20 เม.ย. 2021 เวลา 16:31 • สุขภาพ
รูปภาพแทนคำพูดหรือคำอธิบายที่ยืดยาว....อีกแล้ว
เท้ายังคงเป็นประเด็นต่อไปในการศึกษา เพราะเท้าเป็ฯโครงสร้างที่สลับซับซ้อน มีรายละเอียด ส่งผลต่อร่างกายคนเรา แต่คนกลับมักไม่ค่อยสนใจ หรือสนใจ แต่ก็ยังไม่เข้าใจ เพราะมันเข้าใจยาก....จริงๆ
เท้าเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ ให้ความมั่นคงทุกย่างก้าวหรือเมื่อลงน้ำหนัก และปรับเปลี่ยนรูปทรงตามการเคลื่อนไหว แปลว่า ทำได้ทุกอย่าง on demand
ก่อนอื่น เราคงต้องทำความเข้าใจโครงสร้าง (ที่เคยรู้สึกว่าอธิบายเท่าไหร่ คนฟังก็มองหน้าแล้วขมวดคิ้วตลอด) อย่างง่ายๆว่า เป็น 2 feet in 1 คือ สีเขียวตั้งแต่กระดูกทาลัส-นาวิคูลาร์-คูนิฟอร์มและยาวไปยังนิ้วเท้า 3 นิ้ว กับ สีแดงตั้งแต่ส้นเท้า-คิวบอยด์และยาวไปยังนิ้วเท้า 2 นิ้ว แล้วเอามาประกบกันเป็นเท้า 1 เท้า (สีเขียวอยู่ข้างบนต่อกับสีแดงที่อยู่ค่อนลงมาข้างล่าง)
ทีนี้มาดูคำว่า “Tensegrity” ทางสถาปัตยกรรม จะหมายถึง ความสมบูรณ์แบบสามมิติ เป็นระบบที่พึ่งพาตนเอง มีส่วนที่ประกอบด้วยส่วนรับแรงอัด (Compression) และส่วนรับแรงดึง (Tension) ทำให้ มีความยึดหยุ่นในขณะที่ยังคงความแข็งแรงอยู่ได้ ตัดส่วนใดออกไปไม่ได้ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น สะพานแขวน
ส่วนกลางและส่วนปลายของเท้าคน มีความ “Tensegrity” ที่เกิดจากเอ็นกล้ามเนื้อ 2 เส้น คือ Tibialis posterior (เส้นสีเขียว) และ Peroneus longus (สีน้ำเงิน) คล้องพยุงฝ่าเท้าไว้ให้มีความมั่นคง แล้วถ้าเมื่อไหร่ที่กล้ามเนื้อ 2 มัดนี้ไม่ทำหน้าที่แล้ว จะด้วยเหตุใดก็ตาม ร่างกายเราก็ต้องชดเชยด้วยการควานหาตำแหน่งลงน้ำหนักกันใหม่ยกใหญ่ เพื่อให้เรายังคงยืนอยู่ได้ แต่....มองย้อนขึ้นไป ท่ายืน ท่าเดิน คงไม่เหมือนเดิม
โฆษณา