22 พ.ค. 2021 เวลา 15:48 • กีฬา

💠 Wembley 💠

🔸ฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศ FA Cup เมื่อสัปดาห์ก่อน Lecester City สร้างประวัติศาสตร์ของสโมสร ณ สนาม Wembley ใหม่ จนได้รับความชื่นชมไปทั่ว
▪️
🔸ก็อดคิดถึงบรรยากาศ ของสนามฟุตบอล Wembley ยุคหอคอยคู่ในตำนาน ที่คนรักฟุตบอลรุ่นเก่า จดจำได้
▪️Wembley Postcard▪️
🔸 สนาม Wembley เก่าสนามนั้น เปี่ยมไปด้วยมนต์ขลัง ที่นักกีฬาแทบจะทุกคน โดยเฉพาะนักฟุตบอลในอังกฤษ และเกือบจะทั้งโลก อยากจะมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยลงเล่น ในสนามแห่งนี้​ กันซักหน
▪️
🔸สนาม Wembley Empire Stadium ยุคหอคอยคู่​ Twins Tower สนามเก่านั่น จุคนได้ถึง 100,000 ผ่านการจัดกีฬา ระดับน้อยใหญ่มาครบ ทั้งนัดชิงชนะเลิศ​ ฟุตบอลโลก ปี 1966 คู่ปัญหาระหว่างอังกฤษ กับเยอรมัน
▪️
สนามนี้อีกเช่นกัน​ ที่จัดคอนเสริต์ ระดับโลกมาเกินนับ รวมถึง Live Aid ที่ Queen และ Freddie Mercury สร้างมหาตำนานไวักับ 6 บทเพลง ใน 22 นาที ที่ยังถูกจดจำถึงทุกวันนี้
🔺
🔸ส่วนตัวเคยฝันไว้​ อยากจะมาดูบอลที่นี่ซักหน แต่ก็ไม่เคยได้ซักที​ มาอังกฤษ​ก็ผิดจังหวะ ไร้แมทช์ที่ทีมชาติอังกฤษลงเล่น ใกล้เคียงที่สุดคือมาเก็บเกี่ยวความสุข กับสนามในตำนานนี้ ด้วยการซื้อทัวร์​ เที่ยวชมสนามแทน
▪️
🔸เริ่มรายการ ด้วยการฟัง จนท. เล่าประวัติของสนามที่สร้างมาตั้งแต่ คศ.1923 และจุผู้ชมยุคยืนชมได้ถึง 125,000 คน ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นแบบที่นั่งทั้งหมด เหลือ 100,000 ที่นั่ง หลังเหตุการณ์ที่ Hillsborough
▪️อนุสรณ์ Hillsborough @ Anfield▪️
🔸จากนั้นจะเปิด projector ขนาดใหญ่ ให้ชมลูกยิงเข้า? -​ไม่เข้า? เจ้าปัญหา ที่ Geoff Hurst ยิงผ่านผู้รักษาประตูเยอรมัน ใน World Cup Final 1966 ก่อนให้เรากดปุ่ม ในแบบสำรวจว่า ลูกนี้ "มันข้ามเส้น? ไปแล้วหรือยัง?​"
🔺
🔸จะว่าไป ก็นานาจิตตัง​ ย้อนดูกี่หน​ เข้าก็ได้ไม่เข้าก็ได้ ยากเย็นเต็มที​ ในยุคที่ไม่มี​ VAR แม้ภายหลัง​ จะมีการใช้เทคโนโลยี มาพิสูจน์ลูกเจ้าปัญหานี้ ว่าข้ามไปแล้วจริงๆ ก็ยังมีคำถามต่อไปอยู่ดี
🔺
🔸 จากนั้นก็ขึ้นสูงไปที่ห้อง​ Control Room ซึ่งคือห้องหลัก ที่ใช้ควบคุมการถ่ายทอด การแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลถ้วยสำคัญๆของอังกฤษ
🔺
🔸ห้องนี้ชวนคิดถึง ผู้บรรยายฟุตบอล ระดับปรมาจารย์​ อย่าง Martin Tyler ขึ้นมาทันที ก่อนจะเดินลงไป ยังห้องแต่งตัวนักกีฬา ที่มีเสื้อของนักบอลทีมชาติอังกฤษ แขวนเอาไว้
🔺
🔸อีก Hightlight ของ​ Wembley คงไม่พ้น การพามายืน ที่อุโมงค์ทางออก​ ก่อนลงสู่สนาม​ พร้อมกับเปิดเสียง​ สร้างบรรยากาศเหมือน มีคนดูอยู่เต็มสนาม และเสียงดังกระหึ่ม ปลุกเร้าชวนขนลุกแบบนี้เอง ที่สร้างความฮึกเหิมให้นักกีฬา ไม่ต่างนักรบ Gladiator พร้อมออกศึก
▪️97,000 ผู้ชม ในฟุตบอลโลกนัดชิง 66▪️
🔸เรื่องที่ Wembley Empire Stadium ยุค Twins Tower มีเรื่องน่าจดจำอยู่มาก รวมถึงการได้เดินขึ้นบันได 39 ขั้น ไปรับถ้วยรางวัลชนะเลิศ ซึ่งมีแต่ผู้ชนะเท่านั้น ที่จะมีโอกาสเดินขึ้นไปรับถ้วยรางวัล​ที่นี่
🔺
🔺
🔸Wembley Empire​ Stadium รับใช้สารพัดศึก​นานเกือบร้อยปี ก่อนจะปิดตัวลง ในปี 2000 และถูกทุบทิ้ง​ เหลือไว้​เพียงความทรงจำ​ ของทั้งนักกีฬา แฟนบอล​และผู้เกี่ยวข้อง​ ที่เคยร่วมกันสร้างเกียรติยศไว้ที่นี่
🔺
🔸ก่อนจะมีการสร้าง New Wembly ขึ้นมาใหม่​ ณ​ จุดเดิม​ แต่ลดจำนวนความจุลง อย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน
🔺 New Wembley 🔺
🔺
🔸สนามกีฬาขนาดเขื่องๆ แบบ Wembley ทั้งเก่าและใหม่ ในโลกเรามีอยู่ไม่มากสนามนัก นับชนิดที่จุคนดูได้เกิน 100,000 ก็ต้องที่ Maracana ในบราซิล เพราะที่เคยจุได้ราวแสนสอง แต่ เพราะความบ้าฟุตบอลสุดขีด​ของชาวบราซิล​ มาราคาน่าเคยยัดกันเข้าไปเกือบ 200,000 คนมาแล้ว (ปัจจุบัน​ถูกปรับปรุงพื้นที่ใหม่​ เหลือความจุราว 7-80,000 คน)
▪️ BukitJalil : Malaysia▪️
🔸ส่วนในเอเชียแถวนี้ สนามยักษ์ใหญ่ยุคเก่า​ ก็มีอย่างสนามเมอร์เดก้า​ ที่​ KL กัวลาลัมเปอร์ ยุคนั้น​ก็เฉียดแสน ก่อนจะมาสร้างใหม่เป็น​ Bukit Jalil กับความจุราว​ 85, 000 คน
▪️
🔸แต่สนามยักษ์สุดแถวนี้​ เป็นของ​ Senayan ในอินโดนีเซีย ที่บอลไทยเคยเข้าไปล้มเจ้าภาพมาแล้ว ในนัดชิงชนะเลิศ จนมีการจุดไฟเผาสนาม ก่อเหตุวุ่นวาย โดยแฟนบอลชาวอินโดฯ ใน ซีเกมส์หนที่ 19 ที่สนามนี้
▪️Senayan : Jakarta, Indonesia▪️
🔸 เสนายันสมัยนั้น จุได้​ 110,000 คน​ แถมมี Sport Complex ขนาดยักษ์ อยู่รอบสนามกีฬาหลัก และมีแบบนี้ได้ ก็เพราะสหภาพโซเวียต​ สร้างให้กับอินโดนีเซียแบบให้เปล่า 🔸ซึ่งแรกเดมที สหภาพโซเวียต หมายจะมาปักโครงการนี้ ที่กรุงเทพฯ แต่เพราะยุคสงครามเย็น ที่เราเลือกยืนอยู่กับสหรัฐฯ
▪️
🔸และที่เราได้มาแทน จากสหรัฐฯ คือสนามกีฬาหัวหมาก ตัว ​indoor stadium หรือชื่อเดิม​สนามกีฬากิติขจร (ไม่รวมราชมังคลาฯ​ ที่มาสร้างทีหลัง & ปัจจุบัน Senayan​ ในจาการ์ต้า​ ปรับปรุงใหม่​ และเปลี่ยนชื่อเป็น​ Gelora Bung Karno กับความจุราว 80,000+คน)
▪️กีฬาแหลมทอง & สนามกีฬาหัวหมาก▪️
🔸พอแค่นี้ครับ กับความทรงจำ​เรื่องสนาม Wembly Empire​ Stadium ยุคหอคอยคู่ ไว้ร่วมฉลองกับ​ The Foxes Leicester City กับถ้วย​ FA up ใบเก่าแก่ที่สุดของอังกฤษ
▪️
🔸หวังไว้เพียงเล็กๆ ว่าข้อเขียนเล็กๆมุมนี้​ จะมากพอ จะดึงความทรงจำ ให้คนรักกีฬา​ โดยเฉพาะคอบอลรุ่นเก่า ได้บ้างไม่มากก็น้อย
▪️
▪️
, ▪️San Siro : Milan▪️
▪️San Siro : Milan▪️
▪️
▪️Delle Alpi : Turin ▪️
▪️
▪️ Old Trafford ▪️
▪️
▪️
▪️Celtic Park : Glasgow▪️
▪️Madejski Stadium : Reading▪️
▪️Reading - MUFC▪️
▪️Emirates Stadium : Arsenal▪️
▪️Saint Mary : Southampton▪️
▪️
▪️เสื้อสโมสร Lecester City กับการรณรงค์การท่องเที่ยวให้ไทย กับโฆษณาติดหน้าอกเสื้อ Thailand Smile With You แฟนบอลสามารถสั่งจองได้ในขณะนั้น ในราคา 2,500.บาท / ตัว พร้อมสกรีนชื่อให้ฟรี ▪️มีการเปิดให้สั่งจองจำนวน 10,000 ตัว ซึ่งรายได้ทั้งหมด โดยไม่หักค่าใช้จ่าย LecesterCity โดย King Power มอบเงินทั้งหมดให้ รพ.รามา เพื่อสู้กับวิกฤต Covid▪️
🖤 บทความมอบให้ David Wilkinson 🖤
⚽ #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ​ #ขอเป็นกำลังใจให้บุคคลากรทางการแพทย์ทุกท่าน​ ❤️
ภาพถ่ายต่างกรรมต่างวาระ
📸 All Photos ▪️ by Tui Kajondej​
ยกเว้น☀️ตามที่ระบุ
⭕ จากจันทบุรี ถึงGlassgow
🌸 เขียนทุกเรื่องด้วยความสนุก เพื่อความสุขของผู้เขียนเอง ไว้สะสมเรื่องเขียน ตรงนี้ 🌸

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา