17 พ.ค. 2021 เวลา 00:00 • ไลฟ์สไตล์
วิถีชีวิตในมหานคร "มุมไบ" ตอนที่ 1 ( สลัม Dharavi )
.
.
.
.
.
ต้องบอกเลยว่าระดับชีวิตของคนเรานั้นถูกผูกอยู่กับวัฒนธรรม ความเชื่อ สภาพแวดล้อมทางสังคมและการเมืองแบบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย  แต่ใครล่ะ จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสิ่งเหล่านี้ ..... เราจะมาตีแผ่ผลกระทบทั้งหมดจากสิ่งเหล่านั้นในกรอบของ นครมุมไบ
เกริ่นก่อนเลยว่า นครมุมไบ เป็นเมืองหลวงนึงของประเทศอินเดีย นี่เป็นมหานครที่เป็นเมืองเศรษฐกินที่สำคัญ รวมถึงเป็นทั้งศูนย์กลางของอุตสาหกรรมบันเทิงอย่าง "Bollywood" ที่เรารู้จักกัน ("Bollywood" เป็นอุสาหกรรมภาพยนต์ของอินเดีย ก็ถ้าโลกมี Hollywood อินเดียก็มี "Bollywood" เช่นกัน) กาารผลิตจากอุตสาหกรรมในเมืองคิดเป็น 25% ของทั้งประเทศ รายได้ประชาชนต่อหัวของที่นี่สูงกว่า 3 เท่าของค่าเฉลี่ยจากทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่ตั้งของธนาคารชั้นนำระดับโลกและระดับประเทศ ตลอดการเป็นศูนย์กลางของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ของอินเดียด้วย
วิถีชีวิตเมืองมุมไบ
ด้วยความที่เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมที่ใหญ่ ๆ ทำให้มีแรงงานจากทั่วสารทิศแห่กันมาที่นี่เพื่อหารายได้ ต่างพยุงท้องที่หิวโหยเข้ามาหางาน และต้องต่อสู้กับสภาพสังคมที่แฝงไปด้วยระบบชนชั้นวรรณะและความเหลื่อมล้ำอย่างมหาศาลไปพร้อมกัน นั้นทำในเมืองนี้มีประชากรที่อยู่กันอย่างหนาแน่นมีประชากรที่อยู่ในการสำรวจสัมมะโนประชากรประมาณ 20 ล้านคนและยังมีที่ตกสำรวจอีกเป็นสิบ ๆ ล้านคน ดังนั้นราคาค่าเช่าของบ้านพักจึงแพงมหาโหด  ขายกันในอัตราตารางฟุตเหมือนกับในฮ่องกงเลยทีเดียว โดยห้องพักในคอนโดมิเนียมระดับกลางในมุมไบขายกันในราคาประมาณ 650 เหรียญ หรือประมาณ 23000 บาท ต่อหนึ่งตารางฟุต ชนชั้นกลางของอินเดียแทบไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของเลย ประชาชนที่ต้องดินรนทำมาหากินจึงก่อให้เกิดเป็นชุมชนแออัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน Asia นั้นคือ "Dharavi" ภาพกว้างของเมืองที่เผยหให้เห็นถึงตึกใหญ่อยู่เป็นภาพเบื้องหลังของชุมชนแออัดนี้คอยย้ำถึงปัญหา ความเหลื่อมล้ำ ที่คอยแยกพวกเขาออกจากกัน อย่างชัดเจน
ความเหลื่อมล้ำอย่างมหาศาล
หลังคาสังกะสีเรียงทอดยาว สูงบ้าง ต่ำบ้าง ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา พื้นที่ของชุมชนนี้มีขนาดประมาณ 2.2 ตารางกิโลเมตร  กับประชากรที่แออัดอยู่ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน ใช้ชีวิตท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมและคุณภาพชีวิตที่ต่ำ สกปรก และล้าหลัง นั้นคือสิ่งที่คนภายนอกมองเข้ามา แต่ถ้าหากมองจากมุมของคนภายในนี้  มันหมายถึงชุมชนที่ช่วยกันผลักดันให้คนได้มีที่อยู่ได้กิน ให้คนได้มีอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับประเทศ เนื่องจากในสลัมเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา โรงงานรีไซเคิล โรงฟอกหนังและโรงงานทอผ้าอีก สถานที่เหล่านี้ช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในสลัมนับหมื่น ๆ คน ถึงแม้อัตราค่าจ้างจะต่ำเพียงเดือนละ 6000 รูปี (3,2000 บาท) หรือใครมีประสบการณ์มากหน่อยก็ได้ราว 15,000 รูปี (8,100 บาท)  งานเหล่านี้สร้างรายได้ให้กับชุมชนถึง 350 ล้านปอนด์ต่อปีเลยทีเดียว ในชุมมชนแห่งนี้ทุกคนทำงานหนัก บ้างทำตลอด 7 วัน  ส่วนใหญ่ไม่มีเวลาหยุดพักผ่อนด้วยซ้ำ ทุกคนต่างทำงานหนักเพื่อหาเลี้ยงท้องของตัวเอง ไม่ก็ครอบครัว
ในตัวสลัมเองมีสถานที่ซักผ้าหรือร้านรับจ้างซักผ้าราคาถูกอยู่ ซึ่งน้ำทีใช้ซักผ้าที่ดูสกปรกแฃะดำคล้ำนั้น ไม่น่าจะทำให้ผ้าสะอาดขึ้นเลย แต่นี่คือสิ่งที่เขาเลือกไม่ได้ และไม่มีนักการเมืองที่มองเห็นและต้องการมาพัฒนาช่วยชุมชนนี้
ซักผ้าราคาถูกในชุมชน
ความเป็นอยู่ของชุมชนนี้ ครอบครัวส่วนใหญ่ต้องนอนรวมกันที่พื้นคอนกรีตเปล่า ๆ และบ้านเรือนร้อยละ 1 เท่านั้น ที่มี " ส้วมเป็นของตัวเอง " ส่วนที่เหลือต้องใช้ห้องน้ำสารธารณะ ซึ่งต้องแลกเปลี่ยนใช้กับคนเป็นพัน ๆ คน ขณะเดียวกันที่ในพื้นที่ของห้อง ๆ หนึ่งในบ้าน จะกลายเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมอย่างหลายหลาย อย่าง อาบน้ำ ซักผ้า ก็ใช้หน้าบ้าน หรือจะทำกับข้าว ห้องกินข้าว ห้องนอน ก็รวมกันอยู๋ในห้อง ๆ หนึ่ง บางครอบครัวมีสมาชิกในบ้านในขนาดห้องที่เท่ากัน มีคนอาศันอยู่ 5 ถึง 6 คนเลยทีเดียว
สภาพบ้านในสลัม
ปัจจุบัน ชุมชนแออัด "ธาราวี" กลายเป็นเหมือนสถานทีท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติที่อยากสัมผัสประสบการณ์ชุมชนแออัด ความยากจนและสัมผัสการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอันมีค่า โดยเฉพาะทัวที่ตั้งขึ้นเพื่อสำหรับการท่องเที่ยวในสลัมโดยเฉพาะ ชื่อว่า " Inside Mumbai " ที่มีโปรแกรมพิเศษที่ลูกทัวจะได้รับประทานมื้ออาหารในบ้านของสลัมแห่งนี้ โดยสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งหลายนั้นต่างเริ่เที่ยวทัวด้วยการตระหนักถึงเรื่องของความยากจนของที่นี่ แต่เกือบทั้งหมดกลับออกไปจากสลัมโดยไม่คิดว่ามันเป็นปัญหาจริง ๆ  สลัม "ธาราวี" ไม่ได้ถูกนำเสนอในฐานะที่เป็น "ปัญหา" ความยากจนถูกมองข้าม ไม่ก็ถูกมองว่ามันคือเรื่องปกติ, โมฮัมเหม็ด ไกด์ทัวของ Inside Mumbai  กล่าวว่า "นักท่องเที่ยวควรได้เห็นความเข้มแข็งและการต่อสู้ของที่นี่" แต่ธุรกิจแบบนี้ มันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างได้จริงหรอ ?
การทำการท่องเที่ยวแบบนี้อาจสะท้อนปัญหาให้สังคมวงกว้างได้เห็นถึงปัญหา และมันอาจจะดึงดูดความสนใจของนักการเมืองใหญ่ ๆ ที่มักมองข้ามชุมชนนี้ ให้กลับมาตระหนักถึงปัญหา และลงมือแก้มันเสียที !
.
.
.
.
.
ถ้าชอบ อยากอ่านบทความแบบนี้อีก ก็ฝากกดแชร์ กดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจหน่อยนะครับ
ใครที่อยากอ่านเรื่องอะไร สามารถคอมเมนต์ ว้ได้เลยนะครับ ไว้ผมจะหาข้อมูลมาเขียนให้ครัับ
ขอบคุณทุกคนที่อ่านครับ ...
ขอบคุณเนื้อหา และบทความจาก
Source : มุมชีวิตในมุมไบ เมืองแห่งความหลากหลายที่ไม่เคยหลับใหล – THE STANDARD
Source : Design Museum Dharavi: เปลี่ยนสลัมในอินเดียให้เป็นชุมชมสร้างสรรค์ (creativemove.com)
Source : การท่องเที่ยว : สลัมอินเดีย แหล่งท่องเที่ยวที่ฮิตกว่าทัชมาฮาล - BBC News ไทย
Source : ชีวิตในสลัมของมุมไบ: ภาพถ่าย - สิ่งแวดล้อม 2021 (agromassidayu.com)
Source : ชีวิตใน “ธาราวี” สลัมใหญ่สุดในโลก | เดลินิวส์ (dailynews.co.th)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา