13 พ.ค. 2021 เวลา 17:24 • ประวัติศาสตร์
[Part 2] สงครามยมคิปปูร์
‘สงครามความขัดแย้งเมื่อ 48 ปีที่แล้ว เกี่ยวข้องอะไรกับเหตุการณ์ความรุนแรงล่าสุดระหว่างอิสราเอล - ปาเลสไตน์’
** สำหรับคนที่อยากรู้ว่าเกี่ยวข้องอะไรกับเหตุการณ์ล่าสุด ให้ข้ามไปอ่านพาร์ทหลังจากที่สงครามสิ้นสุดแล้วได้เลยนะครับ หัวข้ออินติฟาดา**
3 วันแรกของสงครามเป็นเหมือนฝันร้ายและการสูญเสียครั้งใหญ่ของอิสราเอลจากการที่ถูกชาติอาหรับโจมตีแบบไม่ทันได้ตั้งตัว อียิปต์ได้เคลื่อนกองกำลังเข้ามาในพื้นที่คาบสมุทรไซนาย ซีเรียได้เปรียบและเข้ายึดพื้นที่ในส่วนของที่ราบสูงโกลัน
จากสถานการณ์ที่ตึงเครียดทำให้ Golda เข้าหาประเทศ frenemy อย่างจอร์แดน เพราะก่อนหน้านี้ King Hussein ได้บินมาเตือนเรื่องสงครามอย่างลับๆ เพราะอยากให้อิสราเอลเป็นฝ่ายเปิดฉากโจมตีก่อนและเป็นฝ่ายที่ชนะเหมือนในสงคราม 6 วัน จอร์แดนจะได้ไม่ต้องเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ให้ขายหน้าถ้าหากเป็นฝ่ายที่แพ้สงคราม
แต่ King Hussein ก็ไม่สามารถทำอะไรเพื่อช่วยอิสราเอลได้มาก เพราะชาติอาหรับจะมองว่าจอร์แดนหักหลัง ทั้งสองจึงทำข้อตกลงกันอย่างลับๆว่าจอร์แดนจะไม่มีส่วนร่วมในการโจมตีอิสราเอลมากนัก ชาติอาหรับจะได้ไม่มองว่าจอร์แดนหักหลัง และไม่เป็นการสร้างความบาดหมางกับอิสราเอล
2
8 ตุลาคม 1973
อิสราเอลส่งกองกำลังแบบเต็มรูปแบบครั้งแรกเพื่อไปสู้กับอียิปต์ที่คาบสมุทรไซนาย ผลคืออิสราเอลแพ้ถ้านับตามจำนวนทหารที่เสียชีวิต แต่สามารถทำลายสะพานข้ามคลองสุเอซได้สำเร็จ เพื่อไม่ให้ทหารของอียิปต์นั้นข้ามฝั่งมาได้
ทหารอิสราเอลกำลังมุ่งหน้าไปกรุงดามัสกัส
9 ตุลาคม 1973
หลังจากที่ถูกซีเรียโจมตีอย่างต่อเนื่องตรงที่ราบสูงโกลัน Israeli Air Force ได้โจมตีทางอากาศใส่กระทรวงกลาโหมของซีเรีย และกระทรวงอื่นๆตามเป้าหมายในกรุงดามัสกัส
ประธานาธิบดี Nixon และ Kissinger รู้ว่าอิสราเอลเตรียมพร้อมสำหรับการใช้ ‘อาวุธนิวเคลียร์’ แล้วซึ่งความเสี่ยงในการเกิดสงครามนิวเคลียร์ของอเมริกากับรัสเซียนั้นสูงตลอดเวลาอยู่แล้ว และไม่อยากที่จะเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 3 ในตะวันออกกลาง
อียิปต์และซีเรียได้รับอาวุธสนับสนุนเพิ่มจากรัสเซีย ในที่สุดอิสราเอลจึงตัดสินใจขอความช่วยเหลือจากประเทศพันธมิตรมหาอำนาจอย่าง ‘อเมริกา’
• ทำไมอเมริกาไม่ยื่นมือเข้ามาช่วยอิสราเอลตั้งแต่ตอนแรก?
Kissinger รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้วางแผนออกมาตอนแรกว่า 'การที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดคือให้อิสราเอลฉายเดี่ยวไปก่อน ได้รับความเสียหายบ้างนิดหน่อย ให้ดูเหมือนว่าอเมริกาไม่ได้เข้ามายุ่งกับสงครามครั้งนี้เลย' เพราะเขาคิดว่าอิสราเอลน่าจะรับมือกับสงครามครั้งนี้ได้เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา และไม่เป็นการกระตุ้นรัสเซียให้ส่งอาวุธสนับสนุนชาติอาหรับเพิ่ม
อเมริกาคิดว่าอาจจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายยุติสงครามและทำการสงบศึกได้ เพื่อที่จะได้ทั้งสองฝ่ายมาเป็นพันธมิตรในตะวันออกกลางเหมือน ‘ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว’ แต่จากการที่รัสเซียได้ส่งอาวุธสนับสนุนให้ชาติอาหรับอย่างต่อเนื่อง ทำให้อเมริกาต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบ
เพราะอิสราเอลคือกุญแจสำคัญที่ทำให้อเมริกาไม่ต้องเสียผลประโยชน์ในตะวันออกกลางให้กับรัสเซียเพียงผู้เดียว จึงไม่สามารถปล่อยให้อิสราเอลนั้นแพ้สงครามได้
1
10 ตุลาคม 1973
‘Operation Nickel Grass’
Nixon ได้อนุมัติปฏิบัติการที่ชื่อว่า Operation Nickel Grass เพื่อที่จะส่งอาวุธสงครามเพื่อสนับสนุนอิสราเอล หลังจากนั้นพอชาติอาหรับทราบเรื่องก็ออกมาขู่ประเทศในยุโรปและทุกๆประเทศที่ให้อเมริกาบินผ่านน่านฟ้าหรือให้แวะลงจอดพักเพื่อเติมเชื้อเพลิง จะหยุดขายน้ำมันให้กับประเทศนั้นทันที มีแค่ ‘โปรตุเกสประเทศเดียว’ ที่อเมริกาสามารถลงจอดได้
ปฏิบัติการ Nickel Grass
11 ตุลาคม 1973
อิสราเอลสามารถป้องกันที่ราบสูงโกลันไว้ได้สำเร็จ และเดินหน้าโจมตีกลับใส่ซีเรีย ภายในเย็นของวันนั้นอิสราเอลสามารถบุกเข้าไปโจมตีและควบคุมพื้นที่ในซีเรียได้ โดยกองกำลังของอิสราเอลนั้นห่างจากกรุงดามัสกัสเพียง 38 กิโลเมตรเท่านั้น
12 ตุลาคม 1973
อาวุธสนับสนุนรอบแรกของอเมริกามาถึงอิสราเอล ทำให้อิสราเอลได้เปรียบมากกว่าเดิมและโจมตีทำให้ซีเรียต้องถอยกองกำลังกลับ
14 ตุลาคม 1973
อาวุธล็อตใหญ่แบบเต็มรูปแบบของอเมริกาเดินทางมาถึงอิสราเอล ทำให้อิสราเอลโจมตีกลับได้อย่างเต็มรูปแบบ กองกำลังของอียิปต์นั้นถูกโจมตีอย่างหนักที่คาบสมุทรไซนาย เช่นเดียวกับซีเรียตรงที่ราบสูงโกลัน
ภายในเย็นวันนั้นอิสราเอลสามารถเข้ายึดพื้นของคาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลันได้สำเร็จ
ซ้าย: Moshe Dayan ขวา: Aerial Sharon
22 ตุลาคม 1973 (สองสัปดาห์หลังจากสงครามเริ่ม)
อิสราเอลได้เข้ายึด Mount Hermon ทางตอนเหนือคืนได้สำเร็จ และเดินหน้าโจมตีซีเรียกลับอย่างต่อเนื่อง จนกองกำลังอิสราเอลได้บุกเข้าไปจนห่างจากกรุงดามัสกัสเพียงแค่ 25 กิโลเมตรเท่านั้น รัสเซียเห็นว่าสถานการณ์น่าเป็นห่วงจึงส่งอาวุธสนับสนุนให้กับซีเรีย เพื่อป้องกันไม่ให้อิสราเอลบุกไปถึงกรุงดามัสกัสได้
Kissinger พอรู้ว่ารัสเซียส่งอาวุธไปสนับสนุนซีเรียเพิ่มก็ได้ออกมาเตือนรัสเซียว่า 'ถ้ารัสเซียยังไม่เลิกส่งอาวุธสนับสนุนไปช่วยชาติอาหรับ อเมริกาก็จะส่งอาวุธสนับสนุนเพิ่มให้อิสราเอลเหมือนกัน' ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์ระหว่างอเมริกาและรัสเซียนั้นสูงที่สุดตั้งแต่วิกฤติการณ์ขีปนาวุธคิวบาเมื่อปี 1962
ในเย็นของวั้นนั้น UN มีมติสั่งให้หยุดยิงเป็นครั้งแรก แต่การปะทะกันของทั้งสองฝ่ายยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากไม่มีฝ่ายไหนที่ยอมถอยทัพก่อน
25 ตุลาคม 1973
รัสเซียยอมวางมือและได้ตกลงกับอเมริกาว่า 'หากรัสเซียตกลงที่จะยุติสงคราม อิสราเอลต้องหยุดโจมตีกองกำลังของอียิปต์' เพื่อที่ Sadat จะได้ไม่ขายหน้าว่าอียิปต์นั้นถูกโจมตีจนแพ้
ที่ Sadat เปิดฉากโจมตีอิสราเอลในสงครามครั้งนี้ก็เพื่อที่จะกอบกู้เกียรติยศและศักดิ์ศรีคืนให้กับอียิปต์และชาติอาหรับ ถ้าหากว่าอิสราเอลโจมตีต่อแล้ว Sadat รู้สึกว่าเขาไม่สามารถกอบกู้เกียรติยศคืนได้สำเร็จ เขาอาจจะไม่ยอมทำข้อตกลงสันติภาพกับอิสราเอลหลังจากจบสงคราม
อิสราเอลและอียิปต์ยอมรับข้อตกลงหยุดยิงของ UN ซีเรียนั้นไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงนี้จึงไม่ยอมยุติสงคราม แต่เนื่องจากความกดดันของรัสเซียเลยทำให้ซีเรียต้องหยุดยิงและยุติสงครามในที่สุด
บันทึกบทสนทนาในการเจรจาหาสันติตะวันออกกลาง 1974
‘สงครามยุติลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ตุลาคม 1973’
• ข้อสรุปของสงคราม
‘อิสราเอลเป็นฝ่ายที่ชนะ’ ถ้าวัดจากจำนวนทหารเสียชีวิตที่น้อยกว่า
- ทหารจากชาติอาหรับเสียชีวิตมากกว่า 8000 คน บาดเจ็บ 19000 คน (บางแหล่งข้อมูลมีการประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 16,000 คน และบาดเจ็บอีก 38,000 คน)
- อิสราเอลมีทหารเสียชีวิต 2656 คน บาดเจ็บ 7250 คน (มากกว่าสงครามหกวันถึง 3 เท่า)
'ในทางกลับกันอียิปต์ได้บรรลุเป้าหมายหลายอย่างตามที่ตั้งไว้'
- อียิปต์ประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ในการโจมตีอิสราเอล เพราะอิสราเอลต้องไปขอให้อเมริกามาช่วยต่อชีวิตให้ และไม่รู้สึกขายหน้าจากการแพ้สงครามในปี 1967 อีกต่อไป
- Sadat ได้พิสูจน์ให้โลกเห็นว่าเขาสามารถเอาชนะ IDF กองกำลังทหารที่ทั่วโลกมองว่าเป็นกอง ‘กำลังที่ไม่อาจเอาชนะ’ ได้
- ฝั่งของอิสราเอลนั้นกลับไม่รู้สึกถึงชัยชนะเลยเนื่องจากเป็นสงครามที่สูญเสียมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของอิสราเอล แถมยังต้องทำเรื่องส่งคืนดินแดนตรงคาบสมุทรไซนายให้อียิปต์อีก
• เกิดอะไรขึ้นบ้างหลังสงครามสิ้นสุด
อิสราเอลตระหนักได้ว่า ‘อเมริกานั้นคือพันธมิตรที่สำคัญและดีที่สุด’ เพราะอเมริกาเป็นประเทศเดียวที่ยื่นมือเข้ามาช่วยอิสราเอลในยามที่ต้องการมากที่สุด
Golda และ Moshe Dayan ถูกโจมตีอย่างหนักเพราะไม่เตรียมพร้อมรับมือก่อนที่สงครามจะเกิด ทั้งๆที่ได้รับข้อมูลจาก King Hussein และ Ashraf Marwan สายลับที่ดีที่สุดคนหนึ่งของอิสราเอล
ชาวอิสราเอลจำนวนมากไม่ได้มอง Golda ว่าเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง Motti Ashkenazi กัปตันของ IDF ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เธออย่างหนัก และได้ถือป้ายประท้วงที่หน้าบ้านของเธอโดยมีข้อความว่า
3
“ยัยแก่! รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของเธอคือความล้มเหลว และลูกหลานของเธอต้องตายไป 3000 กว่าคน”
เมษายน 1974 - Golda ประกาศว่าขอลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี
17 กันยายน 1978 - Camp David Accords
เป็นการทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างอิสราเอลและอียิปต์เพื่อเป็นการยุติสงครามที่มีมาอย่างยาวนาน แลกกับการที่อิสราเอลต้องคืนคาบสมุทรไซนายให้กับอียิปต์ สนธิสัญญาฉบับนี้เป็น ‘การทำข้อตกลงครั้งแรกระหว่างอิสราเอลกับชาติอาหรับ’
1
1979
ซีเรียโทษอียิปต์ว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้แพ้สงครามเนื่องจากยอมรับข้อตกลงหยุดยิง และหลังจากจบสงครามมีแค่อียิปต์ที่ได้ดินแดนตรงคาบสมุทรไซนายคืน ส่วนอิสราเอลนั้นยังคงควบคุมพื้นที่ในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่าไว้ได้อยู่ เท่ากับว่าอียิปต์คือผู้ที่ได้ประโยชน์เพียงประเทศเดียว
ซีเรียและชาติอาหรับที่เหลือจึงร่วมลงคะแนนกันเพื่อขับไล่อียิปต์ออกจากพันธมิตรชาติอาหรับ
1987 - อินติฟาดาครั้งแรก
หลังจากที่อียิปต์และอิสราเอลได้ทำข้อตกลงยุติสงครามกันแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างจอร์แดนก็ดีขึ้นไปด้วย ถึงแม้ว่า Camp David Accords จะช่วยให้อิสราเอลดีกับอียิปต์และจอร์แดนได้ แต่พื้นที่ในเขตเวสต์แบงก์ และฉนวนกาซ่ายังคงตกอยู่ภายใต้การปกครองของอิสราเอลอยู่ ทำให้ชาวปาเลสไตน์ที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่นั้นรวมตัวกันออกมาประท้วงและต่อต้านการกระทำของอิสราเอลที่เรียกว่า ‘The 1st Intifada’ หรือ ‘อินติฟาดาครั้งแรก’
2000 - อินติฟาดาครั้งที่ 2
‘The 2nd Intifada’ หรือ ‘อินติฟาดาครั้งที่ 2’ เกิดขึ้นจากการที่ชาวปาเลสไตน์รู้สึกว่าถูกกดขี่ข่มเหงจากอิสราเอลในการยึดเวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่าอย่างต่อเนื่อง และได้มีการควบคุมพื้นที่ตรงมัสยิด Al-Aqsa ที่พึ่งมีข่าวปะทะกันระหว่างตำรวจชาวอิสราเอลกับกลุ่มผู้ประท้วงชาวปาเลสไตน์
2002
อิสราเอลสร้างแนวกั้นที่เรียกว่า ‘West Bank Barrier’ รอบแนวเขตเวสต์แบงก์เป็นการตอบโต้กลุ่มผู้ประท้วงชาวปาเลสไตน์ อินติฟาดาครั้งที่ 2 จบลงในปี 2005
ซึ่งสถานการณ์ในอิสราเอลและฉนวนกาซ่าตอนนี้ก็ยังคงเพิ่มความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง หรือว่าครั้งนี้อาจจะเป็น ‘อินติฟาดาครั้งที่ 3’ หรือเปล่า?

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา