26 เม.ย. 2021 เวลา 14:57 • สุขภาพ
เจ็บ ปวด เมื่อย ทำยังไงกับมันดีนะ ???????
ในความคิดของทุกคน เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ก็คงจะคิดถึงการนวด การยืดก่อนเป็นลำดับแรกสินะ
แต่แล้วทุกคนก็คงจะเป็นสินะ นวดก็รู้สึกดีขึ้นนิดนึง สุดท้ายกลับไปทำงาน กลับไปใช้ชีวิตก็เหมือนเดิม
แล้วทุกคนเคยตั้งคำถามกันบ้างไหม ทำไมนะ? ทำไม?
สุดท้ายก็วนลูป เมื่อย นวด เมื่อย นวด วนไปเรื่อยๆ
แล้วอย่างนี้เราควรจะต้องทำอย่างไรกันดีนะ ?
ก่อนอื่นเลยทุกคนสงสัยกันไหมเจ็บ เมื่อย ปวด มันเกิดขึ้นได้อย่างไรนะ แล้วทำไมมันมักจะเกิดเวลาทำอะไรนานๆ
ซึ่งอาการเจ็บ ปวด เมื่อย เป็นอาการที่ทุกคนพบเจอกันได้เป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งนึงที่ทุกคนอาจจะไม่เคยนึกถึง นั่นก็คือ .... ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ( Muscle Strength )
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หมายถึงต้องมีกล้ามโตแล้วจะไม่เมื่อยใช่ไหม? คำตอบคือ ผิดแล้ว
กล้ามเนื้อที่ดีนอกจากต้องมีความแข็งแรงแล้ว ยังจำเป็นต้องมีความทนทานควบคู่กันไปด้วย
ขอยกตัวอย่างอาการที่เมื่อยกันบ่อยๆ อย่างเช่น เมื่อยบ่า เมื่อยคอ ทุกคนคงจะพบเจอกันบ่อยจนน่ารำคาญเลยสินะ
แต่กลับกัน ในส่วนของต้นแขน คุณเคยเมื่อยกันบ้างไหม บอกได้เลยว่าแทบจะไม่เมื่อยเลยใช่ไหม
ทั้งๆที่ทั้งสองส่วนเป็นกล้ามเนื้อเหมือนกันแท้ๆ แต่ทำไมมันช่างต่างกันเหลือเกิน ส่วนนึงเจ็บและส่วนนึงไม่เจ็บละ?
ความแตกต่างนี้มันเกิดจาก 2 ส่วนหลักๆ คือ
1.ความถี่ในการใช้งานของกล้ามเนื้อ
2.ความแข็งแรงทนทานของกล้ามเนื้อ
ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ควรที่จะไปในทิศทางเดียวกัน
ทีนี้มาพูดกันในส่วนแรก ความถี่ในการใช้งานของ
กล้ามเนื้อ เชื่อว่าทุกคนมีงานต้องทำ มีกิจวัตรประจำวันที่ต้องดำเนินไปในทุกวัน ดังนั้นการจะแก้ไขจากปัจจัยในส่วนนี้คงจะเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับทุกคน คงไม่สามารถบอกได้ว่าเลิกทำงานเลยสิ 555
ดังนั้นเหลือเพียงทางเดียวที่ทุกคนควรที่จะใส่ใจ คือ...
ความแข็งแรงทนทานของกล้ามเนื้อนั่นเอง
ยกตัวอย่างเดิมเลย เมื่อยบ่า เมื่อยคอ ใช่ไหม แทนที่จะคิดว่าถึงเวลาต้องไปนวดแล้ว ลองเปลี่ยนความคิดว่า ถึงเวลาที่ต้องไปออกกำลังกาย คอและบ่ามากขึ้นดีกว่าไหม
จากตัวอย่างนี้ ลองออกกำลังกายบ่ามากขึ้น ในท่าของ
Shoulder Shrug ดูดีไหมเอ่ย
ยกไหล่ขึ้นชิดคอ แล้วกดไหล่ลงให้สุด
ท่านี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบ่า
ให้มีความทนทานและแข็งมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นก็จะสามารถทนต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันได้มากยิ่งขึ้น โดยที่ไม่เกิดอาการเมื่อยจากการใช้งาน
สรุปเลยนะทุกคน อย่าคิดเพียงแต่ว่าเมื่อเกิดอาการ
เจ็บ ปวด เมื่อย ล้า ต่างๆนานา อย่าคิดเพียงแต่มันตึงแล้วต้องไปนวดเพื่อช่วยผ่อนคลายเท่านั้น
แต่อยากให้ทุกคนลองมองที่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
มัดที่เกิดอาการปวดเมื่อยนั้นด้วยว่ามีความแข็งแรง
ที่มากเพียงพอต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันหรือไม่
แต่เดี๋ยวก่อน อาการบาดเจ็บและปวดเมื่อย ไม่ควรพิจารณาเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมากเกินไป อย่าคิดว่ามีเพียง ความแข็งแรง และ กล้ามเนื้อตึง เท่านั้น หากแต่ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมายที่สามารถส่งผลได้
สุดท้ายนี้ ลองเก็บไปพิจารณาดูสองปัจจัยนี้เป็นหลัก
ก่อนได้เลย หากยังไม่สามารถแก้ไขได้ก็ควรปรึกษา
ผู้เชี่ยวชาญเพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม
Kittipat Wichitjittanon : Sport Scientists
โฆษณา