Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
•
ติดตาม
30 เม.ย. 2021 เวลา 04:54 • ธุรกิจ
ไคเซ็น (Kaizen (改善)) เป็นคำมาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลว่า ปรับปรุงดีขึ้น
1
โดยเป็นแนวคิดพื้นฐานที่เกิดจากการอยากพัฒนา แก้ไขและการริเริ่มความคิดสร้างสรรค์เล็กๆ ในระดับปฏิบัติการกระตุ้นความคิดการพัฒนาและแก้ปัญหาหน้างานทำได้ง่าย รวดเร็ว ไม่ซับซ้อนสร้างความภาคภูมิใจในผลงานตัวเอง
2
เป็นการรวมกันของ 2 คำในภาษญี่ปุ่น คำว่า “ไค” แปลว่า แยกอกเป็นส่วนๆ และ “เซ็น” แปลว่า ทำให้ดีขึ้น
1
เมื่อทั้ง2 คำเข้ากันจึงหมายถึง การแยกออกจากกันที่เป็นส่วนๆ เพื่อทำให้ดีขึ้น ไคเซ็นมีพื้นฐานของการวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์ เมื่อคุณวิเคราะห์องค์ประกอบต่างหรือกระบวนการเพื่อทำความเข้าใจว่าทำงานอย่างไร จากนั้นก็ค้นหาว่าจะปรับปรุงหรือจัดการทำอย่างไรให้ดีขึ้น
(Use Small Teams to Optimize Process Performance by Implementing Incremental Change Apply Intellectual Capital of Team Members Intimate with Process
Cr. Dr. Seiichi Fujita
การทำงานแบบลีนที่มีรากฐานจากแนวคิดพื้นฐานของไคเซ็น นั่นคือ เป็นการปรับเปลี่ยนทีละเล็กทีละน้อยตลอดช่วงระยะเวลานาน สะสมจนส่งผลประทบต่อผลลัพธ์ จากการเปลี่ยนวิธีการทำและยกระดับงาน
ผมเองทำงานในโรงงานมันเริ่มจากโครงการที่เรียกว่า “ KSS ” หรือชื่อเต็มว่า KAIZEN Suggestion System มันคือ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานระดับปฏิบัติติได้ฝึกคิดปรับปรุงงานในโรงงานเทคนิคหรือหลักการง่าย ๆ
โดยการใช้ภูมิปัญญา(Know How) การทำในสิ่งที่ไม่ยุ่งยาก ,ทำได้ทันที ,การปรับปรุงที่ไม่ต้องใช้เงินมาก และใช้ Creative Idea ในการปรับปรุงงาน เพราะในสมองเรานั้นมีลิ้นชักความรู้ หรือ ภูมิปัญญาที่สั่งสมไว้มากมายคิดให้มาก ๆ เพื่อนำ Idea มาใช้ปรับปรุงงาน โดยไม่ต้องใช้เงิน มีคีย์เวิร์ดสำคัญของการทำไคเซ็นมีอยู่ 3 ข้อ นั่นก็คือ
เลิก ลด เปลี่ยน
o การเลิก : ควรคิดว่างานที่ทำให้เกิดของเสีย หรือ ความสูญเปล่าจากการทำงานนั้น สามารถทำได้โดยทันทีหรือไม่ ถ้าเลิกได้ก็เลิกทำทันที
o การลด : หากงานนั้นไม่สามารถเลิกได้ทันที ก็คิดดูว่าสามารถลดได้หรือไม่
o การเปลี่ยน : หากลดไม่ได้ ก็ลองคิดหาวิธีการเปลี่ยน
เทคนิคการคิดวิธีการปรับปรุงแบบ ECRS
นั้นเป็นที่นิยามอย่างมากในการนำไปใช้ เพราะเป็นแนวคิดในการลดความสูญเปล่าในการดำเนินงาน หรือที่เราเรียกว่า Waste นั้นเองซึ่งถือเป็นต้นทุนที่ไม่สร้างผลตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ
• E = Eliminate คือ การลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นออก
• C = Combine คือ การรวมขั้นตอนการทำงานเข้าด้วยกัน เพื่อประหยัดเวลาหรือแรงงานในการทำงาน
• R = Rearrange คือ การจัดลำดับงานใหม่ให้เหมาะสม
• S = Simplify คือ ปรับปรุงวิธีการทำงาน หรือสร้างอุปกรณ์ช่วยให้ทำงานได้
2
กลยุทธ์การบริหารแบบไคเซ็น คือแนวทางของผู้บริหารที่มอบความมั่นใจในการทำงานไว้ที่พนักงานทุกคนในองค์กร ให้ดูและพัฒนาขีดความสามารถทั้งของตนเองและระบบการผลิตให้ดีขึ้นอย่างสม่เสมอ ด้วยแบบแผนการในการปฏิบัติโดยไม่ปักใจใน “ ระเบียบปฏิบัติ ” หากจะต้องมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
1
ความแตกต่างข้อเสนอแนะกับข้อเสนอแนะไคเซ็นนั้นอยู่ที่การดำเนินการระหว่างผู้ปฏิบัติการกับระดับจัดกการ เพราะความสำคัญของไคเซ็นคุณต้องลงมือทำเองเป็นหลัก หากเป็นข้อเสนอแนะนั้นผู้ปฏิบัติการจะเป็นคนที่เขียนหรือแจ้งให้ระดับจัดการไปคิดหาวิธีการและแก้ไขให้เสร็จ ส่วนข้อเสนอแนะไคเซ็นผู้ปฏิบัติต้องเริ่มต้องเริ่มคิด ปรับปรุง ด้วยตนเอง โดยมีระดับจัดการคอยสนับสนุนนั้นเอง
จากประสบการณ์ที่ผมได้ทำงานไคเซ็นกว่า 12 ปีและไปให้คำปรึกษาโรงงานต่างๆ พบว่าการดำเนินการไคเซ็นที่จะประสบความสำเร็จจริงๆนั้นทำแค่ 1 ปี ก็ได้ หลักจากนั้นก็ล้มเหลวหรือทำไปอย่างร่องรอยไร้จุดหมาย ลักษณะเด่อนชัดที่สุดจะมี 5 ลักษณะ ดังนี้
1
1. มุ่งเน้นจำนวน ไม่ได้เน้นเรื่องคุณภาพของไคเซ็น
2. เชื่อมโยงกับระบบคุณภาพหรืองานประจำไม่ได้อื่นๆ ไม่ได้
3. สร้างเป็นกิจกรรม ไม่ได้ทำเป็นระบบ
4. รอความสมบูรณ์แบบ ถึงเริ่มลงมือปฏิบัติ
5. ระดับจัดการยึดติดความคิดแบบเดิมๆ ไม่ยอมรับข้อเสนอ
1
แต่ก็มีโรงงานหรือองค์กรไม่น้อยที่สามารถยกระดับไคเซ็นให้เป็นระบบได้ นี้เป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้เชื่อมโยงจากแนวคิดไปสู่การลงมือทำอย่างต่อเนื่องและทำทั้งองค์กร
ตัวอย่างการเชื่อมโยง Karakuri Kaizen เป็นส่วนหนึ่งจากแนวคิด Monozukuri สู่ Hitozukuri
Monozukuri มีความหมายว่า คิดเป็น ทำเป็น อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นแนวคิดในการผลิตสินค้า และสร้างสรรค์ผลงานของญี่ปุ่น
Hitozukuri มีความหมายว่า “การสร้างคน” โดยการสร้างคนนั้น ต้องมาจากการพัฒนา การอบรม การฝึกฝน เพื่อมีวัตถุประสงค์คือ การสร้างคนที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่ง Dr. Toyoharu Tsumura ได้นิยาม Karakuri Kaizen ไว้ว่า
1.กลไกนั้นเรียบง่าย อะไรคือ กลไกที่เรียบง่าย นั้นก็คือการที่ไม่มีอุปกรณ์ขับเคลื่อนหรือควบคุม เช่น มอเตอร์ หรือเซ็นเซอร์แต่จะใช้การเคลื่อนไหวโดยโครงสร้างแบบ Analog เช่น สปริงหรือเฟื่อง เป็นต้น
2.เป็นการ Kaizen ที่ไม่ใช้เงิน ซึ่ง Karakuri Kaizen เน้นการสร้างด้วยวัสดุราคาถูกและแรงขับเคลื่อนที่น้อย โดยส่วนมากที่นิยมใช้กันจะเป็นท่อ PVC หรือเศษเหล็กจากกองวัสดุเหลือใช้ภายในองค์กร ทำด้วยมือง่ายๆ
3.เป็นงาน Kaizen ที่กำจัด 3 Mu “ Muri, Muda, Mura ” ที่หน้างานการผลิต
Muda หรือความสูญเปล่า อาจเกิดได้หลายลักษณะ อาทิ ความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอ การเคลื่อนย้าย การปรับเปลี่ยน การทำใหม่ การถกเถียง เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น การประชุมอาจเกิดความสูญเปล่าได้ หากการประชุมนั้นกลายเป็นการถกเถียงกัน ทำให้เสียเวลาไปกับการประชุมที่ไม่ได้ข้อสรุป หรือในการทำกิจกรรมการขาย ถ้าไม่มีการวางแผนในการจัดพื้นที่การไปพบลูกค้า ก็จะเสียเวลาในการเดินทางและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
1
Mura หรือความไม่สม่ำเสมอ งานที่มีความไม่สม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นในเรื่องปริมาณงาน วิธีการทำงาน หรืออารมณ์ในการทำงาน ทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอของผลงานตามไปด้วย นั่นหมายความว่า ผลงานที่ออกมาไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หากทุกคนสามารถรักษามาตรฐานของงานไว้ได้ ก็จะทำให้ประสิทธิภาพของงานสูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในการประชุมไม่เคยมีผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมหน้าเลย ครั้งนี้ขาดนนั้น ครั้งนั้นขาดคนนี้ และในการทำกิจกรรมการขายก็เช่นเดียวกัน พนักงานอาจมีความตั้งในที่ไม่สม่ำเสมอ ถ้าไม่ถึงปลายเดือนก็ไม่พยายามขาย เป็นต้น
1
Muri หรือการฝืนทำ การฝืนทำสิ่งใดๆ ก็ตามมักทำให้เกิดผลกระทบบางอย่างในระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น การทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ เป็นการฝืนร่างกายซึ่งไม่เป็นผลดีในระยะยาว อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ในการประชุม หากยังไม่มีการปรึกษาหารือที่มากเพียงพอ แต่กลับเร่งรัดให้มีการลงมติ ก็จะได้ข้อสรุปที่ผิดพลาด ส่วนในด้านการขายนั้น การฝืนลดราคาเพื่อให้ได้รับออเดอร์ หรือการรับงานที่ต้องส่งมอบเร็วเกินไปก็ไม่ส่งผลดีเช่นกัน
4. เพิ่มคุณภาพ, เพิ่มประสิทธิภาพ, ตรวจสอบได้ง่าย หรือเป็นการ Kaizen ที่ทำให้ผลลัพธ์ที่สูงขึ้น ตามดัชนีชี้วัดผลลัพธ์ของ PQCDSME ที่ส่งผลต่อการสร้างโครงสร้างบริษัทที่สร้างกำไรได้ หรือการทำ Cost Competitiveness = การมีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ การมีต้นทุนต่ำ จะทำให้มีกำไรและราคาสินค้าและบริการอยู่ในระดับที่ดึงดูดลูกค้า จุดสำคัญคือ ประสิทธิภาพ (efficiency) , ลดอัตราการสูญเสีย,ใช้ทรัพยากรน้อยกว่าคู่แข่งทำให้ประหยัดเงินจำนวนมาก
นี้เป็นแค่ตัวอย่างของการทำงานไคเซ็นที่ต่อยอดเยี่ยม ไปต่ออย่างมีระบบ,เพิ่มคุณค่าและความสูญเปล่าในกระบวนต่างๆ หากสังเกตดีๆ จะพบการว่าการทำงานไคเซ็นนั้นคือการพัฒนาบุคลากร
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #hozenkaizen
www.leantpm.co
23 บันทึก
13
4
27
23
13
4
27
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย