1 พ.ค. 2021 เวลา 14:16 • การศึกษา
จิตวิทยาการศึกษา
บทเรียนที่ 1.1 : แนวคิดเรื่องความจำของมนุษย์
ตอน ความทรงจำยึดโยงกับบริบท
เคยได้ยินประโยคนี้กันมั้ยคะ ที่ว่า
"เราจะได้ยิน เท่าที่เรารู้"
แล้ว.. เพื่อน ๆ คิดว่าประโยคนี้หมายความว่าอย่างไร
มันหมายความว่า คนหนึ่งคน มีความสามารถในการเข้าใจหรือรับรู้ข้อมูลต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นฐานชุดข้อมูลเดิมที่มีอยู่ผ่านประสบการณ์ในอดีตหรือความเชื่อ
ปรากฏการณ์อันซับซ้อนอย่างเช่น หลุมดำ ที่เขียนโดยศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิง อาจทำให้คนทั่วไปที่ไม่มีโมเดลความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เข้าใจได้ยาก
ในเมื่อไม่มีโมเดลความคิดนั้น เราก็ไม่สามารถเข้าใจได้
นอกจากเราจะพัฒนาความคิดให้อยู่ในระดับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งก็ต้องอาศัยความตั้งใจและความพยายามยาวนาน
ทั้งนี้ มือใหม่จะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญได้ ก็ต่อเมื่อสร้างชุดความคิดขึ้นมาใหม่ในสมอง แล้วเปลี่ยนเป็นข้อมูลความเข้าใจส่วนบุคคล ไม่สามารถเกิดได้ด้วยการพร่ำบอกเฉย ๆ
ซึ่งในปัจจุบันก็มีวิธีการสอนมากมาย ที่จะช่วยให้บรรลุความสำเร็จนี้ได้
- เริ่มจากการโอนถ่ายความรู้จากบริบทเชิงวิชาการไปสู่สถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน
เชื่อไหมว่าในสมองของเราไม่มีเนื้อหาที่ปราศจากบริบท สมองของเราทำงานโดยการยึดโยงข้อมูลกับสถานการณ์หรือบริบทอยู่เสมอ และการคิดเชิงนามธรรมทำให้เราพัฒนาอย่างเชื่องช้า ยกตัวอย่างเช่น คนส่วนใหญ่ได้เรียนรู้การคำนวณร้อยละในโรงเรียนมาแล้ว กลับไม่สามารถประมาณได้ว่าเสื้อหนึ่งตัวจะมีราคาเท่าไหร่หากลด 70 เปอร์เซนต์
Associative memory cells and their connection
กล่าวคือ หากเราไม่สามารถกระตุ้นองค์ความรู้ก่อนหน้าของผู้เรียน หรือ บริบทการเรียนรู้ที่มีความหมาย ความรู้ที่ได้จากโรงเรียนก็ย่อมไร้การตอบสนอง และไร้ประโยชน์
Reference: Phenomenal learning from Finland

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา