Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เพราะโลกไม่ได้กว้างเกินไปกว่าใจ
•
ติดตาม
1 พ.ค. 2021 เวลา 02:09 • สุขภาพ
มาชาร์จพลังกัน!!! ชี้ชัดไปเลย ถ้าต้องงีบ กี่นาทีคือคำตอบ?
เตรียมตั้งเวลาได้เลย
มีเหตุผลทางจิตวิทยาสำหรับการหาวโดยประมาณกว่า 20 ข้อ แต่เชื่อว่าส่วนใหญ่นั้นเกิดมาจากความง่วง และแน่นอนว่าในจังหวะนี้ การงีบคงต้องเข้ามามีบทบาทแล้วล่ะ
2
การงีบ คือการนอนหลับในช่วงสั้น ๆ ระยะเวลาหนึ่ง โดยมักจะเกิดขึ้นในตอนกลางวันเพื่อชดเชยเวลานอนในตอนกลางคืนที่ไม่เพียงพอนั่นเอง
2
ประเภทของการงีบ
การงีบตามแผน
Planned napping
เป็นการงีบก่อนที่จะเข้าสู่การนอนหลับจริง ๆ โดยมีการใช้เทคนิคก่อนเข้านอน ว่าจะนอนช้าหรือนอนปกติ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกลไกเพื่อคลายความเหนื่อยล้าของร่างกาย
1
การงีบฉุกเฉิน
Emergency napping
หากร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้ามาก เราก็จะรู้สึกง่วง เพลีย และหมดสติไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการงีบประเภทนี้ไม่ใช่การนอนหลับเพื่อสุขภาพที่ดี เเต่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายอ่อนล้าถึงขีดสุด และเหน็ดเหนื่อยจากการใช้พลังงานมากเกินไป ซึ่งถือว่าอันตรายมาก
2
2
การงีบเป็นนิสัย
Habitual napping
เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติสม่ำเสมอในการงีบ ของแต่ละคนในแต่ละวัน โดยมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน อาทิ เด็กอนุบาลจะใช้เวลางีบในช่วงบ่าย ส่วนผู้ใหญ่ก็จะเป็นเวลาสั้น ๆ หลังช่วงพักเที่ยงเป็นต้น
โดยการงีบจะช่วยเพิ่มพลังให้กับสมอง และระบบภายในร่างกายของเรา เพราะแม้จะอยู่ในช่วงเวลาระยะเวลาสั้น ๆ แต่ก็ส่งผลที่ดีต่อสุขภาพของคุณได้มากมายเลยทีเดียว
ประโยชน์ของการงีบ
The benefits of napping
1. ลดความดันเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
การงีบในตอนกลางวันนั้นช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ดี เนื่องจากผู้ที่ได้พักในเวลาสั้น ๆ ระหว่างวันจะมีระดับความเครียดที่ลดลง โดยมีสถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า การงีบสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้อย่างมีนัยสำคัญ
2. ผ่อนคลายสมองจากความเครียด
การงีบหลับในตอนกลางวันนั้นสามารถช่วยลดระดับความเครียดที่เกิดจากการทำงานระหว่างวันได้ นอกจากนี้ จากการทดลองยังพบว่าอาสาสมัครที่ได้งีบหลับสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์ตึงเครียดในแบบเดียวกัน
3. เพิ่มประสิทธิภาพด้านความจำ
จากการทดลองโดยให้อาสาสมัครได้งีบหลับเป็นเวลา 10 นาที พบว่าผู้เข้าทดลองมีความจำที่แม่นยำขึ้นมากเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้งีบหลับ
1
6
4. เพิ่มประสิทธิภาพทางความคิด
โดยพบว่าเซลล์ประสาทจะมีการทำงานได้ดีขึ้นเมื่อได้พักในระยะเวลาสั้น ๆ จึงสามารถทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี
5. ปลุกความสดชื่น เพิ่มพลังให้กับร่างกาย
มีการทดลองการงีบหลับกับอาสาสมัครที่เป็นทหารแล้วพบว่า กลุ่มที่ได้งีบในตอนกลางวันมีความกระตือรือร้น และประสิทธิภาพในการฝึกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
6. เพิ่มกำลังใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
เนื่องจากความเหนื่อยล้านั้นสัมพันธ์กับกำลังใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ โดยปกติแล้ว คุณจะรู้สึกอยากทำงานมากที่สุดในช่วงเช้า จากนั้นจึงค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ ตามความเหนื่อยล้า ดังนั้น การงีบหลับในตอนกลางวันจึงเปรียบเสมือนการชาร์จพลังในการทำงานขึ้นมาอีกครั้งนั่นเอง
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการนอน ได้เปิดเผยว่า ช่วงระยะเวลาของการงีบนั้นส่งผลดีต่อสุขภาพมากมาย ซึ่งบางคนอาจจะงีบหลับเพียงแค่ไม่กี่นาที แต่สำหรับบางคนก็อาจจะนอนหลับลึกหลายนาทีเลยก็ได้ โดยระยะเวลาของการงีบในแต่ละช่วง จะมีผลต่อร่างกายที่ต่างกันดังนี้
1
ช่วงระยะเวลาของการงีบ
The duration of the napping
10 - 20 นาที
เป็นระยะเวลาการนอนหลับตื้น (non-rapid eye movement หรือ NREM Sleep) ซึ่งเป็นช่วงที่เราเพิ่งเริ่มจะหลับหรือ สะลึมสะลือ ในช่วงนี้ร่างกายจะตอบสนองเร็วต่อสิ่งกระตุ้นจากภายนอกได้ง่ายมาก
โดยการงีบแบบนี้ จะเหมาะกับคนที่ต้องการตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกกระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉง สมองปลอดโปร่ง หรือสามารถตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อเนื่องได้เลย โดยไม่ค่อยเกิดอาการมึนงง เช่น เมื่อต้องรอเวลาออกเดินทาง เป็นต้น
จึงเรียกการงีบในลักษณะนี้ว่า “Power nap” เป็นพลังของการงีบ ที่ช่วยฟื้นฟูความอ่อนล้าให้กับร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากมายเลยทีเดียว
30 นาที
การนอนแบบนี้มักจะส่งผลไม่ค่อยดีต่อระบบร่างกายของเรา ซึ่งนักวิจัยหลายท่านให้ความเห็นตรงกันว่า หากนอนในช่วงระยะเวลานี้ หลังจากตื่นขึ้นมาแล้ว จะมีอาการมึนงง ร่างกายยังคงง่วงอยู่ หรือบางคนอาจจะรู้สึกปวดหัวเล็กน้อยด้วย เพียงแค่เพิ่มขึ้นมา 10 นาทีเท่านั้น ก็เห็นผลที่แตกต่างกันได้อย่างชัดเจน
60 นาที
การนอนด้วยเวลาเท่านี้จะทำให้สมองอยู่ในขั้น “slow-wave sleep” หรือเรียกว่า การหลับลึก เมื่อตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกมึนงงนิดนึง จนปล่อยให้เวลาผ่านไปประมาณ 30 นาที อาการเหล่านั้นก็จะหายไป จึงเหมาะสำหรับคนที่ทำงานหนัก หรืออ่านหนังสือสอบจนร่างกายอ่อนเพลีย ต้องการชาร์จพลังให้กับร่างกายมากในระดับหนึ่ง
1
90 นาที
ช่วงนี้เป็นระยะเวลาการนอนที่สมอง และร่างกายได้พักผ่อนอย่างสมบูรณ์แบบ จึงทำให้เริ่มเข้าสู่ความฝัน สมองจะสร้างความคิด และจินตานาการอย่างเต็มที่ หรือ ช่วงหลับฝัน (Rapid Eye Movement Sleep หรือ REM Sleep) นั่นเอง การงีบแบบนี้จะช่วยทำให้สมองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ หลังจากคุณตื่นขึ้นมาแล้วจะอารมณ์ดี และมีความทรงจำแม่นยำขึ้น ซึ่งการนอนแบบนี้เท่านั้น ที่จะช่วยทำให้คุณรู้สึกไม่ง่วงซึมหลังจากตื่นนอน เพราะถือได้ว่าครบรอบ “วงจรการนอนหลับ” นั่นเอง
2
ซึ่งแน่นอนว่าด้วยระยะเวลาที่ยาวนานแบบนี้ คุณต้องว่างในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
ถึงแม้การงีบจะมีข้อดีต่าง ๆ มากมาย แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างของแต่ละบุคคล ทำให้ไม่สามารถหาเวลางีบหลับในตอนกลางวันได้ดังใจ
สุดท้ายนี้ก็คงต้องบอกว่านำเวลาว่างที่คุณมีมาจัดสรรเป็นระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมแล้วตั้งเวลาปลุกเอา กล่าวคือ ถ้าคุณมีเวลาเหลือเฟือ การงีบ 90 นาทีนี่เต็มอิ่มแน่นอน แต่ถ้ามีเวลาน้อยจริง ๆ 10-20 นาทีคือคำตอบที่ดีที่สุดในการงีบครับ
และถ้าผ่านพ้นความง่วงในระหว่างวันไปได้ คุณควรจะเข้านอน และพักผ่อนให้เพียงพอในช่วงเวลาของการนอนปกตินะครับ ทั้งนี้ผมเคยทำบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ถ้าสนใจเข้าไปอ่านกันได้นะครับ
“การนอนที่เพียงพอในแต่ละช่วงวัย” และ “หนี้การหลับ” ที่เราต้องชดใช้เมื่อพักผ่อนน้อยเกินไป
https://www.blockdit.com/posts/6058bed5ee870e35a8a1212b
รู้จัก “ระดับการนอน” และ “วงจรการนอน” เผยเคล็ดลับสุดยอด นอนอย่างไรให้ได้คุณภาพ
https://www.blockdit.com/posts/605a6f8b08e21b12702c70f7
ทั้งนี้ยืนยันว่าบทความของผมไม่ใช่คำตอบ หรือบทสรุปที่ดีที่สุด ทุกท่านควรใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับข้อมูลด้วยนะครับ
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม ไลค์ คอมเมนท์ หรือว่าแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมเสมอ
ขอบคุณทุกคนครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สวัสดีครับ
12
ขอบคุณเจ้าของรูปภาพทุกท่าน
ขอบคุณที่มา
https://th.m.wikipedia.org/wiki/การงีบ
https://mattresscity.co.th/blog/post/how-do-naps-affect-your-body/
https://undubzapp.com/7-ประโยชน์-งีบหลับ/
12 บันทึก
51
106
71
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เธอต้องนอนเพราะเราเป็นห่วงเธอ
12
51
106
71
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย