19 เม.ย. 2021 เวลา 03:12 • หุ้น & เศรษฐกิจ
EP.วิธีดูหุ้นโรงงาน
ด้วยความที่ไทยเป็นประเทศที่มีค่าแรงที่ถูก และอยู่ในภูมิประเทศที่อยู่ตรงกลางของอาเซียน ทำให้หลายๆบริษัทเลือกไทยเป็นฐานการผลิต ดังนั้นธุรกิจOEMหรือโรงงานจึงมีมากในตลาดหุ้น
ถึงแม้ว่าหุ้นพวกนี้จะไม่มีDCAมากนักจึงไม่ค่อยเหมาะกับการลงทุนระยะยาว แต่หุ้นพวกนี้ก็มีเวลาทองของกิจการ ที่สามารถให้ผลตอบแทนกับนักลงทุนได้มากทีเดียว
จุดสังเกตหลักๆสำหรับการดูหุ้นโรงงานประกอบด้วย
1.สินค้าที่ผลิต
สินค้าที่ผลิตถ้ามีความเฉพาะทางจะดีกว่าสินค้าทั่วไป ด้วยความที่เป็นสินค้าเฉพาะทางทำให้โรงงานต้องใช้เทคโนโลยีสูงกว่าสินค้าธรรมดา และจะมีอำนาจต่อรองกับคู่ค้าด้วย เพราะผู้ที่จ้างผลิตจะไม่สามารถย้ายโรงงานได้ง่าย ส่งผลให้บริษัทมีอัตรากำไรที่สูงกว่า
เช่น บริษัทที่ผลิตสารเคมีหรือส่วนผสมอาหารเฉพาะทางจะมีอัตรากำไรมากกว่าบริษัทที่ผลิตสารเคมีทั่วไป เพราะมีการคิดค้นสูตรร่วมกับbrandที่จ้างผลิต ทำให้การย้ายโรงงานเป็นไปได้ยาก และตัวโรงงานก็จะเติบโตตามยอดขายของbrandสินค้าด้วย
โดยมากแล้วบริษัทที่ผลิตสินค้าเฉพาะทางจะมีช่วงของการเติบโตยาวนานกว่าบริษัทที่ผลิตสินค้าทั่วไป
1.ต้นทุนการผลิต
โรงงานที่มีต้นทุนการผลิตที่มีความผันผวนมากย่อมคาดการกำไรได้ยากกว่าโรงงานที่มีต้นทุนการผลิตผันผวนน้อย
อย่างเช่นการคาดการกำไรของโรงงานน้ำตาลนั้นยากกว่าการคาดการโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ แต่บางครั้งเราสามารถใช้ประโยชน์จากการลดของต้นทุนเพื่อเก็งกำไรระยะสั้นได้
เช่น การลดลงอย่างรุนแรงของราคาทองแดงส่งผลต่อกำไรของโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลกทรอนิค หรือspradeของสารเคมีส่งผลต่อกำไรของโรงงานผลิตฟิล์ม
การติดตามต้นทุนของอุตสาหกรรมต่างๆอยู่ตลอดเวลาทำให้เราสามารถหาโอกาสทำกำไรจากราคาต้นทุนสินค้าได้
2.กำลังการผลิตและจุดbreakeven
ตัวโรงงานนั้นจะมีกำลังการผลิตเหลือมากไปก็ไม่ดี เหลือน้อยไปก็ไม่ดี เพราะถ้ากำลังการผลิตเหลือมากไปแล้วยังไม่ครอบคุมค่าต้นทุนจะทำให้บริษัทต้องรับขาดทุนจากสายการผลิตนั้นๆ
โดยมากการขาดทุนพวกนี้มักเกิดจากการที่เพิ่งติดตั้งเครื่องจักรใหม่แต่ไม่สามารถหาลูกค้ามาใส่ในไลน์การผลิตได้ทัน ในทางกลับกันถ้ากำลังการผลิตใกล้เต็มแล้ว แต่โรงงานไม่ขยายกำลังการผลิต ลูกค้าก็ไม่ค่อยมีใครอยากจ้าง เพราะถ้ากำลังการผลิตเต็มแต่สินค้าขายดีก็จะมีปัญหาการผลิตสินค้าไม่ทัน
ความเสี่ยงอีกอย่างของการติดตั้งเครื่องจักรใหม่ก็คือการติดตั้งและtestเครื่องจักร บางครั้งกว่าจะติดตั้งให้เครื่องจักรทำงานได้ตามที่ต้องการอาจใช้เวลาเป็นเดือน ส่งผลให้กำไรในไตรมาสนั้นๆลดลง
ดังนั้นกำลังการผลิตควรbreakeven ซึ่งจริงๆแล้วความน่าสนใจของหุ้นโรงงานอยู่ที่จุดbrekevenนี่แหละ เพราะถ้าผ่านจุดbreakevenแล้ว กำไรของโรงงานจะกระโดดไปได้เยอะมาก ส่งผลให้ราคาหุ้นไปได้ไกลด้วย
เคสของการติดตั้งและขยายกำลังการผลิตเครื่องจักรที่เห็นได้ชัดคือXOในช่วงปี60ที่มีการย้ายโรงงานใหม่และเพิ่มกำลังการผลิต ทำให้กำไรบริษัทดรอปลง แต่จะเห็นได้ว่าพอผ่านจุดนั้นไปได้กำไรของXOเติบโตขึ้นอย่างมากและได้อานิสงค์จากการล็อคราคาต้นทุนวัตตุถุดิบ ให้กำไรของXOกระโดดขึ้นจาก2ปัจจัย และหุ้นสามารถขึ้นได้หลายเด้ง
3.คุณภาพเครื่องจักร
คุณภาพเครื่องจักรเป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาสของหุ้นโรงงาน ถ้าเครื่องจักรเก่าและไม่มีประสิทธิภาพของที่ผลิตก็จะมีส่วนที่เสียเยอะตามไปด้วย โรงงานที่ขาดทุนจากคุณภาพของเครื่องจักรและสามารถปรับปรุงคุณภาพเครื่องจักรขึ้นมาได้จะสามารถทำให้กำไรเติบโตขึ้นมาได้เป็นอย่างมาก
กรณีนี้เห็นได้จากKCEช่วงปี50ที่เครื่องจักรมีการผลิตสินค้าเสียหายเป็นจำนวนมาก KCEแก้ด้วยการปรับปรุงเครื่องจักรและใช้ระบบSAPเข้ามาลดของเสีย ทำให้KCEกลับมากำไรโตและกลายเป็นหุ้น10เด้งในรอบที่1
แต่การปรับปรุงนั้นอยู่ได้ไม่นานKCEก็กลับมามีปัญหาอีกครั้ง แต่เหมือนโชคช่วย การเกิดน้ำท่วมปี54ทำให้เครื่องจักรของKCEเสียหายแต่ด้วยเงินประกันทำให้ได้เครื่องจักรใหม่มา การผลิตจากเครื่องจักรใหม่นั้นดีมากทำให้KCEกลับมาเติบโตอีกครั้งและเป็นหุ้น10เด้งอีกรอบ
3อย่างนี้เป็นจุดสังเกตเบื้องต้นที่จะทำให้เราติดตามหุ้นโรงงานได้ง่ายขึ้น แต่ภาพใหญ่ของหุ้นโรงงานคือโรงงานต้องผลิตสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อที่จะเติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจโดยรวมได้ และเมื่อมีปัจจัยเสริม3อย่างข้างต้นเป็นตัวผลักดัน จะทำให้กำไรของบริษัทเกิดการจุดระเบิดและผลักดันให้ราคาหุ้นสามารถวิ่งไปได้ไกล

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา