24 เม.ย. 2021 เวลา 15:40 • สุขภาพ
การออกกำลังกาย VS COVID-19
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) ระบุปัจจัยสำหรับ COVID-19 ประกอบด้วย อายุมาก เพศชาย ภาวะโรคร่วม เช่น เบาหวาน อ้วน โรคหัวใจ
การขาดกิจกรรมทางกายเป็นปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังหลายชนิดที่ส่งผลต่อ COVID-19 ขั้นรุนแรง
กิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยทำให้การทำงานของภูมิคุ้มกันและสุขภาพโดยรวมดีขึ้น แนวทางการออกกำลังกายแนะนำว่า ควรออกกำลังกายปานกลางถึงหนักอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ (65-90% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด)
กิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายมีส่วนสำคัญในการบรรเทาความรุนแรงของ COVID-19
มีงานวิจัยที่ศึกษาผลของปัจจัยดังกล่าวในผู้ป่วย COVID-19 48,440 คนตั้งแต่วันที่ 1 มค.-21 ตค. 2563 โดยเชื่อมโยงระดับของกิจกรรมทางกายกับอัตราการนอนโรงพยาบาล อยู่ใน ICU หรือเสียชีวิต
ผลการวิจัยพบว่า
1. อัตราการเข้าโรงพยาบาลในกลุ่มขาดการออกกำลังกาย 2.26 เท่า กลุ่มที่ออกกำลังกายบ้าง 1.89 เท่า
2. อยู่ใน ICU ในกลุ่มขาดการออกกำลังกาย 1.73 เท่า กลุ่มที่ออกกำลังกายบ้าง 1.58 เท่า
3. เสียชีวิต ในกลุ่มขาดการออกกำลังกาย 2.49 เท่า กลุ่มที่ออกกำลังกายบ้าง 1.88 เท่า
สรุปได้ว่า การขาดกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สุดที่เกี่ยวเนื่องกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น สูบบุหรี่ อ้วน เบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ และมะเร็ง นอกจากการฉีดวัคซีน การป้องกันด้วยมาตรการต่างๆ รวมถึงการออกกำลังกายจึงช่วยป้องกันความรุนแรงของ COVID-19 ได้
แหล่งข้อมูล Sallis et al. 2021. Physical inactivity is associated with a higher risk for severe COVID-19 outcomes: a study in 48,440 adult patients. BJSM.
โฆษณา