Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
beyond EDUCATION - Diary
•
ติดตาม
4 พ.ค. 2021 เวลา 05:23 • การศึกษา
จิตวิทยาการศึกษา
บทเรียนที่ 1.3 : แนวคิดเรื่องความจำของมนุษย์
ตอน ความแตกต่างระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับมือใหม่
"ไม่ใช่เพียงแค่ผู้เชี่ยวชาญรู้มากกว่า โมเดลความคิดของผู้เชี่ยวชาญยังแตกต่างจากของมือใหม่ ทั้งในเชิงคุณภาพและแก่นพื้นฐาน"
โมเดลความคิดจะพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปช้า ๆ มีเพียงกระบวนการประกอบสร้างเชิงรุก (อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทเรียน 1.2) ซึ่งต้องอาศัยความพยายามและเสียเวลาอยู่ไม่น้อย จึงจะสามารถเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่มีความหมายให้มีความหมายขึ้นมาได้
ดังนั้น คนเราจึงไม่สามารถใช้กูเกิลเพียงอย่างเดียวแล้วสร้างข้ออนุมานขึ้นมาได้ หากไม่มีโมเดลความคิดที่พัฒนาสมบูรณ์พร้อม เพื่อแยกแยะระหว่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต้องเรียนรู้
มีหลักฐานว่าแม้แต่เด็กอายุน้อย ๆ ก็เป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” ได้ในบางหัวข้อ เช่น ไดโนเสาร์ เด็กบางคนอาจสนใจเรื่องบางเรื่องจนได้ข้อมูลมามหาศาล และเปลี่ยนความรู้เหล่านั้นให้กลายเป็นความรู้ที่มีระบบ
การสร้างความรู้เชิงข้อเท็จจริงคือส่วนสำคัญ แต่ถ้าจะพัฒนาถึงขั้นผู้เชี่ยวชาญนับว่าเป็นเงื่อนไขที่ไม่เพียงพอ
นักเรียนต้องสร้างโมเดลความคิดที่มีคุณภาพด้วย *สำคัญมาก
การจัดโมเดลความคิดให้เป็นระบบระเบียบ(เฉพาะทาง) คือสิ่งที่แตกต่างระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับมือใหม่
ผู้เชี่ยวชาญเห็นแบบแผนของความรู้ หรือกล่าวได้ว่าเมื่อมองต้นไม้ พวกเขาเห็นป่าทั้งป่า สถาปนิกมองดูแบบแปลนแล้วเห็นเป็นภาพสามมิติได้ในทันที นายแพทย์พบเจอผู้ป่วยนับพันๆ คน สามารถมองแบบแผนการป่วยไข้ทั่วๆ ไปได้อย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่การเรียนรู้สาขาที่ใกล้เคียงกับความเชี่ยวชาญได้อย่างว่องไว เพราะพวเขาเชื่อมโยงข้อมูลใหม่กับบริบทที่เกี่ยวข้องได้
โดยทั่วไปแล้ว ประสิทธิภาพผู้เชี่ยวชาญทักษะระดับสูงคือการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปจาก “รู้ว่าอะไร” ไปสู่ “รู้ว่าอย่างไร” ความรู้ต้องมีความหมายส่วนบุคคลสำหรับผู้เรียน
การพัฒนาความเชี่ยวชาญมีทั้งข้อดีข้อเสีย
ความเชี่ยวชาญแคบ ๆ อาจก่อให้เกิดข้อจำกัดด้านความคิดสร้างสรรค์ ในขณะที่ความเชี่ยวชาญแบบสร้างสรรค์และก้าวหน้า ต้องอาศัยการเชื่อมโยงสาขาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และรวมพลังของผู้เชี่ยวชาญจากทั้งสายศิลป์และสายวิทย์ เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญแบบเครือข่าย
Reference: Phenomenal learning from Finland
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
จิตวิทยาการศึกษา
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย