17 เม.ย. 2021 เวลา 12:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สีของดาวตก เกิดจากอะไร?
ดาวตก เกิดจากเศษหินและฝุ่นของดาวหาง หรือดาวเคราะห์น้อย ที่ถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการเสียดสีและเผาไหม้ ทำให้อะตอมของดาวตกเปล่งแสงออกมาในช่วงคลื่นต่าง ๆ
เราจึงมองเห็นสีของดาวตกปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบทางเคมี และโมเลกุลของอากาศโดยรอบ
แสงที่เปล่งออกมาจากอะตอมโลหะของดาวตก จะแตกต่างกันไปตามองค์ประกอบทางเคมี เช่น
อะตอมแคลเซียม ( Ca ) ให้แสงสีออกโทนม่วง อะตอมแมกนีเซียม ( Mg ) ให้แสงสีฟ้าเขียว
อะตอมโซเดียม ( Na ) ให้แสงสีส้มเหลือง
อะตอมเหล็ก ( Fe ) ให้แสงสีเหลือง
ในขณะที่โมเลกุลในชั้นบรรยากาศโลก จะมีอะตอมของออกซิเจน ( O ) และไนโตรเจน ( N ) เป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะให้แสงสีแดง
ดังนั้น สีของดาวตกจึงขึ้นอยู่กับการเปล่งแสงของอะตอมแต่ละชนิดค่ะ
**ความรู้เพิ่มเติม**
ดาวตกส่วนใหญ่มักจะมาจากดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่หลงเหลือจากการก่อตัวของระบบสุริยะ แต่อีกส่วนหนึ่งก็แตกออกมาจากดาวหาง หรือกระเด็นออกมาจากการพุ่งชนบนดวงจันทร์หรือดาวอังคาร ก่อนจะเดินทางมาถึงโลก
 
ถึงแม้ว่าเราจะสามารถเห็นดาวตกเพียงบางดวงในช่วงกลางคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง
แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการสังเกตดาวตก คือช่วงที่มีปรากฏการณ์ฝนดาวตก (Meteor shower) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อโลกโคจรผ่านเข้าไปในสายธารของเศษชิ้นส่วน ที่ดาวหางทิ้งไว้ตามวงโคจรของมัน
ในช่วงที่เกิดฝนดาวตกครั้งใหญ่ๆ เราอาจจะเห็นดาวตกมากถึง 100 ดวงต่อชั่วโมง
ขณะที่ในท้องฟ้ายามค่ำคืนโดยทั่วไป มักจะมีอัตราการปรากฏของดาวตกอยู่ที่ประมาณ 6 ดวงต่อชั่วโมง
ภาพดาวตกเหนือภูเขาไฟฟูจิ ช่วงรุ่งสาง วันที่ 14 มี.ค. 2564 จาก World Forum ข่าวสารต่างประเทศ
ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ😊🙏
References :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา