9 พ.ค. 2021 เวลา 14:50 • ประวัติศาสตร์
[Part 1] สงครามยมคิปปูร์
อิสราเอลเป็นฝ่ายที่ชนะในสงคราม Yom Kippur จริงๆ หรอ?
บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในสงคราม
• ผู้นำของประเทศ
- Anwar El-Sadat ประธานาธิบดีอียิปต์
- Golda Meir ประธานาธิบดีอิสราเอล
- Hafez Assad ประธานาธิบดีซีเรีย
- Richard Nixon ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
- King Hussein bin Talal กษัตริย์จอร์แดน
• เจ้าหน้าที่ของกองทัพ
- Ashraf Marwan สายลับของอิสราเอล
- Henry Kissinger รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ
- Moshe Dayan ผู้บัญชาการเหล่าทัพอิสราเอล
- Aharon Yariv ทหารยศพลตรีของอิสราเอล
- Mohamed El-Gamasy ทหารยศพลตรีของอียิปต์
‘ยมคิปปูร์’
ยมคิปปูร์ คือวันสำคัญทางศาสนาที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวยิว เป็นช่วงเวลา 10 วันที่ประชาชนในประเทศอิสราเอลใช้เวลาเกือบทั้งวันในโบสถ์ของชาวยิว (Synagogue)
ตรงกับวันรามาฏาน (Ramadan) ของศาสนาอิสลามในปีที่เกิดสงครามยมคิปปูร์
1967, สงครามหกวันสิ้นสุดลง
หลังจากที่อิสราเอลได้รับชัยชนะในสงครามหกวัน อิสราเอลได้เข้ายึดครองพื้นที่ตรงคาบสมุทรไซนาย ที่ราบสูงโกลัน ฉนวนกาซ่า และเวสต์แบงค์
ทำให้ความบาดหมางกับชาติอาหรับรอบๆ นั้นหนักขึ้นกว่าเดิม และพร้อมที่จะเริ่มสงครามครั้งใหม่กับอิสราเอลทันที
1 กันยา 1967
‘Khartoum Resolution’
คือการหารือกันระหว่างผู้นำของประเทศอาหรับหลังจากที่พ่ายแพ้ในสงครามหกวัน ทำให้สูญเสียดินแดนบางส่วนไป
ผลลัพธ์คือได้วิธีที่จะใช้แก้ปัญหาที่เรียกว่า ‘3 Noes’ ได้แก่
1
• No peace with Israel. (ไม่ทำข้อตกลงเพื่อยุติสงคราม)
• No recognition of Israel. (ไม่ยอมรับการมีอยู่ของประเทศอิสราเอล)
• No negotiations with Israel. (ไม่เจรจาใดๆ ทั้งสิ้น)
2
1969-1970
2
Anwar Sadat ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของอียิปต์อย่างเป็นทางการ
'War of Attrition'
อียิปต์อยากได้พื้นที่คาบสมุทรไซนายคืน จึงเปลี่ยนรูปแบบการโจมตีเป็นการใช้ความกดดันแทนการโจมตีแบบเต็มรูปแบบ โดยใช้การโจมตีแบบเบาๆ ที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายมากบริเวณคลองสุเอซ เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามครั้งใหม่
1971, ทั้งสองฝ่ายหยุดโจมตี
ผลลัพธ์นั้นไม่เป็นที่แน่นอนเนื่องจากทั้งสองฝ่ายได้ประกาศชัยชนะกันทั้งคู่
สะพานข้ามคลองสุเอซที่ถูกสร้างขึ้นโดยทหารของอิสราเอล
ช่วงก่อนที่จะเกิดสงครามนั้นเป็นช่วงที่สงครามเย็นระหว่างรัสเซียและอเมริกากำลังตึงเครียดจากความเสี่ยงในการเกิดสงครามนิวเคลียร์ สงครามเย็นได้แพร่ขยายไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง รัสเซียสนับสนุนชาติอาหรับ ส่วนอเมริกาสนับสนุนอิสราเอล
ในช่วงนั้นมีหลายเหตุการณ์ที่เป็นเหมือนสัญญาณเตือนว่าสงครามกำลังจะเกิดขึ้น แต่เนื่องจากอิสราเอลประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการเอาชนะชาติอาหรับจากสงครามครั้งก่อน จึงไม่คิดว่าจะมีสงครามเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้
Moshe Dayan ออกมาพูดว่าชาติอาหรับนั้นคงไม่กล้าที่จะเริ่มสงครามครั้งใหม่ให้ประเทศตัวเองขายหน้าหรอก
'SADAT CRY WOLF'
หลังจากที่อดีตประธานาธิบดีของอียิปต์ Gamal Abdel Nasser เสียชีวิตลง Sadat ได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีของอียิปต์
ทันทีที่ได้รับตำแหน่งเขาได้แสดงออกถึงบทบาทในการต่อต้านอิสราเอลเป็นอย่างมาก เพราะเขาต้องการกอบกู้ศักดิ์ศรีและเกียรติยศให้กับประเทศตัวเอง และพันธมิตรชาติอาหรับ
1
1971-1972
Sadat ขู่ว่าจะทำสงครามครั้งใหม่เพื่อโจมตีอิสราเอลอยู่เสมอ แต่ก็ไม่ได้มีสงครามเกิดขึ้นจริงในตอนนั้น จึงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการกระทำของเขาว่า “Sadat Cry Wolf”
Cry Wolf เป็นสำนวนภาษาอังกฤษที่หมายความว่า การขอความช่วยเหลือหลายๆ ครั้งในตอนที่ไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ พอถึงเวลาที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ กลับไม่ได้รับ
1
ถ้าหากว่า Sadat นั้นกอบกู้ศักดิ์ศรีให้ประเทศตัวเองได้สำเร็จอย่างที่เขาต้องการ หลังจากนั้นเขาอาจจะพิจารณาถึงการทำข้อตกลงยุติสงครามกับอิสราเอลก็เป็นได้
แต่ในทางกลับกัน Hafez Assad ประธานาธิบดีของซีเรียนั้นไม่คิดที่จะทำข้อตกลงยุติสงครามใดๆ กับอิสราเอลเลย และชัดเจนต่อจุดยืนของตัวเองมาก ‘Wipe it off the map.’
25 กันยายน 1973
'10 วันก่อนที่จะเกิดสงคราม'
King Hussein ได้บินมาจากจอร์แดนอย่างลับๆ เพื่อมาเข้าพบ Golda ที่สำนักงานใหญ่ของมอสซาด (Mossad) ในกรุงเทลอาวีฟ (Tel’ Aviv)
จุดประสงค์ของการมาอิสราเอลครั้งนี้คือเพื่อมาเตือน Golda และแจ้งให้รู้ว่าอิสราเอลจะโดนโจมตีเร็วๆ นี้ ดูเหมือนว่า King Hussein นั้นหักหลังชาติอาหรับเพื่อมาบอกข้อมูลให้อิสราเอลได้เตรียมตัวเหมือนกับเป็นพันธมิตรของอิสราเอล
แต่จริงๆ แล้วที่เขามาเตือนเพราะคิดว่าอิสราเอลจะได้ถือโอกาสโจมตีก่อนเหมือนในสงครามหกวัน เขาต้องการให้อิสราเอลชนะอีกครั้งเพื่อเป็นการจบสงครามตั้งแต่ตอนที่ยังไม่เริ่ม จอร์แดนจะได้ไม่ต้องเข้าร่วมในสงครามครั้งนี้เพราะเขากลัวว่าจะแพ้แล้วต้องอับอายเหมือนสงครามครั้งที่แล้วอีก
1
แต่ผลก็ไม่เป็นอย่างที่เขาคิดเพราะว่า Golda เลือกที่จะไม่เป็นฝ่ายโจมตีก่อน เพราะกลัวว่าองค์กรนานาชาติต่างๆ จะมองอิสราเอลว่าเป็นประเทศที่ชอบข่มเหงและใช้ความรุนแรง และได้รับคำแนะนำจากอเมริกาว่าไม่ควรที่จะเป็นฝ่ายโจมตีก่อน
แต่ King Hussein 'ไม่ใช่คนเดียว' ที่เตือน Golda เรื่องสงคราม
1
จากข้อมูลของ King Hussein กษัตริย์ของจอร์แดน ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีน้ำหนักและความน่าเชื่อถือมากแต่ Golda ก็ยังเพิกเฉย
'Ashraf Marwan' คืออีกคนที่เตือนอิสราเอลเรื่องสงคราม เขาเป็นลูกเขยของ Nasser ประธานาธิบดีคนเก่าของอียิปต์ แต่ทำงานเป็นสายลับให้กับอิสราเอล และเป็นสายลับที่มีบทบาทสำคัญมากๆในสงครามครั้งนี้
นี่เป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากๆ ว่าสงครามกำลังจะเกิดขึ้นจริงๆ แต่ Golda ก็ยังยืนยันคำตอบเดิมว่าจะไม่โจมตีก่อน และไม่มีคำสั่งเคลื่อนย้ายกองกำลังทหารไปประจำตามจุดสำคัญเลย โดยให้เหตุผลว่าอิสราเอลเป็นประเทศที่ขนาดเล็กมาก มีประชากรเพียง 3 ล้านคน การกระทำแบบนั้นอาจจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจก็ได้
Nasser กับลูกเขย Ashraf Marwan (ทำงานเป็นสายลับให้อิสราเอล)
5 ตุลาคม 1973
'1 วันก่อนเริ่มสงคราม'
เป็นที่แน่ชัดว่าอียิปต์จะโจมตีอิสราเอลแน่นอนแต่ Golda ก็ยังไม่ออกคำสั่งให้มีการโจมตีแบบเต็มรูปแบบซักที โดยสั่งแค่กองกำลังทหารบางส่วนให้ไปประจำในบางพื้นที่
2:00 น. - 6 ตุลาคม 1973
‘สงครามเริ่ม’
อียิปต์ได้ทำการโจมตีทางอากาศโดยการทิ้งระเบิดใส่โบสถ์ของชาวยิวในขณะที่พิธีกรรมทางศาสนากำลังดำเนินอยู่
การที่อียิปต์เลือกโจมตีในช่วงของยมคิปปูร์นั้น ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ฉลาดมาก เนื่องจาก IDF นั้นไม่สามารถใช้วิทยุหรือโทรศัพท์ในการสื่อสารเพื่อเรียกกองกำลังหนุนได้
อีกทั้งยังง่ายต่อการเลือกเป้าหมายและตำแหน่งในการทิ้งระเบิด เพราะประชาชนส่วนมากจะรวมตัวกันอยู่ในโบสถ์ทั้งวัน ถนนก็โล่งทำให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายของกองกำลังทหาร
กองกำลังทหารอียิปต์จำนวน 70,000 คน และรถถังมากกว่า 2000 คันได้ข้ามคลองสุเอซมาประชันหน้ากับทหารอิสราเอลตรงแนวป้องกัน 'Bar-lev line' ซึ่งเป็นแนวป้องกันที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะถูกใช้ในสงครามหกวันและได้ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจมาก จากข้อมูลที่บอกว่าสามารถรับมือกับการโจมตีหนักๆ โดยตรงได้นาน 24 - 48 ชั่วโมง
แต่ในสงครามหกวันอียิปต์ไม่ได้มีอาวุธที่สนับสนุนโดยรัสเซียอย่างตอนนี้ แนวป้องกันนี้จึงถูกทำลายได้ภายในเวลาแค่ 2 ชั่วโมง
แนวป้องกัน Bar-lev line
จากการช่วยเหลือทางด้านอาวุธของรัสเซียทำให้ เครื่องบินรบของ IAF (Israeli Air Force) นั้นเกือบจะไร้ค่าไปเลย
อียิปต์พอใจกับผลลัพธ์ของการโจมตีครั้งนี้มากๆ กองกำลังของอียิปต์รู้สึกมีกำลังใจอย่างท่วมท้น โดยมีจำนวนของทหารมากกว่าอิสราเอลถึง 6 เท่า และมีจำนวนของรถถังมากกว่า 2000 คัน ในขณะที่อิสราเอลมีแค่ 268 คันเท่านั้น
ทางตอนเหนือตรงที่ราบสูงโกลัน มีรถถังของอิสราเอลอยู่แค่ 177 คัน ได้ถูกโจมตีอย่างหนักหน่วงจากซีเรีย ที่ส่งทหารมาทั้งหมด 40,000 คน พร้อมกับรถถังอีก 1500 คัน ข่าวแพร่กระจายออกไปว่าอียิปต์และซีเรียประสบความสำเร็จในการโจมตีครั้งนี้ ชาติอาหรับรอบๆ นั้นก็ไม่พลาดที่จะเข้ามามีส่วนร่วม
อิรักได้ส่งทหารมาจำนวน 14,000 คน เลบานอนยิงขีปนาวุธทางอากาศใส่อิสราเอล จอร์แดนที่เคยบินมาเตือนอิสราเอลก็ได้ส่งกองกำลังแบบเล็กๆ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนมองว่าทรยศชาติอาหรับ
1
ในตอนเย็นของวันนั้น Golda และ Moshe Dayan ได้ปรึกษาเรื่องแผนและกลยุทธ์ว่าจะเอาอย่างไรต่อดี
Moshe Dayan ผู้ที่เคยรับหน้าที่สำคัญในการเป็นผู้นำของกองทัพตอนสงครามหกวัน ซึ่งเขาได้แสดงออกถึงการเป็นผู้นำที่แข็งแกร่งมากๆ แต่ในครั้งนี้กลับแนะนำให้ Golda พิจารณาเรื่องการยอมแพ้ โดยกล่าวถึงทฤษฎีที่เกี่ยวกับจุดจบของชาวยิว
Golda รับรู้ได้ถึงความตื่นตระหนกของ Dayan จึงปฏิเสธที่จะให้เขาพูดผ่านวิทยุกระจายเสียง เพราะไม่อยากให้ประชาชนหวาดกลัวและตื่นตระหนกกันกว่าเดิม
1
Golda นั้นเครียดและกดดันมากๆ ที่เธอรอให้อีกฝ่ายโจมตีก่อน จนทำให้คนในประเทศต้องพบเจอกับความหายนะที่ร้ายแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของอิสราเอล และไม่มีอะไรที่สามารถการันตีได้ว่าอิสราเอลจะเอาตัวรอดจากสงครามครั้งนี้ได้หรือไม่
"เพราะการแพ้สงครามของอิสราเอลนั้นไม่ใช่แค่การแพ้สงครามเฉยๆ แต่หมายถึงจุดจบในการดำรงอยู่ของประเทศ"
ประธานาธิบดี Golda และ Moshe Dayan ที่ราบสูงโกลัน
'Timeline แบบคร่าวๆ'
ลำดับเหตุการณ์แบบสรุป
อิสราเอลพลิกเกมยังไงให้กลายเป็นฝ่ายที่ชนะรออ่าน Part II ต่อนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา