20 เม.ย. 2021 เวลา 12:00 • การศึกษา
สามเหลี่ยม (ตอนที่ 5)
คราวที่แล้วเราคุยกันถึงเรื่อง พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม กับการนำพิธาโกเรียนปฐมฐาน และ พิธาโกเรียนทริปเปิล มาประยุกต์ในการแก้ปัญหาโจทย์ พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม วันนี้เราจะมาคุยกันต่อในเรื่องของพื้นที่ของสามเหลี่ยมกันครับ
จากรูปเราสังเกตว่า
พื้นที่ของสี่เหลี่ยม DBCE เท่ากับ กว้างคูณยาว (ด้านกว้าง × ด้านยาว ) ในขณะที่ พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมคือ ½ ของ ด้านกว้าง × ด้านยาว หรือ เราอาจกล่าวได้ว่า พื้นที่ของรูป สามเหลี่ยม เท่ากับครึ่งหนึ่งของรูปสี่เหลี่ยมที่มีพื้นที่ “ล้อมรูป”สามเหลี่ยมนั้น (คือรูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านกว้างเท่ากับฐานของสามเหลี่ยม และมีด้านสูงเท่ากับความสูงของรูปสามเหลี่ยม)
ดูรูปด้านล่างครับ
ซึ่งเราเห็นได้จากรูปด้านบนว่า พื้นที่ของสี่เหลี่ยมส่วนที่มิได้ทับซ้อนกับพื้นของสามเหลี่ยม ABC มีค่าเท่ากันกับพื้นที่ สามเหลี่ยม ABC
ดังนั้น พื้นที่ของสี่เหลี่ยม DBCE คือผลรวมของพื้นที่ของ สามเหลี่ยม ABC กับ พื้นที่ สามเหลี่ยม ADB + สามเหลี่ยม AEC
เราจึงได้ว่า
พื้นที่สี่เหลี่ยม DBCE = ▲ABC + ▲ADB + ▲AEC
แต่ ▲ABC = ▲ADB + ▲AEC
ดังนั้น
พื้นที่สี่เหลี่ยม DBCE = ▲ABC + ▲ABC
= 2(▲ABC)
หรือกล่าวได้ว่า
2(▲ABC) = พื้นที่สี่เหลี่ยม DBCE
แล้ว
พื้นที่ ▲ABC = ½ พื้นที่สี่เหลี่ยม DBCE
= ½ × พื้นที่สี่เหลี่ยม DBCE
= ½ × กว้าง × ยาว
= ½ × ฐาน × สูง
อาจจะยุ่งสักนิด ดูภาพประกอบด้วยครับ
คราวหน้าเราจะมาคุยกันต่อในเรื่องของ สามเหลี่ยม (ตอนที่ 6) ในวันที่ 22 เมษายน 2564 เวลา 19.00 น. ครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา