1 พ.ค. 2021 เวลา 05:27 • ประวัติศาสตร์
#17 The Brain Club : History จุดกำเนิดปืนต่อต้านอากาศยานตัวแรกในประวัติศาสตร์
ในอดีต มีการใช้บอลลูนสำหรับเดินทางครั้งแรกในปี 1783 ก่อนที่กองทัพอากาศฝรั่งเศสใช้บอลลูนในการลาดตระเวนในยุทธการเฟอรัส ( Battle of Fleurus ) ของการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1794 ซึ่งถือเป็นการนำบอลลูนมาใช้ในงานทางทหารครั้งแรก
ในอีกราวๆ 100 ปีต่อมาในช่วงสงครามฝรั่งเศส-รัสเซีย ทางรัสเซียได้เข้าปิดล้อมกรุงปารีสสำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 1870 ทางฝรั่งเศสจึงนำทีเด็ด โดยการนำบอลลูนกลับมาโลดแล่นบนน่านฟ้าเพื่อใช้สังเกตการณ์ทางทหารอีกครั้ง ซึ่งกลายเป็นจุดกำเนิดของอาวุธชิ้นใหม่ในหน้าประวัติศาสตร์สงคราม
เพียง 4 วันหลังถูกรัสเซียปิดล้อม ฝรั่งเศสได้ปล่อยบอลลูน Neptune บินออกจากเมือง เพื่อเดินทางไกล 52 ไมล์ บรรทุกกองจดหมาย และนักบินไปส่งที่คราคอนวิลล์ (Craconville)
การเดินทางครั้งนั้นสำเร็จไปได้ด้วยดี ฝรั่งเศสจึงหันมาใช้บอลลูนสำหรับเดินทางเป็นหลัก เพื่อใช้อพยพชาวบ้านออกจากเมือง และใช้ติดต่อสื่อสารกับกองทัพที่ประจำการในเขตชนบท และได้มีการจัดตั้งโรงงานผลิต และโรงซ่อมบอลลูนจำนวนสองแห่งในสถานีรถไฟปารีส
ในบันทึกระบุว่าในระหว่างการปิดล้อม มีเที่ยวบินบอลลูนจำนวน 66 เที่ยว ปฏิบัติการบรรทุกผู้โดยสารรวม ทั้งสิ้น 164 คน และกองจดหมายอีกราวๆ 2.5 ล้านฉบับ
แน่นอนว่าทางฝั่งรัสเซียก็คงไม่ได้นั้งชิวๆ ปล่อยให้ศัตรูเดินทางเข้าออกกรุงปารีสได้อย่างอิสระ และเพื่อตอบโต้บอลลูนของฝรั่งเศส เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ทางรัสเซีย นำโดยอัลเฟรด ครัปป์ ( Alfred Krupp ) นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ผู้ผลิต และผู้จัดหาอาวุธสงครามตัวพ่อรายใหญ่ที่สุดในยุคนั้นต้องเข้ามาจัดการเรื่องนี้
อัลเฟรดได้เริ่มพัฒนาอาวุธปืนตัวใหม่ ที่มีชื่อว่า " ปืนป้องกันบอลลูน ( Ballon Kanone) " ปืนใหญ่ขนาด 37 มม. สำหรับโจมตีบอลลูน ซึ่งถือเป็นปืนต่อสู้อากาศยานตัวแรกในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้
ตัวปืนจะมีสต็อกคล้ายกับปืนไรเฟิล และมีสายตาพับติดกับตัวรับ ถูกติดตั้งไว้ที่บนรถเพื่อให้สามารถย้ายตำแหน่งยุทธศาสตร์ได้สะดวก สามารถใช้เปิดฉากยิงได้ทันทีเมื่อบอลลูนฝรั่งเศสบินข้ามแนวมายังแนวล้อมของรัสเซีย
ไม่ทราบแน่ชัดว่าเจ้า Ballon Kanone ทำงานได้ดีมากน้อยแค่ไหน แต่มีบันทึกว่าบอลลูนฝรั่งเศส 5 เที่ยวถูกต้อนจนมุม โดยมี 2 เที่ยวถูกบังคับให้จอดลงภาคพื้น ส่วนอีกสามลำคาดว่าถูกยิงทำลายไป
ในวันที่ 7 ตุลาคม 1870 ลอง กัมเบตตา ( Leon Gambetta ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของฝรั่งเศสเดินทางออกจากปารีสด้วยบอลลูน " Armand-Barbès " เพื่อเข้าร่วมชุมนุมทางทหาร พร้อมกับบอลลูน " Tours " ซึ่งเป็นบอลลูนเที่ยวรอบสุดท้ายที่ได้บินออกจากปารีส ก่อนที่ในอีก 21 วันต่อมาจะเป็นวันสงบศึก
Ballon Kanone ได้หายไปตามกาลเวลา เนื่องจากเทคโนโลยีต่อต้านอากาศยานในยุคต่อมาได้พัฒนาให้น่ากลัวมากขึ้น และถูกเดบิวต์จริงจังในสงครามโลกครั้งที่ 1 ( World War 1)
ปัจจุบันตัวมี Ballon Kanone จำนวน 2 เครื่อง ถูกเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทหาร ( Museum of Military History ) ในเมืองเดรสเดรน และอีกเครื่องที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เยอรมัน ( German Historical ) ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน
เรียบเรียงโดย : สโมสรสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา