17 เม.ย. 2021 เวลา 15:39 • การศึกษา
zone คืออะไร ?
เรามาเปิดประตูสู่ zone ไปพร้อม ๆ กันดีกว่าครับ
ผมเชื่อว่า หลาย ๆ คนคงได้มีโอกาส ที่จะดูอะนิเมะกีฬาชื่อดังอย่าง kuroko no basket กันมาบ้างไม่มากก็น้อย
1
ซึ่งในช่วงท้ายของเรื่องได้มีการกล่าวถึง ท่าไม้ตายของตัวเอกสุดแกร่ง ที่เมื่อใช้งานแล้ว จะทำให้เขาดึงความสามารถออกมาได้มากกว่าปกติในทุก ๆ ด้าน ชื่อท่านั้นก็คือ zone
ซึ่งภายในเรื่องได้กล่าวไว้แล้วว่า เป็นท่าที่สุดยอดมาก และไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะใช้ท่านี้แถมยังต้องมีเงื่อนไขอีกบางประการ ถึงจะดึงท่านี้ออกมาได้อย่างสูงสุด
เอาเป็นว่า ถ้าใครอยากติดตาม อะนิเมะเรื่องนี้ ก็สามารถติดตามได้ในหลาย ๆ ช่องทางเลยครับ ไม่ว่า จะเป็น Netflix , Ais play , True id , iQiyi เป็นต้น
ทุกคนรู้ไหมครับว่า ไม่ใช่แค่ในอนิเมะเท่านั้น ที่มีการใช้ zone
แต่ในชีวิตจริงของเรานั้นมีการใช้ zone กันมานานมากแล้วครับ
โดยเรื่องนี้ถูกบันทึก และพูดถึงครั้งแรก ในปี 1990 โดยนักจิตวิทยาชั้นแนวหน้าของโลก ที่ชื่อ Dr. Michael Lardon
ซึ่งในตอนนั้นจะยังไม่ใช้คำว่า zone แต่จะใช้คำว่า flow
flow คือสภาวะลื่นไหล ที่จิตใจจดจ่อ อยู่ในภวังค์ของตนเอง ที่จะสามารถดึงทักษะต่าง ๆ ออกมาใช้ได้อย่างสูงสุด
ซึ่งนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่นั้น จะสามารถใช้ flow ได้ทั้งสิ้น
ในเวลาต่อมา flow เริ่มเป็นที่รู้จัก กันมากขึ้น และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น In the zone หรือที่นักกีฬาส่วนใหญ่จะเรียกสั้น ๆ ว่า zone
ถึงแม้ zone ในความเป็นจริงจะไม่ได้เวอร์วัง เหมือนกับ อะนิเมะ แต่การที่จะเข้าถึง zone ได้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
เพราะเงื่อนไขของการเข้าถึง zone คือ การมีสมาธิจดจ่ออยู่กับตัวเอง ให้ดำดิ่งลึกลงไปในภวังค์ บวกกับการฝึกซ้อมอย่างหนัก
ถึงจะทำให้สามารถดึงประสิทธิภาพของร่างกายตัวเองในการใช้ zone ได้อย่างสูงสุด
พอได้รูแบบนี้แล้ว อาจจะไม่ใช่แค่กับนักกีฬาเท่านั้น ที่จะใช้ zone ได้ เราอาจจะมาประยุกต์ใช้กับในหลาย ๆ สถานการณ์ ได้เหมือนกัน เช่นทการสอบ การอ่านหนังสือ การทำงาน
ตราบเท่าที่ดราจะสามารถจินตนาการได้ และนึกออกเลยละครับ
แล้วทุคนคิดว่า zone ของทุกคนเป็นแบบไหนครับ ลองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดีกว่าครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับเรื่องราว ที่นำมาฝากกันในวันนี้
ทุกๆคนสามารถ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ นภา ได้ผ่านการแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันเรื่องราวกันได้ที่ด้านล่าง นี้เลยครับ ⬇️⬇️⬇️
และมากไปกว่านั้น ยังสามารถ เป็นกำลังใจ และสนับสนุน นภา ได้ด้วยการ กดว้าว เพื่อบอกกับเราว่า อ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายนะครับ 😆😆
Ref:
🔹https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635205
🔹https://www.dropbox.com/th_TH/business/resources/flow-state
🔹https://reder.red/flow-mihaly-csikszentmihalyi-16-09-2020/
🌸 นภา วิทย์นิดนิด เรียบเรียง 17/04/2564

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา