16 พ.ค. 2021 เวลา 08:03 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน
(ตอนที่ 17) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 4️⃣➖6️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 5)
หน้า 73 – 75
❇️ ความสัมพันธ์ระหว่างปตัญชลีโยคะกับอุปมาการยุทธ์ในคีตา ❇️
#รายละเอียดเกี่ยวกับจักระที่สมองและไขสันหลัง และหน้าที่อันซับซ้อนของจักระเหล่านี้ที่มีต่อชีวิตและจิตสำนึกได้ท้าทายจิตใจของนักปราชญ์มาหลายชั่วอายุคน หนังสือหนาๆหลายเล่มได้ถูกเขียนขึ้นมา แต่แม้ปัญญาที่ว่าหลักแหลมที่สุดก็ต้องมาหลงทางอยู่ในเขาวงกตที่พวกเขาเองได้สร้างกันขึ้นมา ไม่มีใครพูดถึง 'นาฑี' (ช่องทางเดินของปราณ) นับพันนับหมื่น, พลังแม่เหล็กไฟฟ้าของกายทิพย์และกายเหตุ ปฏิการของสิ่งเหล่านี้ที่มีต่อจิต ล้วนทำหน้าที่จัดการกับอะตอม เซลล์  และกิจกรรมทางเคมี ภาวะของจิต ตลอดจนกายหยาบและจิตหยาบ
แต่เนื่องจากเรื่องพวกนี้ดูจะเป็นเรื่องของมิติอื่น ยากจะใช้ภาษามาอธิบายให้เข้าใจ ทั้งยังเป็นการประดักประเดิดที่จะนำของจากมิติอื่นมาบรรจุจำกัดให้เข้ากับโลกสามมิติ ถึงกระนั้นในทุกยุคทุกสมัย ย่อมมีผู้ปฏิบัติหลักการเบื้องต้นของศาสนาอย่างแท้จริง ทั้งๆที่ขาดความเข้าใจทางวิชาการ พวกเขาก็สามารถประจักษ์แจ้งถึงธรรมชาติอันแท้จริงของมนุษย์และจักรวาลที่พวกเขามีชีวิตอยู่ และเข้าถึงทิพยเหตุอันเป็นแหล่งเกิดของทั้งมนุษย์และจักรวาล
'มหาภารตะ' เล่มมหึมา ซึ่งรจนาโดยฤษีวยาสะผู้มีตาทิพย์ ไม่แค่เป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเรื่องเล่าเชิงอุปมาเกี่ยวกับศาสตร์การสร้างโลกและธรรมชาติของพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ 'ภควัทคีตา' ซึ่งเป็นส่วนเล็กๆในมหากาพย์ภารตะคือ #หัวใจของโยคะศาสตร์ ซึ่งได้ให้แก่นสารศาสนาที่แท้จริง นั่นคือ #การปฏิบัติเพื่อการหยั่งรู้ตน
▪️เจตนาของคีตานั้นชัดเจนเมื่อนำมาโยงสัมพันธ์กับโยคะ▪️
“ปตัญชลี” มหาฤษีผู้ยิ่งใหญ่แห่งอินเดีย ซึ่งช่วงเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้นเป็นสิ่งที่นักปราชญ์ยังคาดเดากันอยู่★ เข้าใจว่าภควัทคีตาเป็น “บทเพลงแห่งสวรรค์” #ที่พระเจ้าทรงประสงค์จะรวมวิญญาณของลูกๆที่เร่ร่อนไปอย่างโง่เขลา #เข้าเป็นหนึ่งเดียวกับบรมวิญญาณแห่งพระองค์ ซึ่งจะทำให้สำเร็จได้ก็ด้วยการปฏิบัติตามกฏแห่ง 'กาย' 'จิต' และ 'จิตวิญญาณ'
★ “ไม่มีใครรู้ว่าปตัญชลีมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาใด แม้นักปราชญ์หลายคนกำหนดให้ท่านอยู่ในช่วงศตวรรษที่สองก่อนคริสตกาล แต่สำหรับบรรดาฤษีที่มีญาณหยั่งเห็น และได้รจนาคัมภีร์เกี่ยวกับเรื่องราวที่หลากหลายไว้อย่างมากมายนั้น ย่อมไม่ตกยุคไปกับอำนาจของกาลเวลา แต่นี่ก็ทำให้นักประวัติศาสตร์ไม่สบายใจ ฤษีไม่พยายามจะระบุวันเดือนปีที่ท่านมีชีวิตอยู่ ไม่ตีตราตัวตนของท่านในงานประพันธ์ ท่านรู้ว่าช่วงเวลาสั้นๆในชีวิตของท่านนั้นเปรียบได้กับประกายแสงเพียงวูบเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับมหาชีวิตแห่งอนันตภาพ และความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลานั้น ไม่อาจตีตราเป็นสินค้า และทั้งหมดนั้นก็ไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของท่าน”
{อัตชีวประวัติของโยคี}
ปตัญชลีได้อธิบายศาสตร์แห่งจิตวิญญาณนี้ไว้อย่างแจ่มแจ้งในโยคะสูตรคัมภีร์อันโด่งดังของท่าน ความมุ่งหมายของท่านคือเข้าให้ถึง “แก่นของโยคะ” #หนทางการปฏิบัติที่ทำให้ผู้ภักดีตระหนักในพระเจ้า และจากจุดที่เห็นทุกอย่างได้อย่างชัดเจนนั้น ด้วยสหัชญาณการหยั่งรู้ตน เขาจะรู้ถึงการสำแดงของปรากฏการณ์อันซับซ้อนแห่งการรังสรรค์
1
ขณะที่คีตา 'พรรณนาในเชิงอุปมา' ถึงกระบวนการการหยั่งรู้พระเจ้า — ปตัญชลี 'อธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์' ถึงวิธีการรวมวิญญาณ (อาตมัน) กับบรมวิญญาณ (พรหมัน) ด้วยภาษาที่ไพเราะ กระชับ ชัดเจน ซึ่งนักปราชญ์หลายชั่วคนมาแล้วได้ยอมรับว่า ท่านเป็นผู้อธิบายโยคะชั้นแนวหน้า
เจตนาของคีตาจะเห็นได้อย่างกระจ่างชัด ตามนามของนักรบแต่ละรายที่ระบุไว้ในโศลกที่ 4 ถึงโศลกที่ 8 ซึ่งสอดรับกับการปฏิบัติโยคะดังที่ปตัญชลีได้พรรณนาไว้ใน “โยคะสูตร” ความสัมพันธ์นี้มีนัยทางจิตวิญญาณของนักรบแต่ละคนตามนัยความหมายของชื่อ หรือจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตในนามนั้นๆ หรือจากความสำคัญของพวกเขาในมหากาพย์มหาภารตะ
ในโศลกที่ 4, 5 และ 6 ราชาผู้ใคร่ในกาม (ทุรโยธน์) ได้บอกกับอาจารย์อนุสัย (โทรณ) เกี่ยวกับทหารทางจิตวิญญาณ ณ จักระต่างๆในสมองและไขสันหลังที่ยกพลโยธากันเข้ามาในสนามรบเพื่บสนับสนุนพี่น้องปาณฑพทั้งห้า ทหารเหล่านี้คือผลจากการบ่มเพาะทางจิตวิญญาณจากการปฏิบัติโยคะของผู้ภักดี – มาพร้อมกับปาณฑพทั้งห้าพร้อมช่วยโยคีในการต่อสู้กับทหารฝ่ายชั่วร้ายของผัสสอินทรีย์
ทุรโยธน์ระบุนามพวกเขาดังนี้ ยุยุธาน - วิราฏ - ทรุบท - ธฤษฏเกตุ - เจกิตาน - ราชาแห่งแคว้นกาศี - ปรุชิต - กุนติโภช - ไศพย - ยุธามันยุ - อุตตเมาชา - บุตรของสุภัทร (อภิมันยุ) - และบุตรทั้งห้าของนางเทราปตี ซึ่งขออธิบายนัยสำคัญทางจิตวิญญาณของนักรบเหล่านี้ตามขนบที่ปตัญชลีได้กำหนดไว้
ปตัญชลีเริ่มโยคะสูตร ด้วยการ 'นิยามโยคะ' ว่าเป็น “#การทำให้คลื่นของจิตที่ไหวไปมาอยู่ในภาวะกลางๆ” (จิตตวฤติตนิโรธะ – 1:2) ซึ่งอาจแปลได้ ด้วยว่า “#หยุดการปรุงแต่งของจิต” ข้าพเจ้าได้อธิบายไว้ในหนังสือ 'อัตชีวประวัติของโยคี' ว่า “#จิต เป็นคำที่ใช้เรียกหลักการคิด ซึ่งรวมถึง พลังปราณ, มนัส (จิต หรือ มนินทรีย์), อหังการ (ความหลงตน), และพุทธิ (ปัญญา) — #วฤตติ (แปลตามตัวว่า “วังน้ำวน" หมายถึงคลื่นความคิดและอารมณ์ที่ขึ้นลงอยู่ในจิตของมนุษย์ตลอดเวลา) — #นิโรธ หมายถึงการทำให้อยู่ในภาวะกลางๆ การหยุด การควบคุม”
ปตัญชลียังกล่าวต่อไปด้วยว่า “จากนั้น ผู้หยั่งเห็นก็จะอยู่กับธรรมชาติ หรือ 'อาตมันของตน'” (1:3) ซึ่งหมายถึง #ตัวตนที่แท้จริง_หรือวิญญาณของเขานั่นเอง นั่นหมายความว่า #เขาเข้าถึงการหยั่งรู้ตน_เป็นหนึ่งเดียวกับวิญญาณ_กับพระเจ้า
ปตัญชลีอธิบายไว้ในสูตร 1:20–21: ว่า “[การเข้าถึงเป้าหมายของโยคะ] จะเป็นไปได้ ต้องปฏิบัติสิ่งเหล่านี้มาก่อน คือ 1️⃣ ศรัทธา (การอุทิศตน) 2️⃣ วีรยา (พรหมจรรย์) 3️⃣ สมฤติ (ความจำ) 4️⃣ สมาธิ (ประสบการณ์การเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าในช่วงปฏิบัติสมาธิ) 5️⃣ ปรัชญา (ปัญญาแยกแยะ) และการเข้าถึงนี้จะเป็นไปได้ง่ายสำหรับผู้ที่มี 'ทิพยศรัทธา' 6️⃣ ติวรสังเวค (ศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะเข้าถึงพระเจ้า และวางเฉยต่อโลกแห่งอินทรีย์สัมผัส)”
จากพระสูตรเหล่านี้ เราได้ “ทหารทางจิตวิญญาณหกคนแรก” ซึ่งเตรียมพร้อมที่จะช่วยโยคีทำศึกเพื่อการหยั่งรู้ตน
1
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา