Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
beyond EDUCATION - Diary
•
ติดตาม
2 พ.ค. 2021 เวลา 07:18 • การศึกษา
จิตวิทยาการศึกษา
บทเรียนที่ 1.2 : แนวคิดเรื่องความจำของมนุษย์
ตอน ความจำมนุษย์เป็นแบบประกอบสร้าง
"เป็นไปไม่ได้ที่ครูจะส่งผ่านความรู้เข้าไปสู่ภาชนะที่ว่างเปล่า"
คนเราสร้างโมเดลความคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและวิธีการทำงานของสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยเราพยายามเข้าใจโลกด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลใหม่เข้ากับข้อมูลเดิม หรือบริบทที่เราเคยพบเจอ
การเรียนรู้ถือเป็นการประกอบสร้างเชิงรุก ทั้งโดยตั้งใจและโดยไม่ตั้งใจ หากเราพัฒนาทักษะการใช้เหตุผลที่ดีขึ้น บวกกับมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเชื่อมโยงระบบความรู้เดิม เราก็มีแนวโน้มที่จะเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น
มีทักษะหนึ่งที่เรียกว่า อภิปัญญา (Metacognition)
เป็นการเรียนรู้ที่จะประเมินการให้เหตุผลและการโต้แย้งของตัวเอง ซึ่งเป็นทักษะสำคัญแต่ไม่ง่ายเลย ทั้งนี้ ฟินแลนด์จึงได้นำทักษะนี้เข้าไปในหลักสูตรที่นักเรียนควรเรียนรู้ในโรงเรียน (ปี 2006)
สาเหตุที่ทักษะนี้ไม่ง่าย เนื่องจากคนเรามีแนวโน้มที่จะยึดโมเดลความคิดเดิมของตน แทนที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดตามข้อมูลใหม่ ซึ่งนับเป็นปัญหาที่พบบ่อย เห็นได้ชัดในแวดวงวิทยาศาสตร์ เช่น ตอนที่ผลลัพธ์การทดลองไม่เป็นไปตามทฤษฎีที่คิดเอาเองในตอนแรก พวกเขามีแนวโน้มที่จะเพิกเฉยข้อมูลใหม่ มากกว่าที่จะปรับเปลี่ยนทฤษฎีตอนต้นที่คิดเอาเองนั้น ซึ่งเป็นการตั้งข้อสรุปด้วยตนเองโดยอัตโนมัติ แม้จะขัดแย้งกับความจริงก็ตามที
กล่าวคือ "เราไม่เชื่อในสิ่งที่เห็น แต่กลับเห็นในสิ่งที่เราเชื่อ"
ทฤษฎีประกอบสร้าง (Constructivism) เป็นแนวคิดที่ไม่ได้เกี่ยวกับการสอน แต่เป็นหลักการพื้นฐานทั่วไปว่าคนเราเรียนรู้อย่างไร
เมื่อเราพยายามจดจำบางสิ่งบางอย่าง เราได้ประกอบสร้างความจำดั้งเดิมขึ้นมาใหม่ เป็นกระบวนการอันรวดเร็วที่เราคิดหาเหตุผลว่าสิ่งต่างๆ 'ควร' ต้องเป็นอย่างไร
ฉะนั้นเป็นเรื่องง่ายดายมากที่คนเราจะสร้างสถานการณ์ดั้งเดิมขึ้นมาใหม่อย่างมีอคติ หรือแม้แต่การปลูกฝังความทรงจำแบบผิด ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นเข้าไปในสมองด้วยซ้ำไป
มีการทดลองพยานรู้เห็นในคดีอาชญากรรม สองคนที่รู้เห็นเป็นพยานในคดีเดียวกัน ทั้งคู่ไม่ได้เมาสุรา ไม่ได้ตาบอด และไม่ได้โกหก แต่เรื่องราวของพวกเขาทั้งคู่กลับขัดแย้งกัน
เมื่อความทรงจำผิด ๆ ถูกสร้างขึ้น ผู้เข้าร่วมการทดลองก็แทบจะไม่สามารถจดจำภาพเหตุการณ์ดั้งเดิมที่เห็นด้วยตาตนเองได้แล้ว
Reference: Phenomenal learning from Finland
Next: ความแตกต่างเชิงคุณภาพของโมเดลความคิดระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับมือใหม่
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
จิตวิทยาการศึกษา
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย