25 เม.ย. 2021 เวลา 10:21 • การศึกษา
Python101 : บทที่ 4 การใช้งาน String
ต่อกันใน EP.4 หลังจากเรียนการหาประเภท data type แบบต่างๆกันแล้ว
มาเริ่มด้วย การใช้ String หรือข้อความ ในรูปแบบต่าง ๆ 💻
EP.4 Data type String
ถ้าใครยังไม่ได้กดติดตาม หรืออ่านบทพื้นฐานก่อนหน้านี้อ่านได้ที่
บทที่ 1 เริ่มพื้นฐาน จากบทที่ 1 ของ Python101 ไปอ่านได้ที่
บทที่ 2 คำสั่งการเขียนโปรแกรมที่ต้องรู้ (algorithm) อ่านได้ที่
บทที่ 3 Built-in Data Types อ่านได้ที่
💻 เริ่มเปิดโปรแกรมสำหรับเขียน Python ได้ที่เวป Colab -->
รูปที่ 1 : New Notebook
สร้าง New Notebook กดตามรูปที่ 1 และแก้ไขชื่อ Notebook ตามรูปที่ 2
รูปที่ 2 : แก้ไขชื่อเป็น Python101_Lession4
เริ่มด้วยการทบทวน แทนค่าตัวแปรด้วย ข้อความ เช่น แทนตัวแปร a= "Hello"
a = "Hello"
print(a)
แล้วสั่งพิมพ์ข้อความนั้นออกมา
รูปที่ 3 : Print ตัวแปร String
ลองกำหนดตัวแปรแบบ Array บ้าง ตามตัวอย่างด้านล่าง หาตัวอักษรตามลำดับตัวอักษรในข้อความ Hello, World!
a = "Hello, World!"
print(a[1])
จะแสดงตัวอักษร e ตามรูปที่ 4 ซึ่งคือตัวอักษรตัวที่ 2 หรือลำดับ array จะนับเริ่มจาก 0,1,2,3,4 ไปเรื่อยๆ จนถึงตัวสุดท้าย
รูปที่ 4 : Print ตัวแปร String แบบ Array
ลองอีกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจ array มากขึ้น
a = "Hello, World!"
print(a[0] ,a[4])
ให้พิมพ์ตัวอักษร ลำดับที่ 0 และ 4 ผลลัพธ์คือ H และ o
รูปที่ 5 : Print ตัวแปร String แบบ Array-2
การใช้ Loop กับ String เพื่อแสดงข้อมูลหรือตัวอักษรทั้งหมดที่อยู่ในชุดตัวอักษรทั้งหมด (string value) ตามตัวอย่างรูปที่ 6
for x in "banana":
print(x)
หมายเหตุ : การใช้คำสั่ง Loop คือการวนคำสั่งเดิม ในที่นี้ใช้คำสั่ง for สำหรับตัวแปร x ที่อยู่ใน ข้อความว่า "banana"
แล้วให้พิมพ์ ค่า x ซ้ำๆ กันจนครบข้อความใน คำว่า "banana"
รูปที่ 6 : การใช้คำสั่ง Loop กับ String
การหาความยาวของชุดข้อความ string ทั้งหมด ใช้คำสั่ง len
a = "Hello, World!"
print(len(a))
ดูตัวอย่างตามรูปที่ 7 len มาจากคำว่า Length หรือความยาวของตัวอักษร
รูปที่ 7 : การใช้คำสั่ง Len ใน string
การเช็คว่ามีข้อความอยู่ใน string นี้หรือเปล่า
txt = "The best things in life are free!"
print("free" in txt)
จากตัวอย่างในรูปที่ 8 เช็คว่ามีคำว่า free อยู่ในตัวแปร txt หรือไม่ โดยค่าที่แสดงออกมา คือการ return จริง (true) หรือ เท็จ (false)
รูปที่ 8 : การหาว่ามีข้อความใน text หรือ string หรือเปล่า
แต่ถ้าเราอยากให้แสดงข้อความ เราสามารถแก้ Code ให้ใส่คำสั่ง if เพิ่มเข้าไป
โดยปกติ if จะทำเมื่อตรรกะนั้นเป็นจริง (true) เท่านั้น ดังนั้น
จากรูปที่ 9 จะให้พิมพ์ Yes, 'free' is present. ถ้ามี คำว่า free อยู่ในตัวแปร txt
txt = "The best things in life are free!"
if "free" in txt:
print("Yes, 'free' is present.")
รูปที่ 9 : การใช้ if เข้ามาช่วยในการแสดงข้อมูล
ในอีกกรณี คือ ถ้าข้อความที่เราหาไม่มีใน txt แล้วต้องการให้พิม์ออกมาจะเป็นตามตัวอย่าง 10 คือการใช้คำสั่ง if xxx not in txt:
ถ้าไม่มีคำว่า expensive ใน ตัวแปร txt ให้พิมพ์คำว่า
Yes, 'expensive' is NOT present.
txt = "The best things in life are free!"
if "expensive" not in txt:
print("Yes, 'expensive' is NOT present.")
รูปที่ 10 : การใช้ if และ not in สำหรับ string
อีกในกรณี คือถ้าเราจะแยกเป็น if หรือ else คือถ้าเป็นจริง หรือ เท็จ ให้ทำแบบไหน หรือพิมพ์อะไรออกมา
เช่นตามตัวอย่างรูปที่ 11 ถ้ามีคำว่า free ใน txt (true) ให้พิมพ์ว่า
Yes, 'free' is present.
แต่ถ้าไม่มีคำว่า free ใน txt (False) ให้พิมพ์ว่า
No, 'free' is not present.
txt = "The best things in life are true!"
if "free" in txt:
print("Yes, 'free' is present.")
else:
print("No, 'free' is not present.")
รูปที่ 11 : การใช้ if และ else สำหรับ string
================================================
มาถึงเรื่องการตัดคำใน String บ้าง เช่น เราจะตัวคำบางส่วนใน string
ตามตัวอย่างรูปที่ 12 คือ ตัดคำตั้งแต่อักษรตัวที่ 2 ถึง 6 (นับเริ่มที่ 0,1,2,3...)
จากข้อความ ในตัวแปร b ที่เก็บค่า Hello, World!
b = "Hello, World!"
print(b[2:6])
รูปที่ 12 : การตัดคำใน String
===============================================
สำหรับ EP4. จบเรื่อง String ไว้เท่านี้ก่อนแล้วมาต่อใน EP.5 จะมีเรื่อง Data Type String มาเพิ่มเติมขึ้น
ลองทบทวนแล้วเอาไปปรับใช้ดู หรือศึกษาเพิ่มเติมใต้ลิงค์นี้
ถ้ามีคำถาม หรือ comment ไว้ใต้บทความนี้ได้เลย
เอกสารอ้างอิง จาก :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา