15 พ.ค. 2021 เวลา 13:26 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กินไม่เลือก ระวังเจอโลหะหนัก!
1
สายกินอย่างเราๆ จะกินอย่างเดียวไม่ได้ค่ะ ต้องคำนึงถึงสุขภาพด้วย เพราะถ้าเจ็บป่วยขึ้นมา เดี๋ยวจะอดกิน55555
1
โลหะหนัก หมายถึง โลหะ (metal) ที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ 5 เท่าขึ้นไป ได้แก่ ดีบุก สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว สารหนู ปรอท มีอัตราการสลายตัวค่อนข้างช้า ทำให้สะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน เป็นมลพิษทางน้ำ มนุษย์รับโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายทางน้ำ พืชน้ำ เช่น สาหร่าย สัตว์น้ำ จากการกินตามห่วงโซ่อาหาร
Potential sources of heavy metals in the environment (Source: Garbarino et al., 1995)
โลหะหนักเป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard) จึงเกิดการสะสมโลหะหนักในเนื้อเยื่อสัตว์ และเนื้อเยื่อพืช
โดยสะสมสารมลพิษเพิ่มขึ้นตามลำดับขั้นการบริโภค จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการปนเปื้อนของโลหะในอาหาร ดังนี้
ดีบุก : ไม่เกิน 250 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
สังกะสี : ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
ทองแดง : ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
ตะกั่ว : ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เว้นแต่อาหารที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนตามธรรมชาติในปริมาณสูง ให้มีได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
สารหนู : ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
ปรอท : ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับอาหารทะเล
และไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัมสำหรับอาหารอื่น
Human health effects of heavy metals (Source: www.researchgate.net)
#ดีบุก (Tin : Sn) เกิดได้ในอาหารบรรจุกระป๋องที่เคลือบด้วยดีบุก ซึ่งจะถูกสารเคมี
ในอาหารนั้นทำปฏิกิริยากัดกร่อนให้ละลายปนลงในอาหาร เมื่อได้รับในปริมาณมากจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า เบื่ออาหาร
#สังกะสี (Zinc : Zn) เกิดได้ในอาหารบรรจุกระป๋องและการใช้ภาชนะเคลือบสังกะสี
ใส่อาหารที่เป็นกรด หรือการตากอาหารบนแผ่นสังกะสี เมื่อได้รับในปริมาณมากทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะและอาการท้องร่วง
#ทองแดง (Copper : Cu) พบปริมาณมากในอาหารทะเล เมื่อได้รับในปริมาณมากทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เกิดการอักเสบในช่องท้องและกล้ามเนื้อและอาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้เพราะเม็ดเลือดแดงแตกสลาย
#ตะกั่ว (Lead : Pb) เกิดจากการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในบริเวณที่มีการปนเปื้อนของตะกั่ว และการใช้ภาชนะในการผลิตอาหาร เช่น หม้อ กระทะและภาชนะบรรจุที่ไม่เหมาะสม ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อได้รับในปริมาณมากอาจส่งผลให้เกิดอาการเฉียบพลันและเรื้อรัง คือ ปวดท้อง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ประสาทหลอน ซึม ไม่รู้สึกตัว ชัก มือและเท้าตก เป็นอัมพาต สลบและอาจเสียชีวิต
ได้
#สารหนู (Arsenic : As) เกิดจากการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงในการเกษตร อาหารสัตว์ และอาหารทะเล ถ้าได้รับปริมาณมากอาจทำให้เกิดการทำลายระบบสมอง
และทำลายตับ เกิดอาการตับอักเสบ
#ปรอท (Mercury : Hg) พบในสัตว์น้ำ เนื่องจากน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยทิ้งลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ปรอทสะสมอยู่ในสัตว์น้ำ เช่น ปลาหมึก และหอยชนิดต่างๆ ซึ่งการได้รับสะสมเป็นเวลานานจะทำให้มีอาการมือ ใบหน้าเกิดอาการบวมและเจ็บ เป็นอัมพาต ท้องร่วง ระบบกล้ามเนื้อถูกทำลาย ประสาทตาและหูเสื่อม เรียกว่า "โรคมินามาตะ"
โรคมินามาตะ Source: www.trueplookpanya.com
แม้ว่าในอาหารจะมีโลหะหนักปนเปื้อน แต่ความเสี่ยงที่จะได้รับโลหะหนักเหล่านี้
สามารถลดลงได้ หากผู้ผลิต ผู้ประกอบการอาหารคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค
ส่วนผู้บริโภคอย่างเราก็สามารถลดความเสี่ยงของการได้รับโลหะหนักจากอาหารที่บริโภคได้ โดยการเลือกซื้อเลือกรับประทานอาหารที่มั่นใจว่าสะอาดและปลอดภัย การดูฉลากอาหาร ตราเครื่องหมายการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้หลากหลายเพื่อลดปริมาณการสะสมโลหะหนักในร่างกาย
ทั้งนี้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ
ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา