9 เม.ย. 2021 เวลา 02:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"ไม่มั่นใจในตัวเอง ทำอะไรก็รู้สึกแย่ ไม่มีใครเข้าใจเลย ทำไมเราถึงไม่ได้เรื่องเลยนะ" 😟💬
หากคุณกำลังรู้สึกอย่างนี้ เราเพื่อนกันครับ 🤝
2
🤓 วันนี้ผมจะมาบอกว่าทำไมคุณถึงรู้สึกเช่นนี้ ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ให้คุณได้เข้าใจอย่างหมดเปลือก
😎 พร้อมเสนอแนะแนวทางแก้ไขไว้ท้ายโพสต์ ที่หากทำตามแล้วผมรับรองว่าคุณจะกลายเป็นคนใหม่ที่มีความมั่นใจในตัวเองขึ้นได้อย่างแน่นอน
❓ คุณทราบไหมว่า คนที่เบื้องหน้าที่ดูจะมั่นอกมั่นใจนักหนา กับคนที่ขี้กลัวไปเสียทุกอย่าง เบื้องหลังของบุคคลทั้ง 2 แบบนี้ มีสารเคมีในสมองหลั่งออกมาไม่เหมือนกัน
1
สารตัวแรกชื่อ “เซโรโทนิน” (Serotonin) เรียกแบบบ้าน ๆ ว่า สารสื่อประสาทแห่งความมั่นใจ พบจำนวนมากในสมองของเหล่าผู้นำสังคม หรือผู้ที่มีความมั่นอกมั่นใจในตัวเองสูง
แตกต่างกับสารสื่อประสาทอีกตัวที่ชื่อ “ออกโทพามีน” (Octopamin) พบมากในคนขี้กลัว ขี้ระแวง ใจเสาะ ไม่กล้าเผชิญหน้า
ทั้งคุณและผม ล้วนมีสารสื่อประสาททั้งสองแบบนี้อยู่ในตัว ซึ่งประสบการณ์ในอดีตของมนุษย์ จะเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดการผลิตสารสื่อประสาททั้ง 2 ประเภท ในปริมาณที่ไม่เท่ากัน
 
หากในชีวิต คุณทำอะไรก็ประสบความสำเร็จไปเสียทุกอย่าง ไม่เคยผิดพลาด หรือผิดพลาดก็เพียงเล็กน้อย สามารถหาทางเอาตัวรอดได้อย่างไม่ยากเย็นนัก คุณจะมีเซโนโทนินในปริมาณที่มากกว่าออกโทพามีน ส่งผลให้คุณมีความมั่นใจในตัวเอง มั่นใจในความสามารถที่ตัวเองมี มั่นใจว่าไม่ว่าทำอะไรคุณก็ทำได้
แต่หากชีวิตของคุณ เคยพบกับความล้มเหลวแบบสุดขั้วมาก่อน เช่น ในวัยเด็กคุณถูกคุณแม่ดุด่าอย่างหนักเมื่อหาของไม่เจอ ถูกคุณครูตีอย่างแรงเมื่อไม่ส่งการบ้าน หรือถูกแฟนหักอกหลังจากมีอะไรกันในคืนแรก เป็นต้น
มนุษย์จะรู้สึกแย่จากเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจหนัก ๆ ซึ่งมักเป็นเรื่องราวในวัยเด็ก เรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ หรือเรื่องที่ส่งผลต่อชื่อเสียงในสังคม
เหล่าคนที่ประสบกับเหตุร้ายทางใจ หากเพียงครั้งสองครั้งก็ไม่เท่าไหร่ (ไม่แน่) แต่หากกระทบบ่อย ๆ เข้า ร่างกายจะไปกดการหลั่งสารเซโรโทนินลง ทำให้อัตราส่วนออกโทพามีนมีอัตราที่สูงกว่า และทำให้เขาหรือเธอกลายเป็นคนวิตกจริต บ่อยครั้งจะหวาดกลัวในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น และเป็นคนที่เครียดง่าย
และเมื่อถึงระดับหนึ่ง บุคคลนั้นก็จะกลายเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุด
หากคุณอ่านมาถึงตรงนี้แล้วพบว่าตัวเองมีเซโรโทนินมากกว่าออกโทพามีน ยินดีด้วยครับ คุณเป็นคนมั่นใจในตัวเอง ซึ่งส่งผลดีแน่นอนในสังคมมนุษย์ แต่ก็มีข้อพึงระวังอยู่บ้าง ว่าหากมั่นใจในตัวเองเกินไป จนมองภัยอันตรายที่กำลังคืบคลานเข้ามาไม่ออก ก็อาจฉิบหายได้
1
หรือหากคุณพบว่าตัวเองมีออกโทพามีนในอัตราส่วนที่มากกว่า จับมือครับ เราเป็นพวกเดียวกัน
1
คนขลาดกลัวมักไม่กล้าเผชิญหน้า ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีอย่างแน่นอนกับการอาศัยอยู่ในสังคมมนุษย์ปัจจุบัน
ข่าวดีคือ ผมมีข้อแนะนำสำหรับบรรเทาอาการนี้ลง ที่ผมค้นพบมาจากการทดลองใช้กับตัวเอง แต่ข้อแนะนำเหล่านี้อาจใช้ไม่ได้กับบุคคลที่อาการหนักจนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้านะครับ หากคุณพบว่าตัวเองหนักมาก ๆ แล้ว ผมแนะนำให้คุณลองปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่าอ่านโพสต์นี้ครับ
1
ข้อแนะนำมีดังนี้
2
1. สำรวจปมปัญหาในอดีต คิดใคร่ครวญ และระบายมันออกมาผ่านการเขียน
เงื่อนไขหลักของการลดลงของเซโรโทนิน คือเรื่องราวในอดีตอันโหดร้าย ที่กลายเป็นแผลผุพองในจิตใจ แม้เจ้าตัวอาจนึกไม่ออกแล้วก็ตาม
แต่เมื่อคุณอ่านโพสต์ของผมจนมาถึงตรงนี้ ก็คงจะเริ่มรู้ตัวว่าเหตุการณ์ล้มเหลว เหตุการณ์ร้ายแรง หรือเหตุการณ์อันโหดร้ายในอดีตของคุณ คือตัวการหลักที่ทำให้คุณเป็นคนวิกลจริตดังทุกวันนี้
ทางออกคือ คุณต้องหาเหตุการณ์เหล่านั้นให้เจอเสียก่อน ซึ่งคงไม่ยากเกินไปหรอกครับ เผลอ ๆ คุณจะนึกออกทันทีที่นั่งคิดใคร่ครวญเสียอีก เพราะปัญหาที่กลายเป็นแผลใจ มักเป็นเรื่องที่คุณไม่มีวันลืม
1
อย่างของผม จะเป็นปมในใจที่ผมเป็นคนหวาดกลัวผู้หญิง ผมมักไม่กล้าเผชิญหน้า หรือทำงานร่วมกับผู้หญิง ด้วยเพราะรู้สึกไม่สบายใจ จิตใจระส่ำระสาย ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
3
พอลองนึกย้อนดูตามหลักการทางจิตวิเคราะห์ก็เริ่มเข้าใจมากขึ้น อ๋อ ตอนเด็กเราต้องคอยหวาดระแวงว่าคุณแม่จะวีนใส่เราอีกเมื่อไหร่ ต้องทำตัวเป็นเด็กดีไม่ให้คุณน้าต่อว่า ต้องเป็นคนขยันเพื่อไม่ให้คุณครูทำโทษ
แต่ไม่ว่าจะพยายามเพียงใด ยังไงก็เกิดปัญหาขึ้นจนได้ เมื่อกี๊เพิ่งคุยสนุกสนานเฮฮาไปแหม็บ ๆ เผลอแปปเดียว คุณแม่ตะโกนตวาดใส่ด้วยความโมโห คุณน้าที่ชอบตบหัวแล้วลูบหลัง ทำตัวดีเมื่ออยู่กับญาติ ๆ แต่ทำตัวแย่เมื่อไม่มีใคร หรือการโดนเพื่อนในวัยเด็กไล่ให้ออกจากกลุ่ม
คุณเองอาจมีเหตุการณ์ทำนองนี้ เหตุการณ์ที่พอเล่าให้คนอื่นฟัง เขาอาจจะรู้สึกเฉย ๆ ไร้สาระ แต่เรื่องราวนั้นส่งผลกระทบกับจิตใจของคุณอย่างแสนสาหัส จนเกิดเป็นปมในใจมาจนถึงทุกวันนี้ แม้แทบจะจำเหตุการณ์เหล่านั้นไม่ได้แล้วก็ตาม
ลองนึกมันออกมาให้หมด แล้วไล่เรียงดูครับ ว่าเหตุการณ์ใดบ้างที่เป็นปมปัญหา ที่หนักจนส่งผลต่อคุณมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อทำจนได้เรื่องแล้วค่อยเข้าสู่ข้อถัดไป
1
2. ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา
ทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิต ล้วนสร้างให้ตัวเราเป็นเราในทุกวันนี้ คุณไม่อาจแยกเอาเรื่องที่เคยเกิดขึ้นแล้วออกไปได้หรอกครับ แม้คุณจะจำได้หรือไม่ได้ แต่ผลกระทบของเรื่องราวนั้นก็ยังผลให้เกิดเป็นตัวคุณในแบบหนึ่งอยู่ดี
ตัวผมเองไม่เคยปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเลยซักครั้งครับ แต่จากข้อมูลหลาย ๆ แหล่งที่ผมได้รับมา มักบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ทุก ๆ เรื่องราวในอดีตก็คือตัวเรา เราไม่อาจแยกเอาตัวเองออกจากตัวเองได้ หากทำเช่นนั้นก็เท่ากับการปฏิเสธตัวเอง ปฏิเสธตัวตนในวัยเด็ก ที่อาจยังไม่ประสีประสา ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ทั้ง ๆ ที่เขาหรือเธอพยายามเต็มที่ในแบบของเขาแล้วแท้ ๆ แต่คุณกลับขับไสไล่ส่ง ไม่คิดว่าตัวตนเช่นนั้นแลดูน่าสงสารบ้างหรือครับ?
2
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร เคยโดนอะไรมา เคยทำอะไรไว้ คุณต้องยอมให้ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของตัวคุณ เพราะมีเพียงแค่คุณเท่านั้นที่เข้าใจตัวเองได้ดีที่สุด แม้คนที่สนิทที่สุดก็ยังสามารถจัดจ์คุณในเรื่องที่เขาหรือเธอไม่ชอบได้เลย
1
หนึ่งในคำพูดที่ผมมักใช้บอกกับตัวเองเสมอครับ “ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ไม่ว่าเราจะผิด หรือคนอื่นไม่ยอมรับเราขนาดไหน แต่มีอยู่คนหนึ่งที่เข้าใจตัวเองดี นั้นก็คือตัวเรา เราสมควรกับความสุขนะ”
2
3. เอาชนะความกลัวด้วยการทำงานให้ออกมาดี
เซโรโทนิน จะออกมาเมื่อเรารู้สึกได้ถึงชัยชนะ ดังนั้นแล้ว การทำงานที่ตัวเองถนัดให้ออกมาดีถือเป็นแนวทางอันยอดเยี่ยมต่อการต่อสู้กับความหวาดกลัว
ลองหยิบงานซักอย่างออกมาทำดูนะครับ ดังสุภาษิตไทยที่ว่า ค่าของคนอยู่ในผลของงาน คุณจะรับรู้ได้ถึงความกล้าได้อย่างแน่นอน หากคุณได้พบกับการทำงานที่เป็นตัวคุณจริง ๆ ยิ่งเป็นงานที่มีแต่คุณเท่านั้นที่ทำได้ ยิ่งดีใหญ่เลย นั้นเท่ากับว่าคุณมีคุณค่าในการสร้างงานชิ้นนั้นมาก ๆ
1
คิดเห็นอย่างไรกันบ้างกับเนื้อหาโพสต์นี้ คอมเมนต์กันได้นะครับ
อนึ่ง หลักการของโพสต์นี้ โดยเฉพาะเรื่องสารสื่อประสาทในสมอง มาจากหนังสือ 12 กฎที่ใช้ได้ตลอดชีวิต https://bit.ly/3ftadTq ผมกำลังอ่านอยู่เลย เห็นเนื้อหาตรงนี้น่าสนใจ เลยเอามาเขียนให้ได้อ่านกัน ถ้าชอบก็ลองหาซื้ออ่านกันดูนะครับ
โฆษณา