกว่าปกติ ผมจึงสามารถนั่งอยู่กับมันได้ยันมืดเลยละครับ
น้องงงงงงงงง
พอถึงช่วงพลบค่ำ แม่ของมันก็จะเริ่มลืมตาขึ้นมาแล้วครับ
น่าเสียดายที่ผมยังไม่สามารถลงวีดิโอในนี้ได้ ผมจะแคปหน้าจอจากคลิบผมมาแทนละกันครับ
ส่วนคลิบเต็ม สามารถเข้าไปดูในลิ้งนี้ได้เลยครับ
ในช่วงหัวค่ำที่นกตื่นเต็มที่ แม่นกตบยุงก็จะเฝ้าระวังผมเป็นพิเศษ
เนื่องจากในคลิบนี้ ผมยังไม่ได้หยิบไฟฉายจากบนรถมา ผมจึงต้องใช้ไฟจากโทรศัพท์ในกายฉายเพื่ออัดวีดิโอ
แต่เมื่อผมพยายามเอาไฟจากโทสับเข้าใกล้มากขึ้น
แม่นกที่เริ่มรู้สึกว่าตรงที่มันอยู่เริ่มไม่ปลอดภัย มันจะย้ายที่เขยิบออกมาและร้องเรียกให้ลูกมันตามไปครับ
1
แม่นกกระโดดออกมา พร้อมร้องเสียงจุ๋งๆเบาๆ
ลูกนกตบยุงที่ได้ยินเสียงของแม่ ก็จะพยายามวิ่งไปตามเสียงของแม่มันครับ
Fact:ลูกนกที่ต้องใช้ชีวิตอยู่บนดิน จะสามารถลืมตา และเดินได้ตั้งแต่ออกจากไข่ได้ไม่นาน ต่างจากนกบนต้นไม้ที่จะไม่สามารถทำอะไรได้เลย ร้องเพื่อขออาหาร
“น้อง”ยกปีกและพยายามวิ่งตามเสียงของแม่
พอพวกมันวิ่งมาถึงแม่ มันก็จะรีบเข้าไปซุกในตัวแม่ทันทีครับ
หลังจากผมอัดคลิบนั้นเสร็จ ผมก็รีบวิ่งไปเอาไฟฉายที่รถทันทีครับ ตอนนั้นลุ้นมากว่านกจะยังอยู่รอมั้ย เพราะรถอยู่ไกลมาก ตอนนั้นหอบจะเป็นจะตายเลย😂
2
และแน่นอนครับ น้องก็ยังคงอยู่ที่เดิม
ด้วยความรู้ที่ผมมีในตอนนี้ ผมทราบเพียงแค่ว่า ดวงตากับหนวดของนกตบยุง จะแบ่งงานกันทำ โดยที่ดวงตาจะสอดส่องสิ่งรอบตัวด้านบน ส่วนหนวดของมันจะตรวจจับสิ่งต่างๆด้านล่าง
สุดท้ายแล้ว ผมจะบอกว่า
เราอาจจะคิดว่าเรามีความรู้มากแล้ว แต่จริงๆแล้วมันยังมีอะไรอีกมากให้เราได้ค้นหา
ในพื้นที่ทุ่งว่างเปล่า ดูแห้งแล้งที่สำหรับเราอาจจะดูไร้ค่า แต่จริงๆอาจจะมีสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่ต้องการใช้สอยพื้นที่นั้นๆ อย่างเช่นนกตบยุง นกเด้าดินทุ่งเล็ก เป็นต้น
.
.
.
ไม่เคยคิดเลยครับว่าแค่การเขียนโพสต์แค่1โพสต์มันใช้พลังงานมากขนาดนี้ หวังว่าจะอ่านกันจนจบนะครับ ความรู้มากมายในโพสต์พวกนี้ ผมหวังว่าผู้อ่านจะได้รับมันไปนะครับ☺️

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา