Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แม่มณีมีเรื่องเล่า
•
ติดตาม
18 พ.ค. 2021 เวลา 10:33 • ศิลปะ & ออกแบบ
คงมีใครหลายคนที่พอพูดถึง "แหวนกล" อาจจะงงๆหรือไม่เคยได้ยินมาก่อน...
แล้วเคยเล่นเกม อย่างรูบิค หรือพัชเซิล กันมั้ยคะ เป็นเกมที่ต้องใช้ทั้งทักษะและมันสมองในการพยายามเอาชนะกลไกของเกมให้ได้...
แหวนกลก็เช่นกันค่ะ เป็นเครื่องประดับที่ต้องใช้ทักษะในการประกอบกลไกของแหวนเช่นเดียวกันค่ะ
แหวนกล คือ แหวนที่มีกลไกในตัวเอง โดยแหวน 1 วง จะประกอบด้วย แหวนหลายวงที่คล้องอยู่ด้วยกัน แล้วสามารถประกอบเข้าเป็นวงเดียวกันได้ด้วย
และที่แม่มณีอยากแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักแหวนกลก็เพราะ แหวนกลเป็นเครื่องประดับแห่งปัญญา เป็นงานฝีมือภูมิปัญญาแห่งเมืองจันทบุรีชึ่งในประเทศไทยแหวนกลมีอยู่เฉพาะที่จังหวัดจันทบุรีเพียงแห่งเดียวเท่านั้นค่ะ...
จากตำนานที่เล่ามาว่า ด้วยความที่จันทบุรีเป็นเมืองอัญมณีมาแต่สมัยโบราณ.มีการทำเหมืองพลอย ซื้อขายพลอย ทำเครื่องประดับ จึงมีคนต่างชาติมาว่าจ้างและสอนให้ช่างทองในจันทบุรีหัดทำแหวนกลนี้ขึ้นมา...
แต่เดิม แหวนกลนี้น่าจะมาจากแถบตะวันออกกลางหรือ อาหรับ เรียกกันว่า "Puzzle Ring" หรือ "Turkish Wedding Ring"
เมื่อมีชาวต่างชาติเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มาว่าจ้างและสอนให้ช่างทองในจันทบุรีหัดทำแหวนกลขึ้นมา...และได้ถ่ายทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น แต่ในปัจจุบันจะเหลือเพียงตระกูล "ภูมิภักดิ์" แห่งบ้านแหวนกลเมืองจันท์ เป็นตระกูลเดียวที่สืบทอดการทำแหวนกลมาจนถึงรุ่นที่ 3...
คือช่างหรีด หรีอ ชูเกียรติ เนียมทอง ทายาทรุ่นที่ 3 แห่งบ้านแหวนกล ที่มีประสบการณ์ในการทำมากว่า 30 ปี...
เขาได้เล่าให้ฟังว่า...การทำแหวนกลเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยใจรัก...ไม่จำเป็นต้องเก่ง...เพราะถึงเก่งแต่ใจไม่รัก...สุดท้ายก็ต้องทิ้งงานอยู่ดี...เพราะเป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ระยะเวลาฝึกฝน...เขาเองเริ่มฝึกก้บลุงสายัณห์ที่เป็นน้าเขยมาตั้งแต่ตอนม.1 พร้อมกับลูกพี่ลูกน้องอีกหลายคน...ซึ่งการทำแหวนกลนี้จะสอนแต่เฉพาะคนในครอบครัวหรือเครือญาติเท่านั้น...ไม่สอนคนภายนอก...ต้องฝึกเน้นให้ใช้เครื่องมือทุกประเภทให้เป็น แล้วฝึกทักษะพื้นฐานในการทำแหวน เช่น การตีแหวนเป็นวงเรียบๆ หัดตะไบแหวน ใช้สว่านเจาะรูบนแหวนให้ตรงเป็นแถวไม่เบี้ยวไปมา ทำแบบนี้วนไปวนมาอยู่ถึง 3 ปีเป็นอะไรที่น่าเบื่อมาก..จนครบ 3 ปีเหลือเขาที่ยังฝึกทำแหวนต่อเพียงคนเดียวส่วนลูกพี่ลูกน้องคนอื่นเลิกฝึกกันไป...และหันไปประกอบอาชีพอย่างอื่นกันหมดแล้ว...
เขาก็เริ่มคิด...เราจะพอหรือไปต่อดี...แต่เอาเถอะไหนๆก็มาทางสายนี้แล้วต้องสู้กันสักตั้งล่ะวะ...
พอเข้าปีที่ 4-5 ก็เริ่มได้ช่วยทำแหวนปู แหวนปลา ก็เริ่มรู้สึกสนุกขึ้นเพราะได้ลองทำงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ความเบื่อหน่ายก็หายไป...
แหวนกลรูปปูและรูปปลา
พอถึงปีที่ 10 เขาก็ได้เริ่มทำแหวนกลทั้งวงด้วยตัวเองเป็นวงแรก...แน่นอนเขาตื่นเต้นและลุ้นมากว่าจะทำได้ดีแค่ไหน...ถึงผลออกมามันจะไม่ได้มาตราฐานตามที่ลุงสายัณห์ตั้งไว้...แต่สำหรับเขาแล้วมันก็เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่และน่าจดจำมากแล้วล่ะ😊
แหวนกล
มาตราฐานที่ว่ามันเป็นแบบไหนกัน...มาตราฐานของแหวนกลก็คือ
ต้องมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม...ได้สัดส่วนซ้อนกันได้พอดี...เวลาใส่ก็ต้องใส่ได้พอดี...
อย่างเช่น แหวนกลรูปปลา ลวดลายต้องพอดีกับหน้าแหวน...เวลาแยกแหวนออกจากกันแต่ละวงก็ต้องมีลายบนตัวแหวนไม่ใหญ่หรือเล็กไป...เวลามาซ้อนกันก็ต้องซ้อนกันได้พอดีและสมส่วน...
แหวนกลรูปปลา...ภาพจากบ้านแหวนกล
ซึ่งรายละเอียดนี้คนซื้ออาจจะไม่รู้ แต่คนทำจะรู้ เพราะแหวนกลเป็นงานฝีมือ...ทำทีละวง...ดังนั้นแหวนกลแต่ละวงจะมีความแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละวง...เรียกว่า...มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก...อะไรประมาณนั้นเลยทีเดียว...
แหวนกลของไทยจะแตกต่างจากประเทศอื่นเพราะของไทยจะมีลวดลายสวยงามกว่าประเทศอื่นที่เป็นแบบเรียบๆไม่มีลวดลาย...
แต่เดิมนิยมทำเป็นรูปนักษัตร...รูปปู...รูปปลา...
จุดเปลี่ยนชีวิตในการทำแหวนกลของช่างหรีดก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อลุงสายัณห์เสียชีวิต ในพ.ศ. 2551 ทำให้ไม่มีลูกค้าเข้ามาติดต่อว่าจ้างงานเลย เพราะลุงสายัณห์เป็นคนหาและพูดคุยกับลูกค้าเพียงคนเดียว...พอลุงเสียชีวิต...ก็ไม่มีใครรู้จักช่างหรีดเลย
และเขาเองก็ไม่รู้จักการใช้สื่ออย่างโซเชียลมีเดียมากนัก...ทำให้เขาต้องมาถึงจุดต้องตัดสินใจอีกครั้งนึงว่า...
จะทำต่อหรือพอแค่นี้...แต่เขายังจำถึงคำที่ลุงสายัณห์บอกเขาไว้ก่อนจะเสียชีวิตว่า..."ทำไปเถอะ อาชีพนี้ ยังไงก็ไม่อดตายหรอก"
เขาเลยตัดสินใจลุยต่อ...แต่เขาก็คิดว่าจะทำยังไงให้แหวนกลมันแตกต่างจากคนอื่นและคนอื่นมาทำแบบเราไม่ได้ ก็เลยลองทำแหวนกล เป็นชื่อของคัวเอง
พอลองทำ ถึงมันจะออกมาไม่สวยงามดังใจ...แต่มันก็ให้คำตอบกับเขาได้ว่า...เขาทำได้...ทีนี้เขาก็มาคิดต่อว่าจะทำยังไงให้มันสวยกว่าอันแรกที่ลองทำ...
แหวนกลชื่อวงแรก
ในช่วงที่เขาทำแหวนชื่อวงแรกเสร็จมีงานปล่อยแสงของTCDC พอดี เขาเลยตัดสืนใจนำแหวนไปออกงาน...ผลปรากฎว่า...มีคนสนใจมาสั่งทำแหวนชื่อ-นามสกุลกันต่อๆมาหลายรายโดยเฉพาะคุณพลอย จริยเวช ที่มาสั่งทำแหวนชื่อของเธอเอง
ในตอนแรกเขาคิดจะทำแต่ชื่อภาษาอังกฤษอย่างเดียว เพราะภาษาไทยมันจะทำยาก แต่เมื่อคุณพลอย มาสั่งทำ เขาดูตามบุคลิกและสไตล์ของตัวคุณพลอย และชื่อของคุณพลอยก็สั้น คิดว่าน่าจะทำได้เขาจึงลองทำดู และมันก็ออกมาสวยงามถูกใจ
แหวนกลชื่อพลอย(Ploy)...ภาพจากบ้านแหวนกล
จากจุดนี้เขาก็เกิดแนวคิด...อยากจะลองหาแบบที่ยากทำดูบ้าง เพราะมันทำให้เกิดความท้าทายและทำให้ไม่น่าเบื่อเหมือนงานรูปแบบเดิมๆ
เขาเลยลองทำ แหวนกลรูปทุเรียน เพราะทุเรียนเป็นผลไม้ที่ปลูกมากในจังหวัดจันทบุรี และใครๆก็รู้จัก
ตอนถอดกลไกของแหวนออกมา
ตอนประกอบเสร็จเป็นแหวนรูปทุเรียน
เขาบอกว่า... การที่เราฉีกกฎพลิกแพลงงานจากรูปแบบเดิมๆ จะทำให้เราทำงานได้สนุกขึ้น...และช่วยพัฒนาฝีมือของเราให้ดีขึ้น การทำงานมา 30 ปีไม่ได้แสดงว่าเราเก่ง เราจะต้องฝึกไปเรื่อยๆ ในงานที่ยากขึ้น และตั้งเป้าหมายให้ชิ้นงานออกมาดี...นี่แหล่ะจะเป็นการพัฒนาฝีมือของเราอย่างแท้จริง😊
ภาพจากบ้านแหวนกลจันทบุรี
การเปลี่ยนแปลงคิดรูปแบบงานใหม่ๆ แต่อยู่บนพิ้นฐานเดิม...เพื่อให้งานมีความเฉพาะตัวมากขึ้นกว่าเดิม...จะทำให้เราทำงานต่อไปได้เรื่อยๆ...และรู้สึกไม่เบื่อหน่ายงาน...มองงานว่าเป็นความท้าทาย...มันจะทำให้เราพัฒนาไปอีกขั้น...อย่าไปมองที่เม็ดเงิน...ให้มองในงานที่เราทำ...เราทำเพราะรักมัน...ถ้ารักจริงก็อยู่กันได้นานๆ...เราทำเพราะรักงาน...เดี๋ยวงานก็รักเรากลับ...และค่อยๆตอบแทนเราเอง...ไม่ว่าอาชึพไหนๆ ถ้าเราตั้งใจทำมันให้ดี...มันก็จะเลี้ยงดูและตอบแทนเราได้จริงๆ...
ภาพจากบ้านแหวนกลจันทบุรี
ช่างหรีดบอกว่า เขาอาจจะเป็นช่างทำแหวนกลรุ่นสุดท้ายก็ได้...เพราะตอนนี้จะหาคนที่เห็นคุณค่าและมีใจรักมาสืบสานงานต่อยังไม่มีเลย...เขาไม่อยากให้งานที่เขารักสูญหายไปตามกาลเวลา...เพราะมันเป็นภูมิปัญญาที่น่ารักษาไว้ให้อยู่คู่เมืองจันทบุรีต่อไป...
ฟังแล้วก็รู้สึกใจหายเลยค่ะ...งานดีๆที่น่ารักษาไว้อาจจะต้องสูญหายไปตามกาลเวลาเหมือนที่ช่างหรีดพูดไว้ก็ได้...และอาจจะเหลือไว้แค่ตำนานเล่าขานให้รุ่นลูกรุ่นหลานฟังเท่านั้น😪
แม่มณียังคิดอยู่เลยว่า...จะต้องไปสั่งทำแหวนกลไว้สักวง...เพราะถ้าเกิดไม่มีคนมาต่อยอดงานช่างหรีดในงานทำแหวนกลนี้จริงๆ...อย่างน้อยก็ยังมีแหวนกลเก็บไว้เล่าให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้ฟังและได้ชื่นชมกับภูมิปัญญาของช่างฝีมือเมืองจันทบุรีได้อย่างแน่นอนค่ะ😊
#ขอขอบคุณข้อมูลจาก บ้านแหวนกลจันทบุรี , The Cloud ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข😊
#แม่มณีมีเรื่องเล่า😊มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง#เอาแบบที่สบายใจ😊
1 บันทึก
8
13
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เมืองจันท์ที่ฉันรัก💕
1
8
13
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย