Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Coffee Talk
•
ติดตาม
14 เม.ย. 2021 เวลา 05:37 • ประวัติศาสตร์
จากกรณีไวรัล “กูสบายดีนะไอ้สัสส” วลีเด็ด น้าค่อม และคำอื่นๆ มันเป็นคำหยาบไปตั้งแต่เมื่อไหร่
กรณีวลีเด็ดน้าค่อมที่เราคุ้นเคย เมื่อแกไปเล่นตลกที่ไหน ก็จะมีคำว่า "มึง-กู" "ไอสัส" จนคุ้นชินเพราะมันคือการแสดง
ล่าสุด หนุ่ม กรรชัย ถามน้าค่อมในรายการโหนกระแสกรณีติดโควิด19.. อยากฝากอะไรให้กับแฟนๆ คนไทยหน่อยว่า สบายดี ยังโอเค ยังแข็งแรง สู้กับมันได้อยู่?
น้าค่อม ตอบทิ้งท้ายด้วยวลีเด็ดตามสไตล์ของแกไปว่า “กูสบายดีนะไอ้สัสสสส” จนฮากันทั้งรายการ
🔷เคยสงสัยกันมั้ยว่า คำบางคำ ในสมัยก่อนเขาใช้พูดกันเป็นปรกติ แต่พอมายุคสมัยนี้คำเหล่านั้น กลับกลายเป็นคำหยาบที่ยังคงใช้กันทั้งในชีวิตจริงในหมู่เพื่อนสนิท ในโลกออนไลน์มากมาย
1
🔷มีผู้ใช้คำที่ไม่สุภาพกันมากขึ้น เช่น คำว่า มึง กู ไอ้ อี คำพวกนี้กลายเป็นคำหยาบเป็นคำต้องห้ามออกสื่อ เป็นเนื้อหาต้องห้ามของรายการโทรทัศน์และวิทยุ ตามประกาศของกสทช.
(ซึ่งบางรายการอาจก็การพูดหลุดปากออกไปบาง แต่รายการนั้นๆรับผิดชอบด้วยการดูดเสียงคำหยาบเหล่านั้นออกไป มีครั้งหนึ่งซิตคอมดัง ใช้คำว่า “ไอ้เ_ี้ย” พูดออกทีวีได้ ในรายการ “ท” รับชมได้ทุกเพศทุกวัยจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นาๆ)
🔷มาเปฺิดตำนาน คำว่า "มึง-กู" หรือ คำ คําสบถ ต่างๆ มันเป็นคำไปได้อย่างไร เและเมื่อไหร
แต่โบราณนั้นคำไทยแท้ส่วนมากจะมีพยางค์เดียว เป็นคำโดด เป็นคำพยางค์เดียว คำไทยแท้เริ่มจากคำมูล คือคำที่มีความหมายในตัวสมบูรณ์
เช่นคำที่ใช้เรียกเครือญาติมาแต่เดิม เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง พี่ ป้า น้า อา
กับคำที่เป็นสรรพนาม อย่าง มึง กู สู เรา เขา แก เอ็ง อี
ในคำสรรพนาม 8 คำข้างต้น กลับกลายเป็นว่า มึง-กูเป็นคำหยาบ
🔷🔷 I❤️Coffee ขอย้อนเรื่องราว ของภาษาไทยที่มีวิวัฒนาการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยมีการเปลี่ยนเปลงด้านวัฒนธรรม ครั้งสำคัญของไทย เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482
🔷การใช้ภาษาสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขณะที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีในยุคนั้น ได้มี “นโยบายสร้างชาติ” เพื่อเสริมสร้างความเป็นไทย
“รัฐนิยม”ยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม cr:https://siamrath.co.th/n/48101
🔷มีการประกาศ “รัฐนิยม” ซึ่งเป็นประกาศเกี่ยวกับรูปแบบการปฏิบัติทางวัฒนธรรมสำหรับประชาชนที่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม
เป็นแนวทางที่กำหนดขึ้นเพื่อปรับปรุงแก้ไขวัฒนธรรมบางอย่างของชาติ สำหรับให้ใช้เป็นหลักให้ประชาชนได้ยึดถือปฏิบัติ
🔷“ รัฐนิยม คือ การปฏิบัติให้เป็นประเพณีนิยมที่ดีประจำชาติ เพื่อให้บุตรหลานอนุชนคนไทยเรายึดถือเป็นหลักปฏิบัติรัฐนิยมนี้มีลักษณะและละม้ายคล้ายคลึงกับจรรยามรรยาทของอารยชนจะพึงประพฤตินั่นเอง ในรัฐนิยมยังมีพฤตติกรรมเพิ่มพิเศษขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือ อำนาจมหาชน”
🔷โดยมีนโยบายสำคัญส่วนหนึ่งคือ การเปลี่ยนแปลงการใช้ตัวหนังสือไทย เช่นตัดพยัญชนะ ตัวสระที่มีเสียงซ้ำ การปรับปรุงตัวอักษรไทย มีการยกเลิกตัวเลขไทยและนำเลขอารบิกมาใช้แทน
🔷ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2485 เริ่มใช้สรรพนามของประชาชนที่มีหลากหลาย รัฐบาลจึงต้องการให้เป็นแบบแผนเหมือนกันทั้งหมดคือ
✳สรรพนามบุรุษที่ 1 ให้ใช้คำว่า ฉัน (เอกพจน์) เรา (พหูพจน์)
✳สรรพนามบุรุษที่ 2 ให้ใช้คำว่า ท่าน (เอกพจน์) ท่านทั้งหลาย (พหูพจน์)
✳สรรพนามบุรุษที่ 3 ให้ใช้คำว่า เขา (เอกพจน์) เขาทั้งหลาย (พหูพจน์)
✳สรรพนามเรียกสิ่งของ ให้ใช้คำว่า มัน (เอกพจน์) พวกมัน (พหูพจน์)
🔷และนอกจากนั้น ยังมีประกาศรัฐนิยม ที่ออกมาในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2482-2485 รวมทั้งสิ้นจำนวน 12 ฉบับ และได้มีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามรัฐนิยมด้วย
🔷🔷ขอเสริมๆ ยังมีเรื่องราวที่คำว่า "มึง-กู" นั้นเป็นคำหยาบ ซึ่งได้ถูกบันทึกไว้อีกว่า “นรินทร์กลึง” หรือ “นรินทร์ ภาษิต” จอมขบถ อดีตขุนนางชั้นเจ้าเมือง ผู้กล้าส่งจดหมายด่าจอมพล ป. “มึงต้องลาออกเดี๋ยวนี้”
โดยที่ "นรินทร์กลึง" ได้ส่งจดหมายส่วนตัวไปด่าจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกฯ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2486 ใช้ถ้อยคำรุนแรง หยาบคายขั้นที่อาจไม่มีชาวไทยกล้าด่าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารประเทศระดับสูงโดยเปิดเผยตัวขนาดนี้
ข้อความส่วนใหญ่หยาบคายจนไม่อาจเผยแพร่ได้ แต่บางส่วนยังพอยกเป็นตัวอย่างได้ ข้อความส่วนหนึ่งมีใจความว่า.....
1
“…ถ้ามึงมีสติ หรือมีไหวดีๆ โดยรู้สึกตัวว่าการที่กูด่าสอนมึงมาแล้วนั้น และทั้งนี้ก็เพื่อให้มึงดี ชาติไทยจะได้พลอยดีไปด้วย เมื่อมึงไม่อาฆาตพยาบาทเกลียดโกรธกูด้วยแล้ว มึงก็ต้องทำตามกูว่า
นรินทร์กลึง อดีตขุนนางชั้นเจ้าเมือง ผู้กล้าส่งจดหมายด่าจอมพล ป. “มึงต้องลาออกเดี๋ยวนี้” cr:https://www.silpa-mag.com/history/article_29622
ดังมีต่อไปนี้…มึงต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเดี๋ยวนี้… เมื่อมึงยินดีลาออกตามที่กูว่าแล้ว ก็ควรบอกเสนอ ค.ร.ม. ว่าขอให้กูเป็นแทนมึงทันทีดีกว่า แล้วมึงก็ยังจะมีท่าได้เป็นคนดีต่อไป เพราะกูยังจะเลี้ยงสอนมึงไป พอเห็นได้ว่ามึงดีแล้ว กูก็จะได้มอบหมายให้มึงทำการแทนกูต่อไป”
ทำให้เขาเกือบถูกสั่งฆ่า และถูกจับส่งไปกักตัวที่โรงเรียนอบรมจิตใจ ที่กองทหารปืนใหญ่ โคกกระเทียม ลพบุรี และสถานกักกันที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเวลา 2 ปี 21 วัน
สาเหตุของการสื่อสารที่ต้องใช้คำหยาบนั้น นรินทร์ ให้เหตุผลว่า “คำหวานมักเป็นลม” ตามคำอธิบายของนรินทร์ คือ นับตั้งแต่เกิดโลกใบนี้ขึ้น มนุษย์ใช้แต่คำอ่อนหวาน ข้อนี้เองเป็นส่วนที่ทำให้สัตว์โลก “ฉิบหาย”
🔷ที่มาของคำว่า "กู" สรรพนามตระกูลไทเชื่อมโยงในภาษาอินโดนีเซีย
มากจาคำว่า “aku อ่านว่า อา-กู” ใช้เรียกแทนอัตตาตัวตนแรกเริ่ม ซึ่งแปลว่าผม ฉัน
พบในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ปรากฏคำว่า "กู" ในด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1
🔷ที่มาของคำว่า "มึง" สรรพนามตระกูลไทเชื่อมโยงในภาษาอินโดนีเซีย
มาจากคำว่า “kamu อ่านว่า กา-มู้” เป็นคำใช้เรียกแทนบุคคลที่สอง เป็นคำเดียวกับคำว่า “มึง” ที่ถูกลดรูปตามการพูดของคนถิ่นเหนือ
1
พบในบรรทัดแรกของจารึกแผ่นดีบุก ยุคต้นกรุงศรีอยุธยา พบที่วัดมหาธาตุ
🔷และนั่นก็เป็นเรื่องราวที่คำว่า " มึง-กู " ที่กลายมาเป็นคำหยาบ หรือคำที่ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุจากการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมภาษาของไทยใน ยุคสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อความความเป็นชาติที่มีอารยธรรมนั่นเอง
🔷มาถึงในยุคปัจจุบันหากใครใช้คำหยาบคาย ให้ร้ายผู้อื่น ก็จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 "ฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า"
แม้ว่าโทษตามกฎหมายจะไม่มากเนื่องจากเป็นลหุโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การใช้คำหยาบหรือคำต้องห้ามข้างต้นถือว่าไม่สุภาพอย่างยิ่ง และไม่ควรพูด ในแต่ละสังคมมีวัฒนธรรมมีคำต้องห้ามที่แตกต่างกันจากคำพูด
และแม้ในสังคมที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน แต่คำต้องห้ามของสังคมหนึ่ง อาจเป็นคำศัพท์พูดทั่วไปของอีกสังคมหนึ่งก็ได้
⭕ใช้ด้วยเจตนาดี ใช้ให้ถูกกาลเทศะ ไม่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน และไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้ใคร จนเข้าข่ายผิดกฎหมาย ก็เพียงพอ
อ้างอิงจาก :
https://www.silpa-mag.com/history/article_32885#
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5_%E0%B8%9B._%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1
https://www.silpa-mag.com/history/article_29622
https://www.matichon.co.th/entertainment/arts-culture/news_31237
1 บันทึก
10
2
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ไวรัล
Pic of the day
1
10
2
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย