Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
23 พ.ค. 2021 เวลา 07:36 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน
(ตอนที่ 19) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 4️⃣➖6️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 7)
หน้า 79 – 84
❇️ แปดขั้นตอนสำคัญของราชโยคะ ❇️
พันธมิตรอื่น ໆ ของพี่น้องปาณทพ เป็นตัวแทนแก่นสาระสำคัญของโยคะ โยคังคะหรือแขนขาของโยคะเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันในนาม #วิถีมีองค์แปดแห่งโยคะ ซึ่งปตัญชลี ได้จาระไนไว้ใน “โยคะสูตร” 2:29,
▪️ ยมะ (การประพฤติศีลธรรม หลีกเลี่ยงการกระทำที่ขาดศีลธรรม)
▪️ นิยมะ (การปฏิบัติตามหลักศาสนา)
▪️ อาสนะ (ท่ากายที่ถูกต้อง กับ การควบคุมจิต)
▪️ ปราณายามะ (การควบคุมปราณหรือพลังชีวิต)
▪️ ปรัตยาหาระ (การน้อมนำจิตสู่ภายใน)
▪️ ธารณา (การสำรวมจิต)
▪️ ธยาน (ฌาน) และ
▪️ สมาธิ (การรวมกับทิพยอำนาจ)
ดังทหารทางจิตที่จะได้ขยายความต่อไปนี้ :
7️⃣ #ธฤษฏเกตุ_อำนาจจิตที่จะต่อต้าน (ยม)
รากศัพท์สันสกฤต ธฤษ แปลว่า “ห้าวหาญและกล้าหาญ กล้าที่จะโจมตี” เกตุ แปลว่า “หัวหน้า หรือ ผู้นำ” และอาจหมายถึง “ความสว่างสดใส ความกระจ่าง ปัญญา วิจารณญาณ” อุปมาของคำนี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า เยน เกเตวช อปทา ธฤษยเต อเนน อิติ — “ผู้ที่พุทธิปัญญามีอำนาจเหนือความยุ่งยากทั้งปวง” และสิ่งที่ธฤษฏเกตุใช้อำนาจเหนือนั้นพบอยู่ในนามของเขาเอง นอกจากแปลว่ากล้า หาญแล้ว ธฤษฏเกตุ ยังหมายถึง “การทำตามอำเภอใจ” “ไม่สนใจกฎเกณฑ์” ธฤษฏเกตุจึงเป็นตัวแทนของอำนาจในตัวของผู้ภักดีที่มีวิจารณญาณที่จะโจมตีด้วยความกล้าหาญ – นั่นคือ #อำนาจจิตที่จะต่อต้านความโน้มเอียงไปทางชั่วที่จะประพฤติผิดศีลธรรม นามนี้จึงตรงกับ 'ยม' หรือ การประพฤติศีลธรรม
ก้าวแรกในวิถีมีองค์แปดนี้จะสำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติตามข้อ “ที่ต้องละเว้น” — ⏺️เว้นจากการทำร้ายผู้อื่น ⏺️เว้นจากการพูดเท็จ ⏺️เว้นจากการลักขโมย ⏺️เว้นจากการมักมากในกาม และ ⏺️เว้นจากการโลภเอาสิ่งของของผู้อื่น เมื่อเข้าใจความหมายนี้อย่างเต็มที่แล้ว สิ่ง “ที่ต้องละเว้น” เหล่านี้จึงหมายรวมอยู่ในข้อปฏิบัติศีลธรรม
การปฏิบัติเช่นนี้ #จะทำให้โยคีสามารถหลีกเลี่ยงความยุ่งยากพื้นฐานที่จะมาขัดขวางความก้าวหน้า ในการหยั่งรู้ตน การละเมิดกฎศีลธรรมนี้ไม่แต่สร้างความทุกข์ในปัจจุบันเท่านั้น แต่กรรมยังส่งผลไปอีกยาวนาน ซึ่งจะทำให้ผู้ภักดีตกอยู่ในข้อจำกัดของความทุกข์ และความตาย
✨ธฤษฏเกตุ #อำนาจจิตที่จะต่อต้าน ต่อสู้กับความอยากที่จะกระทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกฎแห่งจิตวิญญาณ และช่วยล้างกรรมที่เกิดจากความผิดพลาดในอดีตได้✨
8️⃣ #ไศพย_อำนาจจิตที่จะยึดมั่น (นิยมะ)
ไศพย มักจะเขียนกันว่า ไศวย ซึ่งสัมพันธ์กับ 'พระศิวะ' ได้มาจากรากศัพท์สันสกฤต ศี “ผู้เป็นที่อยู่ของทุกสิ่ง” ศิวะยังหมายถึง “มงคล เมตตากรุณา ความสุขความสวัสดี” อุปมาของคำ ไศพย มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า ศิวม มงคลม ตตสมพนธิยัง อิติ มงคลทยกัง — “ผู้ยึดมั่นอยู่กับสิ่งที่ดีหรือมงคล ซึ่งจะนำไปสู่ความสวัสดีของตน” ไศพยสอดคล้องกับนิยมะของปตัญชลี นั่นคือการปฏิบัติตามหลักศาสนา เป็นตัวแทนอำนาจของผู้ภักดีที่จะยึดมั่นอยู่กับข้อกำหนดทางจิตวิญญาณของนิยมะ “ที่ต้องปฏิบัติ” คือ ⏺️ความบริสุทธิ์แห่งกายและจิต ⏺️ความยินดีในทุกสภาพการณ์ ⏺️มีวินัยในตน ⏺️ศึกษาตนเอง (การใคร่ครวญ) และ ⏺️อุทิศตนต่อพระเจ้า
✨ไศพย #อำนาจจิตที่จะยึดมั่น จะให้กองทัพความมีวินัยทางจิตวิญญาณแก่โยคี ในอันที่จะพิชิตทั้งพลโยธาชั่วช้าผู้สร้างหนทางแห่งทุกข์ และพิชิตผลกรรมในอดีต✨
ยมะ–นิยมะ เป็นรากฐานให้แก่โยคีที่จะเริ่มสร้างชีวิตทางจิตวิญญาณ #สิ่งนี้จะทำให้กายและจิตกลมกลืนกันตามกฎทิพย์แห่งธรรมชาติ_หรือการเนรมิตสร้าง ทำให้เกิดความสวัสดี ความสุข และพละกำลังทั้งภายนอกภายใน #ซึ่งจะดูดดึงผู้ภักดีไปสู่การปฏิบัติทางจิตวิญญาณที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น และทำให้เขาพร้อมที่จะรับพรจาก 'สาธนา' (วิถีแห่งจิตวิญญาณ) ที่ได้รับมอบจากคุรุของตน
9️⃣ #กุนติโภช_ท่ากายที่ถูกต้อง (อาสนะ)
1
โภช ในกุนติโภช มาจากรากศัพท์ ภุช “เข้าเป็นเจ้าของ เข้าปกครอง หรือ บริหาร” กุนติโภชเป็นบิดาบุญธรรมของนางกุนตี อุปมาของนามนี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า เยน กุนตัง คุณา อามนุตรณา ไทว–วิภูติ อาการศิกา ศกตัง ภุนากติ ปาลยเต ยห สห — “ผู้เป็นเจ้าของและสนับสนุนพลังทางจิตวิญญาณ – กุนตี – ปลุกและดึงพลังทิพย์มาสู่ตน”
กุนตีเป็นชายาของปาณฑุราชา เป็นมารดาของพี่น้องปาณฑพสามคนแรก – ยุธิษเฐียร ภีมะ และ อรชุน – และเป็นแม่เลี้ยงของน้องฝาแฝด นกุล กับ สหเทพ นางมีอำนาจที่จะอ้อนวอนขอพรจากพระเจ้า (พลังสร้างสรรค์จักรวาล) และด้วยวิธีนี้บุตรทั้งห้าจึงได้ถือกำเนิด★
★อ่านบทนำหน้า (38)
ในแง่จิตวิญญาณนั้น กุนตี (จาก กุ – เรียก) เป็นอำนาจจิตของผู้ภักดีเปี่ยมศรัทธา ที่จะอ้อนวอนขอพลังสร้างสรรค์ชีวิตในขณะที่ทำสาธนา กุนตี (เช่นเดียวกับ ทรุบท) #เป็นตัวแทนความวางเฉยต่อโลกและใฝ่หาพระเจ้าของผู้ภักดี ซึ่งในช่วงการทำสมาธิภาวนา (เข้าฌาน) จะดึงพลังชีวิตที่ไหลออกภายนอกให้กลับไปรวมอยู่ภายใน เมื่อพลังชีวิตกับจิตกลับไปรวมกับปาณฑพ หรือ พุทธิปัญญา ธาตุในจักระไขสันหลัง (มหาจักรวาล หรือพลังสร้างจักรวาล อันเกิดในครรภ์จักรวาลน้อย หรือ จักระทั้งหลายในกาย) ก็จะปรากฏแก่โยคี (นั่นคือ การที่กุนตีให้กำเนิดทายาท)
กุนติโภชเป็นตัวแทนของอาสนะในปตัญชลี คือท่าที่เกิดจากการควบคุมกาย #เพราะท่ากายที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโยคีที่จะควบคุมปราณ เช่นเดียวกับที่กุนติโภช “รับเลี้ยงดู” กุนตี อาสนะ จึง “สนับสนุน” ความสามารถที่จะอ้อนวอนขอพลังทิพย์แห่งชีวิต เพื่อเตรียมการปฏิบัติ 'ปราณายามะ' หรือ การควบคุมพลังชีวิต (ขั้นตอนต่อจากอาสนะ แห่งโยคะวิถีอันมีองค์แปด)
'อาสนะ' คือ #การกำหนดท่าที่ถูกต้องเพื่อการปฏิบัติโยคะสมาธิ แม้รายละเอียดจะแตกต่างกันไปมากมาย แต่พื้นฐานที่สำคัญคือ ⏺️กายต้องตั้งมั่น ⏺️หลังตรง ⏺️คางขนานกับพื้น ⏺️ดันไหล่ไปทางหลัง ⏺️อกตั้ง ⏺️ท้องแฟบ ⏺️สายตาเพ่งอยู่ที่ศูนย์กุฏัสถะบนหน้าผาก (ระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง) ⏺️กายนิ่งไม่ขยับเขยื้อน ⏺️ไม่เกร็ง ⏺️ไม่เคร่งเครียด เมื่อควบคุมได้แล้ว ปตัญชลีกล่าวว่าอาสนะ หรือ ท่าที่ถูกต้องจะ “มั่นคงและสบาย”★ กายได้รับการควบคุม เกิดความสงบทั้งกายและใจ ทำให้โยคีสามารถภาวนาได้นานหลายชั่วโมงตามที่ต้องการโดยไม่เหนื่อยล้าหรือกระวนกระวาย
1
★ โยคะสูตร 2:46
จึงเป็นที่ชัดเจนว่าทำไม 'อาสนะ' จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการควบคุมพลังปราณ #เพราะทำให้เกิดการวางเฉยภายใน_ไม่ทำตามการเรียกร้องของร่างกาย และทำให้เกิดพลังอำนาจที่จะอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพลังชีวิต ในการหมุนจิตกลับเข้าสู่ภายใน สู่โลกของบรมวิญญาณ
✨กุนติโภช #ท่ากายที่ถูกต้อง ทำให้กายและจิตสงบพร้อมที่จะสู้กับความโน้มเอียงทางกาย ที่จะทำให้เกียจคร้าน กระวนกระวาย และติดยึดอยู่กับเนื้อหนัง✨
🔟 #ยุธามันยุ_การควบคุมพลังชีวิต (ปราณายามะ)
จาก ยุทธ “ต่อสู้” กับ มันยุ “ใจสู้ เร่าร้อน” ยุธามันยุ แปลว่า “ผู้สู้อย่างเร่าร้อนด้วยศรัทธาและจิตที่แน่วแน่” อุปมาของนามนี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า ยุธัง ไจตนย–ปรกาศยิตัง เอว มนยุ–กริยา ยเสย สห — “ผู้ที่การกระทำหลักคือการต่อสู้เพื่อสำแดงทิพยจิต” #พลังชีวิตเป็นสิ่งเชื่อมวัตถุกับบรมวิญญาณ ถ้าพลังนี้ไหลออกภายนอก มันจะเผยให้เห็นโลกมายาอันเย้ายวนแห่งผัสสารมณ์ แต่ถ้าหมุนกลับสู่ภายใน มันจะดึงจิตสู่ความเกษมสุขนิรันดร์แห่งพระเจ้า
ผู้ภักดีที่กำลังนั่งภาวนาอยู่ระหว่างสองโลกนี้ มุ่งมั่นจะเข้าสู่อาณาจักรแห่งพระเจ้า แต่ก็มัวว้าวุ่น ต่อสู้กับผัสสอินทรีย์ เมื่อมีเทคนิคปราณายามะช่วย ในที่สุดโยคีก็จะได้ชัยชนะ ⏺️สามารถควบคุมการหายใจ ⏺️หัวใจ และ ⏺️กระแสชีวิตที่ติดบ่วงผัสสะ ⏺️แล้วหมุนพลังชีวิตที่ไหลออกภายนอกที่ทำให้จิตติดสิ่งนอกกายกลับสู่ภายใน เขาก็จะเข้าถึงอาณาจักรอันสงบตามธรรมชาติแห่งวิญญาณและบรมวิญญาณ
✨ยุธามันยุ #การควบคุมพลังชีวิต เป็นนักรบเลอค่าในกองทัพฝ่ายปาณฑพ ที่สามารถปลดอาวุธ ทำให้กองกำลังผัสสอินทรีย์ของฝ่ายจิตที่มืดบอดหมดอำนาจไป✨
1️⃣1️⃣ #ปุรุชิต_การนำจิตกลับสู่ภายใน (ปรัตยาหาระ)
ปุรุชิต แปลตามตัวว่า “พิชิตได้จำนวนมาก” มาจาก ปุรุ (รากศัพท์ ปริ) “มาก” กับ ชิต (รากศัพท์ ชิ) “พิชิต กำจัด (ในฌาน)” อุปมาของนามนี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า เปาราน อินทรีย–อภิศถาฏรเทว ชยาติ อิติ — “ผู้พิชิตป้อมปราการของทิพยอำนาจผู้ปกครองอินทรีย์” คำสันสกฤต ปุร (รากศัพท์ ปริ) หมายถึง “ป้อมปราการ” ในที่นี้หมายถึงฐานที่มั่นของมนินทรีย์ (มนัส) และอายตนะทั้งหลาย ซึ่งถูกควบคุมโดยทิพยอำนาจในจักระสมองร่วมไขสันหลัง รากภาษาสันสกฤต ชิ หมายถึง “ปราบ เป็นนาย”
ปุรุชิตที่คีตาเอ่ยถึงนี้ บอกนัยถึงผู้ที่สามารถปราบทหารผัสสอินทรีย์จำนวนมากที่ประจำอยู่ในป้อมกาย ปุรุชิต จึงเป็นตัวแทนแห่ง 'ปรัตยาหาระ' ของปตัญชลี คือการถอนจิตจากผัสสอินทรีย์ ซึ่งเป็นความสำเร็จที่เกิดจากการปฏิบัติปราณายามะ หรือการควบคุมพลังชีวิต (ทิพยอำนาจ) ที่หล่อเลี้ยงชีวิตินทรีย์ และนำสารจากผัสสอินทรีย์ไปสู่สมอง เมื่อผู้ภักดีเข้าถึงปรัตยาหาระ ⏺️ชีวิตจะปิดจากอินทรีย์ ⏺️จิตและจิตสำนึกสงบอยู่ภายใน
✨ปุรุชิต #การนำจิตกลับสู่ภายใน ทำให้ความสงบในจิตของโยคีมีความหนักแน่น ป้องกันนิสัยเดิม ๆ ของกองทัพอินทรีย์ ไม่ให้มาชักนำจิตให้กระเจิดกระเจิงไปสู่โลกวัตถุ✨
1️⃣2️⃣ เสาภัทรา (ในที่นี้ คือ บุตรของนางสุภัทรา (อภิมันยุ) _ #การเป็นนายเหนือตน (สังยมะ)
สุภัทราเป็นชายาของอรชุน ทายาทของนางคืออภิมันยุ จาก อภิ “เข้มข้น มุ่งสู่ เข้าไป” กับ มันยุ “จิตวิญญาณ อารมณ์ จิต แรงกล้า” อภิมันยุเป็นตัวแทน ของภาวะจิตที่เข้มข้น (ภาวะทางจิตวิญญาณ) ซึ่งจิตสำนึกถูกดึงเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่กำลังมุ่งไปสู่ด้วยอารมณ์แรงกล้า ทำให้บุคคลนั้นสามารถควบคุมตนได้หรือ เป็นนายเหนือตนเอง โยคะสูตร ของปตัญชลีบทที่ 3 โศลก 1-4 เรียกสิ่งนี้ว่า “สังยมะ” เป็นคำรวมเรียกสามขั้นตอนสุดท้ายในวิถีมีองค์แปดแห่งโยคะ
'ห้าขั้นตอนแรกเป็นโยคะเบื้องต้น' สังยมะ มาจาก สัง “ด้วยกัน” กับ ยม “ถือไว้” ซึ่งประกอบด้วย '#ศาสตร์เร้นลับทั้ง3' คือ 1️⃣ธารณะ (การเพ่ง) 2️⃣ธยาน (ฌาน) และ 3️⃣สมาธิ (ความเป็นหนึ่งเดียวอันเป็นทิพย์) และนี่คือโยคะที่ถูกต้อง
เมื่อถอนจิตจากผัสสอินทรีย์ที่วุ่นวาย (ปรัตยาหาระ) 1️⃣ธารณะ กับ 2️⃣ธยาน ก็จะร่วมกันทำให้เกิด 3️⃣สมาธิขั้นตอนต่างๆจากการหยั่งรู้อันเกษมสู่ความเป็นหนึ่งเดียวอันเป็นทิพย์
1
2️⃣ธยาน หรือ ฌาน คือ #การเพ่งจิตอยู่ที่บรมวิญญาณอันอิสระ ซึ่งประกอบด้วย ⏺️ผู้เพ่งฌาน ⏺️กระบวนการหรือเทคนิคการภาวนา และ ⏺️อารมณ์ที่ใช้ในการภาวนา
1️⃣ธารณะ คือ #การเพ่งที่ความคิดภายใน_หรืออารมณ์แห่งการภาวนานั้น ดังนั้น สิ่งที่เกิดจากการใคร่ครวญคือ ⏺️การรับรู้ถึงทิพยดำรง ⏺️โดยแรกสุดเกิดภายในตนเอง ⏺️จากนั้นจึงวิวัฒน์สู่ความคิดที่เกี่ยวข้องกับจักรวาล – ⏺️เข้าถึงความไพศาลของบรมวิญญาณซึ่งดำรงอยู่ทุกที่ทุกกาลทั้งในและนอกสิ่งเนรมิตสร้าง
🔸 #ขั้นสูงสุดของการเป็นนายเหนือตน 🔸 ก็คือ ⏹️เมื่อผู้ภาวนา ⏹️กระบวนการภาวนา และ ⏹️อารมณ์แห่งการภาวนา #กลายเป็นหนึ่งเดียวกัน_หยั่งรู้ความเป็นหนึ่งเดียวกับบรมวิญญาณอย่างสมบูรณ์
การที่คีตาเรียกชื่ออภิมันยุว่า 'เสาภัทรา' ตามนามมารดานั้น ทำให้เรานึกไปถึงความหมายของสุภัทรา “เรืองโรจน์ งามเลิศ” อภิมันยุจึงหมายถึงการเป็นนายเหนือตนเองอย่างเพริศพราย อุปมาของนามนี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า อภิ สรวตรมานุเต ปรกาศเต อิติ — “ผู้ซึ่งจิตเพ่งอย่างสว่างไสวในทุกที่” นั่นคือ แสงที่เผยให้เห็นทุกสิ่ง ทำให้ภาวะการหยั่งรู้ตนอันเรืองรองได้ปรากฏ
✨อภิมันยุ #การเป็นนายเหนือตน นักรบผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายปาณฑพ ซึ่งชัยชนะทำให้โยคีสามารถตีโต้กองทัพความฟุ้งซ่าน จิตหลงผิดของอหังการ ผัสสอินทรีย์ และนิสัยที่เคยชิน ให้ถอยกลับไป ทำให้ท่านสามารถอยู่ในภาวะทิพยจิตได้นานเท่านาน ทั้งในช่วงการภาวนาและหลังจากนั้น✨
1️⃣3️⃣ #บุตรของนางเทราปตี_จักระทั้งห้าในไขสันหลังที่ถูกกุณฑาลินีปลุกให้ตื่นขึ้นมา
เทราปตีเป็นบุตรีของทรุบท (การวางเฉยอย่างเลิศล้ำ) นางเป็นตัวแทนของอำนาจจิตวิญญาณ หรือความรู้สึกของกุณฑาลินี★ ซึ่งถูกปลุกให้ตื่น หรือ เกิดจากความวางเฉยอย่างเลิศล้ำของทรุบท เมื่อกุณฑาลินีผันขึ้นด้านบน มันจะ “สมรส” กับปาณฑพทั้งห้า (จิต กับ ธาตุสั่นสะเทือนแห่งการสร้างสรรค์ที่จักระทั้งห้าในไขสันหลัง) และให้กำเนิดบุตรทั้งห้า
1
✨บุตรทั้งห้าของนางเทราปตี สำแดงตนที่จักระซึ่งตื่นอยู่ในไขสันหลัง ซึ่งแต่ละจักระจะมี ⏺️รูปร่าง ⏺️แสง ⏺️เสียง และ ⏺️ลักษณะแตกต่างกันไป — เป็นจุดที่โยคีเพ่งภาวนาเพื่อดึงพลังทิพยปัญญามาต่อสู้กับมนินทรีย์และทายาทของมัน✨
★ดูหน้า 19
(มีต่อ)
ภควันกฤษณะกับพี่น้องปาณฑพทั้งห้า — ยุธิษเฐียร (ประนมหัตถ์นมัสการกฤษณะ) ภีมะ (ถือคทา) อรชุน กับ พี่น้องฝาแฝด นกุล กับ สหเทพ ด้านซ้าย ของกฤษณะคือ นางกุนตี และซ้ายสุดคือนางเทราปตี
🕉️ “พี่น้องปาณฑพทั้งห้าคือตัวละครหลักตามอุปมาการในคีตา เป็นผู้ควบคุมกองกำลังของจิตและปราณ ณ จักระทั้งห้าในไขสันหลัง ซึ่งเป็นแหล่งคุณและอำนาจที่ผู้ภักดีที่ปฏิบัติสมาธิอย่างลึกซึ้งสามารถปรับเข้ากับจักระกายทิพย์และกายเหตุของทิพยจิตได้”
1
🕉️ “คีตาได้พรรณนาว่า 1️⃣เมื่อปลุกและฝึกทิพยอำนาจความสงบของยุธิษเฐียร 2️⃣อำนาจการควบคุมชีวิตของภีมะ 3️⃣อำนาจการควบคุมตนอย่างไม่ติดยึดของอรชุน 4️⃣อำนาจการยึดอยู่กับกฎเกณฑ์ที่ดีของนกุล และ 5️⃣อำนาจที่จะต่อต้านความชั่วของสหเทพ ...ทายาทแห่งพุทธิปัญญา เหล่านี้กับกองทัพและพันธมิตรนิสัยดี ความโน้มเอียงทางจิตวิญญาณที่ดี พยายามกลับจากการถูกเนรเทศ แต่ความโน้มเอียงฝ่ายผัสสอินทรีย์จอมโกงกับกองทัพอินทรีย์ของมัน ไม่อยากสละอำนาจเหนืออาณาจักรกาย ด้วยความช่วยเหลือของกฤษณะ (คุรุ หรือจิตวิญญาณที่รู้ตื่น หรือ สหัชญาณอันเกิดจากสมาธิ) สงครามต้องดำเนินต่อไป — ทั้งทางกาย ทางใจ และจิตวิญญาณ — ด้วยประสบการณ์สมาธิที่กระทำอย่างซ้ำๆ — เพื่อชิงอาณาจักรคืนมาจากอหังการราชาและกองทัพความโน้มเอียงไปทางชั่วในจิต”
{ปรมหังสา โยคานันทะ}
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภควัทคีตา เล่ม 1 บทที่ 1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย