7 เม.ย. 2021 เวลา 14:04 • สุขภาพ
ไวรัสโควิดสายพันธุ์อังกฤษ ที่เป็นสายพันธุ์ของคลัสเตอร์ทองหล่อครั้งใหม่นี้คืออะไร?
1
หลังจากมีรายงานแจ้งจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าพันธุกรรมของไวรัส SARs-CoV-2 จากตัวอย่างบางแคและทองหล่อ คือสายพันธุ์ B.1.1.7 ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดียวกับที่มีข่าวการระบาดในอังกฤษก่อนหน้านี้ ทำให้เกิดความตื่นตระหนกมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดเร็ว ถ้าเช่นนั้นควรมาทำความรู้จักกับไวรัสโควิดสายพันธุ์นี้กันสักหน่อย
1
directorsblog.nih.gov
🦠 ความเป็นมา
ไวรัสโควิดสายพันธุ์ B.1.1.7 ถูกพบระบาดเป็นครั้งแรกที่เมือง Kent ประเทศอังกฤษ ช่วงเดือนกันยายน ปี 2020 ซึ่งโดยปกติจะสุ่มตรวจสอบพันธุกรรมของเชื้อจากเคสคนไข้ประมาณ 5-10% เท่านั้น แต่กลับพบว่าจากเคสประมาณ 4% หรือ 255 คนในเมือง Kent ที่ถูกตรวจ มีถึง 117 เคสที่ผลตรวจรายงานว่าพันธุกรรมของเชื้อแตกต่างจากสายพันธุ์ดั้งเดิม และพบในคนไข้จำนวนมาก แสดงว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดการกลายพันธุ์ขึ้นมา
1
ขณะนั้นประเทศอังกฤษเรียกชื่อไวรัสโควิดที่เพิ่งค้นพบว่า Variant Under Investigation (VUI) หมายถึง ‘สายพันธุ์ที่อยู่ในช่วงตรวจสอบ’ แต่หลังจากนั้น กลับพบว่ามีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วทั้งบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ จึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า Variant of Concern (VOC-202012/01) หมายถึง ‘สายพันธุ์ที่ควรระวัง’ นอกจากนี้ยังมีชื่อเล่นว่า สายพันธุ์ Kent ซึ่งตั้งตามชื่อเมืองที่ถูกพบครั้งแรก และ สายพันธุ์ B.1.1.7 ตั้งตามรหัสของเชื้อที่ได้จากแผนผังลำดับวิวัฒนาการ (Phylogenetic tree)
1
ภายในเดือนมกราคม ปี 2021 พบว่าสายพันธุ์ B.1.1.7 แพร่ระบาดไปยังภูมิภาคอื่นถึง 52 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย มีการคาดการณ์จากนักวิทยาศาสตร์ว่าสายพันธุ์นี้สามารถขยายพันธุ์ได้ดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมประมาณ 50-70% นอกจากนี้ยังมีค่า Rt หรือ โอกาสของการติดเชื้อในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (t) หลังการระบาด มากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 0.4-0.7 ถือว่าเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่เคยได้รับเชื้อแล้ว สามารถกลับมาติดเชื้อได้ใหม่อีกครั้ง
🦠 ความสำคัญ
โดยปกติไวรัสจะเกิดการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่แล้ว ประมาณ 1-2 ตำแหน่งในทุกเดือน แต่ว่าการกลายพันธุ์นี้หลายครั้ง ‘ไม่ส่งผล’ ต่อการเปลี่ยนแปลงของไวรัส จะมีแค่บางตำแหน่งเท่านั้นที่เมื่อพอเปลี่ยนบางยีนไป แล้วทำให้ไวรัสกลับแข็งแกร่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ซึ่งไวรัสตระกูลโคโรนานี้ ถือว่ามีอัตราการกลายพันธุ์ที่ช้ากว่าไวรัสสายพันธุ์อื่นในไวรัสตระกูล RNA ด้วยกัน เพราะมีเอนไซม์ที่ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของสายพันธุกรรมใหม่ที่ได้หลังจากการเพิ่มจำนวนเซลล์แต่ละครั้ง (Proofreading enzyme) ทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยกว่า
4
แต่ถึงอย่างนั้นไวรัสโควิดก็ยังเกิดการกลายพันธุ์จากสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิม จนมีเชื้อสายต่างๆถูกพบกระจายกันไปในแต่ละประเทศ เช่น D614G ที่พบว่าโปรตีนในหนามของไวรัสเปลี่ยนไป ทำให้แพร่เชื้อได้ง่ายขึ้น จนกลายเป็นสายพันธุ์หลักของการระบาด (Predominant global strain) ในช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2020 B.1.1.7 ในประเทศอังกฤษ B.1.351 ในทวีปแอฟริกา และ B.1.1.28 ใน บราซิล
2
สายพันธุ์ B.1.1.7 มีตำแหน่งการกลายพันธุ์ต่างจากสายพันธุ์อู่ฮั่น 23 ตำแหน่ง มี 8 ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับหนามของไวรัส และมี 3 ตำแหน่งสำคัญที่คาดว่าส่งผลต่อการแพร่ระบาดอย่างมาก คือ N510Y, 69-70del และ P681H
หลักการเรียกชื่อ สามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายได้ว่า พยัญชนะตัวใหญ่ เป็น ชื่อย่อของโปรตีน ข้างหน้าคือ โปรตีนเดิม ข้างหลัง คือ โปรตีนใหม่ ตัวเลขตรงกลาง คือ ตำแหน่งของโปรตีนนั้นบนสายพันธุกรรม
🔬เช่น N คือ โปรตีนแอสพาราจิน (asparagine) Y คือ โปรตีน ไทโรซิน (tyrosin) ดังนั้น N510Y จึงแปลความได้ว่า โปรตีนแอสพาราจินตำแหน่งที่ 510 เกิดการกลายพันธุ์ที่ยีน ทำให้ชนิดของโปรตีนที่ควรจะผลิตได้เปลี่ยนไป กลายเป็น ไทโรซิน ซึ่งการกลายพันธุ์ตำแหน่งนี้จะทำให้หนามของไวรัสเกาะกับเซลล์ตัวรับ ACE2 ในร่างกายของ host ได้แน่นขึ้น
🔬 ต่อมา del ย่อมาจาก deletion ที่แปลว่า ลบ ดังนั้น 69-70del จึงหมายถึง โปรตีนตำแหน่งที่ 69 และ 70 ในสายพันธุกรรมถูกลบหายออกไปจากเส้นพันธุกรรม ซึ่งยังไม่ทราบหน้าที่แน่ชัด แต่นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามีความเกี่ยวข้องการจับกันของหนามไวรัสกับเซลล์ตัวรับเช่นเดียวกับ N510Y
3
🔬 P681H ก็คือ เกิดการกลายพันธุ์ที่ยีน จนทำให้โปรตีน โปรลีน (proline, P) ตำแหน่งที่ 681 เปลี่ยนไปเป็นโปรตีน ฮิสติดิน (histidine, H) ซึ่งคาดว่าส่งผลต่อโปรตีนที่มีส่วนช่วยในการแทรกตัวของไวรัสเข้าสู่เซลล์ host
🦠 สถานการณ์ในปัจจุบัน
ถึงแม้หลังจากพบไวรัสสายพันธุ์ B.1.1.7 ในประเทศอังกฤษ จะมีรายงานการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่าเป็นผลจากความรุนแรงของเชื้อ หรือแค่เพราะระบาดได้เร็ว ทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเท่านั้น ถึงอย่างไรก็ตาม พบว่าในผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้มีอาการหนักกว่าคนที่ติดจากสายพันธุ์เดิมอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ ความแข็งแรงของสภาพร่างกาย มีโรคประจำตัวหรือไม่ เป็นต้น
สิ่งที่น่ากังวลจริงๆของไวรัสโควิดขณะนี้ น่าจะเป็นการกลายพันธุ์ E484K มากกว่า ซึ่งไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่ซะทีเดียว แต่เป็นการกลายพันธุ์ของโปรตีน กลูตามิคเอซิด (glutamic acid, E) ตำแหน่งที่ 484 ไปเป็นโปรตีน ไลซิน (lysine, K) การกลายพันธุ์ในตำแหน่งนี้พบทั้งในสายพันธุ์แอฟริกา B.1.351 และ สายพันธุ์บราซิล B.1.1.28 ล่าสุดก็มีรายงานพบการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งนี้ในสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 แล้วด้วยเช่นกัน
สิ่งที่ทำให้ E484K น่ากลัว เนื่องจากพบว่า การกลายพันธุ์นี้ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ในการกำจัดเชื้อ ทำให้เชื้อสามารถหลบหนีจากระบบภูมิคุ้มกันได้ และไม่ถูกทำลาย ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Escape mutation อาจส่งผลให้การรักษายากขึ้น การก่อโรคอาจจะร้ายแรงขึ้น และที่สำคัญ เมื่อสามารถหลบหนีจากระบบภูมิคุ้มกันได้ วัคซีนที่มีอยู่ในขณะนี้ก็อาจไม่สามารถป้องกันได้เช่นกัน ยังต้องคอยติดตามความคืบหน้าของสถานการณ์ต่อไป
ในประเทศไทย มีการระบาดของโควิดอยู่หลายสายพันธุ์ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหน ก็ควรระวังตัวเหมือนเดิม ไม่ควรตื่นตระหนกตกใจมากเกินไป แต่ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ถ้าหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีคนแออัดได้ควรหลีกเลี่ยง ถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรใส่หน้ากากอนามัยและลดการพูดคุยให้น้อยที่สุด ระวังการสัมผัสให้มากๆ เวลาเอามือไปจับสิ่งอื่นแล้วต้องระวังการสัมผัสบริเวณใบหน้า การหยิบอาหารเข้าปาก รักษาความสะอาด ล้างมือให้บ่อย กินร้อน ช้อนกลาง ก็สามารถช่วยลดการระบาดได้มาก
2
เวลานี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็ต้องขับเคลื่อน ถ้าไม่อยากให้ล็อคดาวน์อยู่แต่กับบ้าน (ซึ่งผู้เขียนก็ไม่อยากเท่าไหร่ 😂) ก็ต้องระมัดระวังตัวเองให้ดี ไม่ไปสถานที่เสี่ยงจะดีที่สุด ด้วยความปรารถนาดี ดูแลตัวเองปลอดภัยจากโควิดกันทุกคนค่ะ :)
1
References >>

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา