4 เม.ย. 2021 เวลา 23:30 • สิ่งแวดล้อม
ปลานกแก้วหัวโหนก (Humphead Parrotfish)
สำหรับปลานกแก้วหัวโหนกสายพันธุ์นี้ ถือว่ามีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในสายพันธุ์ของปลานกแก้วเลยก็ว่าได้ ซึ่งมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลานกขุนทองหัวโหนก (Cheilinus Undulatus) ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลานกขุนทอง เป็นปลาที่ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นปลาที่ช่วยฟื้นฟูแนวปะการัง
1
ปลานกแก้วหัวโหนก
ลักษณะ
โดยมีลักษณะเด่น คือ บริเวณหน้าผากโหนกหนาแข็งแรง ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกันชนเวลาที่เข้ากัดกินหินหรือปะการังแข็ง ๆ เพื่อกินเป็นอาหาร ปากและฟันหน้าใหญ่แข็งแรง ติดกันเป็นพรืดเหมือนกันกับปลานกแก้วชนิดอื่นทั่วไปไม่เป็นซี่ ๆ เหมือนสัตว์ทั่วไป ลักษณะของปากและฟันเช่นนี้ทำให้ถูกเปรียบเทียบว่าคล้ายกับจะงอยปากของนกแก้ว อันเป็นที่มาของชื่อ มีลำตัวทั่วไปสีเขียว
พบได้ที่
พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ทะเลแดง, ซามัว จนถึงนิวแคลิโดเนียและเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ในออสเตรเลีย สำหรับน่านน้ำไทย ถือเป็นปลาที่พบได้น้อย หายาก จึงมักเป็นที่ชื่นชอบของนักประดาน้ำเพื่อถ่ายรูปเช่นเดียวกับปลานกขุนทองหัวโหนก โดยอาจพบได้ที่เขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันและหมู่เกาะสุรินทร์แต่ก็ไม่บ่อยนัก และจำนวนก็ไม่มาก ครั้งละ 3-4 ตัวเท่านั้น
#สาระจี๊ดจี๊ด
ปลานกแก้วช่วยฟื้นฟูแนวปะการัง จากการกินพืชในแนวปะการัง โดยเฉพาะสาหร่ายทะเล ที่มักจะสร้างความเสื่อมโทรมให้กับปะการัง ซึ่งหลังจากที่มันกินเสร็จแล้ว เจ้าปลาชนิดนี้ก็จะขับถ่ายออกมาเป็นทรายอีกด้วย ซึ่งการถ่ายออกมาเป็นทรายนี้ ไม่เพียงแค่มีแต่ความแปลกเพียงอย่างเดียว แต่ทรายที่ถูกขับถ่ายออกมายนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยฟื้นฟูแนวปะการังได้เป็นอย่างดี
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
ปลานกแก้วหัวโหนกเป็นปลาที่อยู่อาศัยหากินรวมกันเป็นฝูง ตามแนวปะการัง ในฝูงหนึ่งประมาณ 13-14 ตัว ออกหากินในเวลากลางวัน และเข้านอนตามซอกหลืบถ้ำหรือตามซากเรือจมในเวลากลางคืน ในระดับความลึกไม่เกิน 30 เมตร
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
Humphead Parrotfish
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
โฆษณา