3 เม.ย. 2021 เวลา 04:48 • สุขภาพ
กว่าจะเป็นมาราธอน 42.195 กิโลเมตร
โดย TERI2497
1
1
วินาทีที่เท้าก้าวเข้าสู่เส้นชัยคือวินาทีแห่งชัยชนะ
เบื้องหลังการพิชิตระยะทางอันยาวไกลคือการซ้อมหนักเพื่อเคี่ยวกรำตนเอง
แต่สำหรับการวิ่งมาราธอนแล้ว อาจกล่าวได้ว่าชัยชนะไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะที่วิ่งเข้าสู่เส้นชัย
1
สำหรับมาราธอนนั้นจิตวิญญาณแห่งชัยชนะเกิดขึ้นตลอดเวลา
นับตั้งแต่วันที่ตัดสินใจว่าจะลงแข่งขัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ระยะทางยาวไกลเป็นบททดสอบท้าทายให้ก้าวข้าม
1
แต่เคยมีคำถามไหมว่าทำไมต้องเป็นระยะทาง 42.195 กิโลเมตร ?
1
2
ย้อนเวลากลับไปราว 490 ปีก่อนคริศตกาล ณ บริเวณอ่าวมาราธอนซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเอเธนส์ พลทหารเปอร์เซียราว 150,000 นาย กรีฑาทัพเข้ารุกรานกรีกที่มีไพร่พลเพียง 10,000 นาย
แม้ทัพกรีกมีกองกำลังน้อยกว่าทัพเปอร์เซียอย่างเทียบไม่ได้ แต่กลับพลิกปราบศัตรูผู้เข้ามารุกรานได้อย่างเหลือเชื่อ
การรบพุ่งโชกเลือดบริเวณที่ราบตามแนวชายหาดจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายกรีกที่เสียกำลังพลเพียง 203 นาย ขณะที่ฝ่ายเปอร์เซียสูญเสียราว 4,600 นายและต้องล่าถอยแตกทัพ กองทัพกรีกพิฆาตกองทัพเปอร์เซียที่มีชื่อเสียงเกรียงไกรจนถอยร่นแพ้พ่าย
อย่างไรก็ดีทัพกรีกรู้ดีว่ากองเรือจากเปอร์เซียน่าจะเพียงถอยร่นชั่วคราว การถอยทัพเกิดขึ้นเพื่อรอจังหวะสวนกลับ นี่คือข่าวสารสำคัญที่ทัพกรีกต้องรีบแจ้งให้ทางเอเธนส์ทราบโดยเร็ว
3
ไม่นานหลังเข้ารายงานตัว เฟดิปพิดีส (Pheidippides) พลนำสารแจ้งข่าวสงคราม ก็ได้รับมอบภารกิจสำคัญคือการวิ่งจากสมรภูมิสงครามบริเวณอ่าวมาราธอนกลับกรุงเอเธนส์เพื่อแจ้งข่าว
ขณะที่งานวิ่งมาราธอนในปัจจุบันนิยมปล่อยตัวก่อนฟ้าสางเพื่อเลี่ยงปัญหาจราจรติดขัด รวมทั้งลดการเผชิญหน้ากับแดดร้อน ตลอดเส้นทางวิ่งมีให้บริการเครื่องดื่มเกลือแร่หรือน้ำดื่มแก้กระหาย ผู้จัดงานวิ่งต้องเคร่งครัดวางจุดให้น้ำทุกช่วงประมาณ 1-2 กิโลเมตร
1
นักวิ่งได้รับการสนับสนุนให้ทำเวลาในการวิ่งได้ดีและปลอดภัย แต่หากย้อนเวลากลับไปในอดีต เฟดิปพิดีสคงจะไม่มีสิทธิ์เลือก
ว่ากันว่าเขาวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะทางราว 40 กิโลเมตรโดยแทบจะไม่หยุดพัก ชายคนนี้ออกวิ่งสุดกำลังตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายด้วยความกระหายน้ำและหิวโซ
ตำนานระบุว่าเมื่อถึงเอเธนส์ เฟดิปพิดีสตะโกนคำว่า “nenikekamen” หมายถึง “เราชนะแล้ว” ถ่ายทอดข่าวสารเกี่ยวกับผลการสงคราม แล้วจากนั้นจึงล้มลงสิ้นใจ
แม้ยังคงมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ แต่ตำนานการวิ่งของพลนำสารคนนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์การวิ่งมาราธอน แม้ผ่านไปสองพันกว่าปียังคงมีเสียงสรรเสริญว่าวิถี “มาราธอนเนอร์” คือวิถีแห่งผู้กล้า
4
วันเคลื่อนเดือนผ่าน ปี ค.ศ.1896 ประเทศกรีซให้กำเนิดกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ เพื่อรำลึกและสืบสานตำนานสมรภูมิมาราธอน เจ้าภาพจึงจัดให้มีการแข่งขันวิ่งมาราธอนระยะทาง 40 กิโลเมตรครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิก โดยมีจุดปล่อยตัวอยู่ที่สะพานมาราธอน (Marathon Bridge) เส้นชัยอยู่ที่โอลิมปิกสเตเดี้ยม (Olympic stadium) ในกรุงเอเธนส์
เมื่อถึงกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ. 1908 กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเป็นเจ้าภาพ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 กษัตริย์อังกฤษผู้คลั่งไคล้กีฬาประสงค์ให้นักกีฬามาราธอนวิ่งเข้าเส้นชัยในพระราชวังวินเซอร์ เพื่อที่พระองค์จะได้ทอดพระเมตรวินาทีแห่งชัยชนะ ระยะทางมาราธอนจึงถูกปรับเพิ่มเข้าไปอีก 195 เมตร ต่อมาในปี ค.ศ. 1921 สหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (World Athletics) หรือ IAAF จึงกำหนดให้การวิ่งมาราธอนมีระยะทางเท่ากับ 42.195 กิโลเมตร อย่างเป็นทางการ อันเป็นระยะมาตรฐานที่ยังคงยึดถือสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน
1
ทุกวันนี้การวิ่งมาราธอนกลายเป็นหนึ่งในกีฬาสำคัญขาดไม่ได้ของโอลิมปิกมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ เป็นกีฬาพิสูจน์ศักดิ์ศรีแห่งหัวจิตหัวใจ และแสดงให้เห็นศักยภาพด้านกำลังกายอันไร้ขีดจำกัดของมนุษย์
.
เหมือนดังเช่นที่ครั้งหนึ่งพลนำสารสงครามนาม เฟดิปพิดีส เคยแสดงไว้ให้เห็นเป็นประจักษ์
1
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥
หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลค์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'
◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
#Olympicstadium #PlayNowThailand #khelnow #MarathonBridge #วิ่งมาราธอน #nenikekamen #Run #Runing #HarukiMurakami

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา