2 พ.ค. 2021 เวลา 01:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
คาร์บอนไดออกไซด์กับคาร์บอนมอนอกไซด์ ต่างกันยังไง?
#ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Cabondioxide): CO2
ปกติเป็นก๊าซที่มีอยู่ตามธรรมชาติประมาณร้อยละ 0.03 โดยปริมาตรบริเวณเหนือมหาสมุทรในเขตเมืองมีปริมาณเพิ่มเป็นประมาณร้อยละ0.06 และลมหายใจออกของมนุษย์มีก๊าซประมาณร้อยละ 5.6
เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์ ถูกผลิตขึ้นจากการหายใจออกของสิ่งมีชีวิต จึงมักจะใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร
คาร์บอนไดออกไซด์ ยังเกิดจากการเผาไหม้ของสารประกอบอินทรีย์ และยังเกิดขึ้นจากกระบวนการหมักอีกด้วย จึงถูกใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สามารถเข้าสู่ร่างกายทางลมหายใจ จะเกิดอาการพิษเฉียบพลันได้
ในกรณีที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แทนที่ออกซิเจนในบริเวณที่จำกัด ทำให้ปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอต่อการหายใจ ถ้าสูดดมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณสูงมาก ร่างกายจะตอบสนองโดยเริ่มจากการหายใจลึกมากกว่าเดิม หายใจติดขัด หายใจลำบาก จนถึงอาการขาดออกซิเจน คือ ปวดศีรษะ วิงเวียน ความดันสูง อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ถ้าความเข้มข้นสูงถึงร้อยละ 12 หรือมากกว่าจะหมดสติภายใน 1-2 นาที ซึ่งมักพบกรณีทำงานในที่อับอากาศ เช่น ไซโล ถังหมัก บ่อลึก เป็นต้น
1
#ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Cabon Monoxide): CO
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส โดยมากจะเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ (organic compound) ส่วนใหญ่พบในไอเสียรถยนต์ หรือเกิดจากการเผาไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรม
ในบรรยากาศที่เราหายใจ อาจมีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์อยู่บ้าง แต่มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป อย่างเช่น บริเวณบรรยากาศปกติ อาจจะมีประมาณ 0.1-5 ppm หรืออาจจะถึง 15 ppm ในกรณีที่เราอยู่ใกล้สิ่งที่มีการเผาไหม้ เช่น เรากำลังทำการหุงต้มอาหารในบ้าน
แต่ถ้าเราอยู่ในการจราจรหนาแน่น อย่างเช่น เมืองหลวงที่มีรถติด เช่น กรุง้ทพ หรือเชียงใหม่ อาจจะพบก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ถึง 100-200 ppm หรือถ้ามาจากปล่องไฟที่มีการเผาไหม้ อาจจะมากถึง 5000 ppm จนถึง 7000 ppm
1
เพราะฉะนั้น เราควรจะพยายามหลีกเลี่ยงแหล่งที่จะทำให้เราได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณมากเกินไป เพราะก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีผลกระทบต่อสุขภาพ
1
เมื่อเรารับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปในร่างกายมากเกินไป จะทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถรวมตัวกับเฮโมโกลบิน และเปลี่ยนเป็นออกซีเฮโมโกลบิน (Oxyhaemoglobin) ได้ในสภาวะปกติ ดังนั้น ร่างกายก็อาจจะเกิดอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศรีษะ เพราะว่าสมองได้รับออกซิเจนเข้าไปน้อยกว่าสภาวะปกติ และในสภาวะพื้นที่อับอากาศ คือ การที่ไม่มีการถ่ายเทของอากาศที่ดี ไม่มีการไหลของอากาศที่ดี อากาศไม่ไหลเวียน และยังทัก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นจำนวนมาก อาจทำให้เสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้นได้
1
#ระดับของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่สงผลกระทบต่อร่างกาย
1. ระดับ 50-200 ppm จะทำให้มีอาการปวดศีรษะเล็กน้อยและอ่อนเพลีย
2. ระดับ 200-400 ppm จะเริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง และอาจถึงขั้นเป็นลม
3. ระดับ 1200 ppm จะเริ่มเกิดอาการหัวใจเต้นเร็วขึ้นผิดปกติ และเริ่มเต้นผิดจังหวะ
4. ระดับ 2000 ppm อาจถึงขั้นหมดสติ และอาจถึงเสียชีวิต
5. ระดับ 5000 ppm อาจทำให้เสียชีวิตภยในไม่กี่นาที แต่อาจรอดชีวิต ถ้ารีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณอับอากาศ มาสู่บริเวณที่มีอากาศบริสูทธิ์ หรือมีออกซิเจนเพียงพอ
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา