14 เม.ย. 2021 เวลา 01:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รู้หรือไม่? อากาศที่เราหายใจเข้าไปทุกวัน ไม่ได้มีแค่ออกซิเจน
1
#องค์ประกอบของอากาศ
1. ไนโตรเจน : เป็นแก๊สที่เกิดจากการสลายตัวของแร่ธาตุในเปลือกโลก เช่น โปแตสเซียมไนเตรท โซเดียมไนเตรท และเกลือแอมโมเนีย
แก๊สไนโตรเจนมีสมบัติไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารอื่น แต่เมื่ออะตอมเดี่ยวของมันแยกออกมาจะรวมเข้าเป็นองค์ประกอบของสารอื่น เช่น สารไนเตรท มีบทบาทสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต
1
ในอากาศมีปริมาณของแก๊สไนโตรเจนอยู่ประมาณ 78.084% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในอากาศ
2. ออกซิเจน : เป็นผลผลิตจากการสังเคราะห์แสงของพืช แพลงตอนพืช และสาหร่ายสีเขียว
1
เป็นแก๊สที่ว่องไวในการทำปฏิกิริยากับสารอื่น และช่วยให้ไฟติด ถ้าปริมาณของออกซิเจนในอากาศมีมากกว่า 35% โลกทั้งดวงจะลุกไหม้ติดไฟ
2
ดังนั้นธรรมชาติจึงวิวัฒนาการสัตว์กินพืชขึ้นมา เพื่อควบคุมปริมาณของแก๊สออกซิเจนในบรรยากาศ
2
ในอากาศมีปริมาณของก๊าซออกซิเจนมากเป็นอันดับสองรองจากก๊าซไนโตรเจน คือ 20.9476%
3. อาร์กอน : เป็นแก๊สเฉื่อยไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น เกิดขึ้นจากการสลายตัว (ซากกัมมันตภาพรังสี) ของธาตุโปแตสเซียมภายในโลก
มักใช้เป็นแก๊สบรรจุในหลอดไฟ เพื่อให้ไส้หลอดมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
ในอากาศมีปริมาณของก๊าซอาร์กอนประมาณ 0.934%
4. คาร์บอนไดออกไซด์ : เป็นแก๊สที่มีอยู่ในบรรรยากาศมานานช้านาน นานมากๆ😅
น้ำฝนและพืช ตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ลงมาบนพื้นดิน ซึ่งมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารของพืชและห่วงลูกโซ่อาหาร และทำให้โลกอบอุ่น แต่ปัจจุบันมันมีเยอะเกินไป โลกรับไม่ไหว เลยกลายเป็นโลกร้อน😂
1
แต่ถ้าหากได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก อาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองในจมูกหรือทางเดินหายใจได้
ในอากาศมีปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.0314%
5. นีออน : เป็นก๊าซเฉื่อย ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ใช้บรรจุในหลอดไฟโฆษณาให้แสงสีส้มแดง
ในอากาศมีปริมาณของนีออนประมาณ 0.001818%
ส่วนที่เหลือจะเป็นก๊าซซึ่งมีปริมาณน้อยมากในอากาศ เช่น ฮีเลียม ซีนอน คริปทอน มีเทน ไฮโดรเจน โอโซน ไอโอดีน คาร์บอนมอนอไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ แอมโมเนีย ไอน้ำ ฝุ่นละออง ละอองเกสรจากพืช และแบคทีเรียต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังมีก๊าซพิษบางชนิดที่โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาจปล่อยออกมาจนกลายเป็นมลภาวะทางอากาศ เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น
ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ😊🙏
References :
1. CRC Handbook of Chemistry and Physics, edited by David R. Lide, 1997.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา