15 เม.ย. 2021 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
รายได้สำหรับ youtuber , influencer และ KOL!?
วางแผนภาษียังไงดี?
1
ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและ Social Media เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของคนในยุคปัจจุบันมากขึ้น ทำให้มีการใช้ Social Media เข้ามามีส่วนช่วยในการทำธุรกิจในด้านต่างๆ เช่นการขายของผ่านช่องทางออนไลน์ การโฆษณาผ่าน Social Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Line ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี นอกเหนือจากนี้ช่องทางการหารายได้อีกช่องทางหนึ่งคือ YouTube
YouTube เป็นเว็บไซต์แลกเปลี่ยนภาพวิดีโอที่มีชื่อเสียง (www.youtube.com) โดยในเว็บไซต์นี้ ผู้ใช้สามารถอัพโหลดภาพวิดีโอเข้าไป เปิดดูภาพวิดีโอที่มีอยู่ และแบ่งภาพวิดีโอ รวมถึงการ Live สดผ่าน YouTube เหล่านี้ให้คนอื่นดูได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในปัจจุบันมีคนเป็น Youtuber เกิดขึ้นมามากมาย สร้าง content ในรูปแบบวิดีโอมากมายจนมีผู้ติดตามหลายคนหลักหมื่นจนถึงหลักล้านคนก็มี จนกลายเป็นผู้มีอิทธิพลบนสื่อ Social หรือที่เราเรียกว่า Influencer หลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบที่มาของรายได้ของ YouTube ว่าจะมีรายได้จากทางไหนได้บ้าง มาดูกัน
1. ส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากการนำโฆษณามาวางในช่อง YouTube
2. รับจ้างรีวิวสินค้า
3. รับจ้างโชว์ตัว
4. ซื้อมา ขายไป
เมื่อมีรายได้ก็ต้องเสียภาษีไม่ว่าจะมาจากช่องทางใดก็ตาม รายได้จากการเป็น Youtuber ก็เป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีเช่นเดียวกัน ทีนี้เราจะมาดูกันว่าจากรายได้จาก 4 ช่องทางดังที่กล่าวข้างต้นนั้นเป็นเงินได้ประเภทไหนและหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่
1. ส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากการนำโฆษณามาวางในช่อง YouTube
เป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8)
หักค่าลดหย่อนได้แบบเดียวคือ ตามจริง (ต้องมีหลักฐาน)
2. รับจ้างรีวิวสินค้า
แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ
- ใช้แรงงานตนเอง, ค่าใช้จ่ายน้อย, ไม่มีสำนักงาน, ไม่มีลูกจ้าง
เป็นเงินได้ประเภทที่ 2 หรือ 40(2)
หักค่าลดหย่อนได้แบบเดียวคือ เมื่อรวมกับเงินได้ประเภทที่ 1 แล้วหักค่าลดหย่อนได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ลงทุนเครื่องมือ เครื่องใช้, ค่าใช้จ่ายสูง, มีสำนักงาน, มีลูกจ้าง
เป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8)
หักค่าลดหย่อนได้แบบเดียวคือ ตามจริง (ต้องมีหลักฐาน)
3. รับจ้างโชว์ตัว
แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ
- ใช้แรงงานตนเอง, ค่าใช้จ่ายน้อย, ไม่มีสำนักงาน, ไม่มีลูกจ้าง
เป็นเงินได้ประเภทที่ 2 หรือ 40(2)
หักค่าลดหย่อนได้แบบเดียวคือ เมื่อรวมกับเงินได้ประเภทที่ 1 แล้วหักค่าลดหย่อนได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ลงทุนเครื่องมือ เครื่องใช้, ค่าใช้จ่ายสูง, มีสำนักงาน, มีลูกจ้าง
เป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8)
หักค่าลดหย่อนได้สองแบบคือ แบบเหมา (มีเงื่อนไข) หรือ ตามจริง (ต้องมีหลักฐาน)
*** ถ้าเป็นการโชว์ตัวที่เป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ต้องเข้าลักษณะที่เป็น “การแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี
นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ” จึงจะหักค่าใช้จ่ายในอัตราเหมาได้ ดังนี้
(ก) เงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท หักลดหย่อนแบบเหมาได้ 60%
(ข) เงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท หักลดหย่อนแบบเหมาได้ 40% โดยที่การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท
4. ซื้อมา ขายไป
เป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8)
หักค่าลดหย่อนได้สองแบบคือ แบบเหมา 60% หรือ ตามจริง (ต้องมีหลักฐาน)
จากข้อมูลที่มาเงินได้ของ Youtuber ข้างต้นจะเห็นได้ว่า Youtuber นั้นมีที่มาของเงินได้หลายช่องทาง ซึ่งเงินได้แต่ละแบบนั้นก็มีวิธีการหักค่าลดหย่อนต่างๆกัน ดังนั้น Youtuber ทุกท่านควรศึกษาที่มาของเงินได้แต่ละแบบและวิธีการหักค่าลดหย่อนให้เข้าใจเพื่อที่เวลายื่นภาษีกับสรรพากรจะได้มีข้อมูลที่ถูกต้องและเมื่อมีการตรวจสอบสามารถมีหลักฐานมาแสดงได้ถูกต้องและครบถ้วน
อย่าลืมว่าหลักการยื่นภาษียื่นได้ 2 แบบ
1. รายได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = คำนวนภาษีตามขั้นบันได
2. นำเงินได้พึงประเมินมาคูณ 0.05 ได้จำนวนเท่าไรคือภาษีที่ต้องเสีย
หลังจากนั้นให้นำภาษีที่คำนวณได้ของ วิธีแรก และ วิธีสอง มาเปรียบเทียบกัน ถ้าจำนวนของวิธีไหนมากกว่า ให้ใช้จำนวนนั้นเป็นภาษีที่ต้องเสีย
เลือกอันที่เสียภาษีมากกว่ายื่นค่ะ
🤸🤸‍♀️🤸‍♂️
🤑ดอยอะไรก็ติดได้..แต่อย่าติดดอยชีวิต🤑วางแผนไว้ก่อน..รู้รอดเป็นยอดดี
หมอลงทุน
FA Sayamon S.
Finnomena ref 116407
ติดต่อแนะนำการลงทุนได้ที่..สมัครเลย!
♥️ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ ♥️
รบกวนกด Like กดแชร์ เป็นกำลังใจให้กัน ส่งต่อความรู้ดีๆ ให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคนน้า
blockdit หมอลงทุน
facebook หมอลงทุน
...
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา