17 พ.ค. 2021 เวลา 07:59 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน
(ตอนที่ 18) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 4️⃣➖6️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 6)
หน้า 75 – 79
จากพระสูตรเหล่านี้ เราได้ “ทหารทางจิตวิญญาณหกคนแรก” ซึ่งเตรียมพร้อมที่จะช่วยโยคีทำศึกเพื่อการหยั่งรู้ตน
1️⃣ #ยุยุธาน_ทิพยศรัทธา (ศรัทธา)
จากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต ยุทธ หรือ “ต่อสู้” ยุยุธานแปลตามตัวว่า “ผู้ต่อสู้เพื่อประโยชน์ของตนเอง” อุปมานี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า ยุทธัง ไจตยะ ปุรกาษยิตัง เอสนา อภิลาษมน อิติ — “ผู้ที่มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะต่อสู้เพื่อแสดง จิตวิญญาณ” เป็นตัวแทนของ 'หลักการความรัก' ซึ่งมี “หน้าที่” ชักนำการสร้างสรรค์กลับสู่พระเจ้า นั่นคือศรัทธาหรือการอุทิศต่อพระเจ้าที่ผู้ภักดีรู้สึกได้ และเป็นสิ่งชักนำจิตให้เกิดความปรารถนาอยากรู้จักพระองค์ กระตุ้นผู้ภักดีให้กระทำและสนับสนุน 'สาธนา' (การกระทำทางจิตวิญญาณ)
“ศรัทธา” มักแปลกันว่า ความเชื่อ ความเลื่อมใส แต่ที่ถูกต้องน่าจะหมายถึง #ความโน้มเอียงตามธรรมชาติของจิต หรือ #จิตที่อุทิศไปสู่แหล่งต้นกำเนิดศักดิ์สิทธิ์ และศรัทธานี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการยอมตนให้แก่แรงฉุดดึงนี้
การเนรมิตสร้างส่งผลเป็นการผลักไส หนีจากพระเจ้า นำบรมวิญญาณออกสู่ภายนอก แต่สิ่งที่มีคู่มากับวัตถุคือ 'อำนาจการดึงดูด' นี่คือ 'ความรักของพระเจ้า' #เป็นแม่เหล็กที่ในที่สุดแล้วจะดูดดึงสิ่งสร้างกลับสู่พระเจ้า ยิ่งผู้ภักดีปรับจิตเข้ากับสิ่งนี้มากเท่าใด แรงดูดดึงก็จะแรงมากขึ้นเท่านั้น แล้วโยคีผู้มีทิพยศรัทธาจะได้เสวยผลอันบริสุทธิ์หอมหวานจากการปฏิบัติของตน
✨ยุยุธาน “ทิพยศรัทธา” ต่อสู้กับอำนาจมารของความไม่เชื่อ ความสงสัย ที่พยายามชักนำผู้ศรัทธาให้ท้อแท้หมดกำลังใจ✨
2️⃣ #อุตตเมาชา_พรหมจรรย์อันกระปรี้ประเปร่า (วีรยา)
นักรบใน มหาภารตะ อุตตเมาชา แปลตามตัวว่า “มีความกล้าหาญอย่างวิเศษ” และโดยทั่วไปแล้วคำ 'วีรยา' ที่ปตัญชลีใช้นั้น มักตีความกันว่าหมายถึง ความเป็นวีรบุรุษหรือความกล้า แต่ในปรัชญาโยคะนั้น 'วีรยา' ยังหมายถึง 'น้ำกามเพศชายที่แข็งแรง' #ซึ่งแทนที่จะถูกขับออกจากกายกลับถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังชีวิตที่บริสุทธิ์ #ให้พลังกายที่แข็งแกร่ง_ให้ความมีชีวิตชีวาและความกล้าหาญทางศีลธรรม★
★ทำนองเดียวกับน้ำกามของเพศหญิง ซึ่งธาตุแห่งการสืบพันธุ์ได้สร้างไข่และพัฒนาเป็นชีวิต โยคะสอนว่าในการร่วมรักกันนั้น ทั้งหญิงและชายได้เปิดปล่อยเขื่อนเก็บกัก “พลังชีวิตละเอียด” ในอวัยวะสืบพันธุ์ออกมา
เราจึงพบว่าคำ อุตตเมาชา มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต อุตตม “เป็นใหญ่, สำคัญ” และ โอชส “พลัง, อำนาจ, ความแข็งแรงของร่างกาย” อุปมานี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า อุตตมน โอโช ยาสุยส อิติ — “ผู้มีอำนาจสูงสุด (อำนาจอันเลิศประเสริฐ)” พลังชีวิตอันกระปรี้กระเปร่า (น้ำกาม) ที่โยคีสามารถควบคุมได้นี้ เป็นต้นธารของจิตวิญญาณอันแข็งแกร่งและความเข้มแข็งทางศีลธรรม
พลังชีวิตอันกระปรี้กระเปร่า มนินทรีย์ ลมหายใจ และปราณ ต่างเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด #ถ้าสามารถควบคุมสิ่งหนึ่งก็จะสามารถควบคุมอีกสามสิ่งได้ด้วย ผู้ภักดีที่ใช้เทคนิคโยคะศาสตร์ควบคุมทั้งสี่สิ่งนี้ได้ จะเข้าสู่ภาวะจิตที่ประเสริฐยิ่งๆขึ้นไปได้อย่างรวดเร็ว
✨อุตตเมาชา “พรหมจรรย์อันกระปรี้กระเปร่า” ได้ให้อำนาจแก่ผู้ภักดีที่จะสยบอำนาจความเย้ายวนและนิสัยใคร่ในกาม จึงสามารถปลดปล่อยพลังชีวิตเป็นอิสระ ก้าวข้ามจากความเพลิดเพลินอยู่ด้วยวัตถุสู่ทิพยเกษม✨
3️⃣ #เจกิตาน_ความจำแห่งจิตวิญญาณ (สมฤติ)
เจกิตาน หมายถึง “ปัญญา” รากศัพท์ภาษาสันสกฤต 'จิต' ให้ความหมายว่า “ปรากฏ ส่องแสง จำ” อุปมานี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า จิเกติ ชานติ อิติ — “เขาจำ เข้าใจความรู้อันแท้จริงแห่งการเห็นที่แจ้งชัดด้วยสมาธิ” 'สมฤติ' ของปตัญชลีนั้นหมายถึง “ความจำ” ทั้งความจำทิพย์และความจำของมนุษย์ และด้วยความจำนี้เองที่ทำให้โยคีระลึกได้ว่า #ธรรมชาติที่แท้จริงของท่านถูกสร้างตามฉายาของพระเจ้า เมื่อความจำนี้ปรากฏหรือฉายที่จิตของท่าน ท่านจะเกิดญาณปัญญา หรือการเห็นแจ้งซึ่งจะช่วยส่องทางให้แก่ท่าน
✨เจกิตาน “ความจำแห่งจิตวิญญาณ” ยืนหยัดพร้อมที่จะต่อกรกับความหลงวัตถุ ที่ทำให้มนุษย์ลืมพระเจ้า และคิดว่าตนเป็นมตชนที่ผูกพันอยู่กับกายเท่านั้น✨
4️⃣ #วิราฏ_ความเกษม (สมาธิ)
เมื่อพี่น้องปาณฑพทั้งห้าถูกทุรโยธน์เนรเทศไปจากอาณาจักร โดยมีเงื่อนไขว่าพี่น้องทั้งห้าต้องอยู่ในป่าสิบสองปี และในปีที่สิบสามนั้นต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ อย่าให้หน่วยสอดแนมของทุรโยชน์ค้นพบ ในปีที่สิบสามพี่น้องปาณฑพจึงต้องปลอมตัวอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าวิราฏ – นัยสำคัญของอุปมานี้ก็คือ ถ้าความใคร่ในกามและนิสัยเคยชินมีอำนาจเหนือกายอย่างเต็มที่แล้ว #ต้องใช้เวลาในวงรอบสิบสองปีจึงจะสามารถขับไล่ผู้รุกรานออกจากอาณาจักรกายนี้ได้ ก่อนที่ปัญญาอันชอบธรรมจะสามารถยึดอาณาจักรของตนกลับคืนมา
ผู้ภักดีต้องดึงคุณสมบัติเหล่านี้จากประสบการณ์ในการทำสมาธิ เมื่อนั้นแหละจึงจะสามารถยืนหยัดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้ ขณะกระทำทางกายและผัสสะ เมื่อพุทธิปัญญาได้พิสูจน์อำนาจของตน พวกเขาก็พร้อมที่จะเข้าสู่สงครามทางจิต เพื่อเรียกร้องอาณาจักรกายของตนคืน
ตามความหมายของปตัญชลี 'วิราฏ' หมายถึง “สมาธิ” คือ #ทิพยภาวะแห่งความเป็นหนึ่งเดียวในสมาธิ_ซึ่งเป็นแหล่งพลังทางจิตวิญญาณของโยคี วิราฏมาจากรากศัพท์สันสกฤต วิ–ราช “ปกครอง เปล่งประกาย” วิ แสดงถึง ความโดดเด่น, ตรงกันข้าม บอกนัยถึงความแตกต่างระหว่างการปกครองโดยวิธีธรรมดากับการปกครองด้วยทิพยจิตแห่งสมาธิ อุปมานี้มีที่มาจากศัพทวิเคราะห์ว่า วิเสเสน อาตมน ราชเต อิติ — “ผู้ที่อาบแช่อยู่กับอาตมันภายใน” ภายใต้การปกครองของสมาธิ ผู้ภักดีจะ เปล่งประกายและควบคุมการกระทำของตนด้วยทิพยปัญญา
✨วิราฏ สมาธิ คือ “ภาวะความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า” ซึ่งเข้าถึงได้ในช่วงการทำสมาธิอย่างลึกซึ้ง สามารถขจัดความโง่หลงที่ทำให้วิญญาณซึ่งมากด้วยอหังการ ไม่เห็นบรมวิญญาณแท้จริงที่มีเพียงหนึ่งเดียว กลับเห็นแต่วัตถุรูปทรงนานาและความเป็นสิ่งคู่✨
5️⃣ #กาศีราชา_ปัญญาแยกแยะ (ปรัชญา)
คำว่า กาศีราชา ได้มาจากคำ กาศิ “ส่องแสง เปล่งประกาย เรืองรอง” กับ ราช “ปกครองส่องประกาย” ซึ่งแปลได้ว่า ปกครองด้วยแสง หรือปกครองด้วยวิถีอันเรืองรอง แสงซึ่งเผยให้เห็นแก่นสารที่แท้จริงเบื้องหลังสิ่งที่คล้ายจะเป็นอุปมานี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า ปทรฐัง กาศยัง ปรกาศยัง ราชเต วิภาติ อิติ — “บุคคลซึ่งแสงของเขาเป็นเหตุให้สิ่งอื่นๆเปล่งประกายได้ (เปิดเผยอย่างถูกตรง)”
พันธมิตรคนนี้ของปาณฑพ คือตัวแทนแห่งปรัชญาของปตัญชลี ซึ่งหมายถึง 'พุทธิปัญญา' – #การประจักษ์แจ้งภายใน_หรือญาณปัญญา ซึ่งเป็น ปัจจัยหลักของการประจักษ์แจ้งของผู้ภักดี ปรัชญาใช่เป็นแค่สติปัญญาของนักปราชญ์ ที่ขึ้นอยู่กับตรรกะ เหตุผล และความจำ #หากแต่เป็นการแสดงออกถึงทิพยภาวะของเอกองค์ผู้รู้แจ้ง
✨กาศีราชา “พุทธิปัญญา” ปกป้องคุ้มครองผู้ภักดีจากการติดอยู่ในวงล้อมของกองทัพเจ้าเล่ห์แห่งการใช้เหตุผลอย่างผิดๆ✨
6️⃣ #ทรุบท_การวางเฉยอย่างยิ่ง (ติวร-สังเวค)
รากศัพท์สันสกฤตของทรุบท คือ ทรุ ซึ่งแปลตามตัวอักษรได้ว่า “วิ่ง เร่งรีบ” กับ บท “ก้าว, ย่าง” อุปมานี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า “ผู้ที่ก้าวย่างเร็ว หรือ ว่องไว” ซึ่งมีนัยความหมายถึง บุคคลผู้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับคำ ติวรสังเวค ของปตัญชลี ติวร “ที่สุด” กับ สังเวค จากรากศัพท์ สัง “ด้วยกัน” กับ วิช “เคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว เพิ่มความเร็ว” คำว่า สังเวค ยังหมายถึงการวางเฉยกับสิ่งทางโลกเพราะประสงค์ความเป็นอิสระอย่างยิ่ง
การวางเฉยจากสิ่งของและความกังวลทางโลกนี้ ที่อื่นๆในคีตาอาจใช้คำว่า ไวราคยะ ดังที่ได้พูดถึงมาก่อนแล้วว่า ปตัญชลีกล่าวถึงเป้าหมายของโยคะว่าคือ การเข้าใกล้ให้มากที่สุด (ซึ่งหมายความว่าเข้าถึงได้เร็วที่สุดด้วย) ผู้ที่มี ติวร-สังเวค มากที่สุด การวางเฉยอย่างยิ่งนี้ไม่ใช่การไม่เอาใจใส่หรือการเลิกละอย่างจำยอม คำนี้มีความหมายครอบคลุมถึงการอุทิศตนอย่างยิ่งเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายทางจิตวิญญาณ – ความรู้สึกที่ปลุกเร้าผู้ภักดีให้มีจิตแน่วแน่ที่จะกระทำการในทางสร้างสรรค์ #ซึ่งความปรารถนาทางโลกจะถูกแปรเปลี่ยนตามธรรมชาติให้เป็นการใฝ่หาพระเจ้า
✨ทรุบท “การวางเฉยอย่างยิ่ง” สนับสนุนผู้ภักดีในการต่อสู้กับกองกำลังอันเข้มแข็งของการติดยึดวัตถุ ที่ชักนำเขาไปจากเป้าหมายทางจิตวิญญาณ✨
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา