9 พ.ค. 2021 เวลา 07:51 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน
(ตอนที่ 16) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 4️⃣➖6️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 4)
หน้า 70 – 73
❇️อำนาจที่แตกต่างของวิญญาณ❇️
ดังที่ได้อธิบายไว้ในโศลกที่หนึ่ง ผู้ภักดีสามารถเข้าถึงการประจักษ์แจ้งในการทำสมาธิ และอาจเข้าถึงความเกษมสุขในการเข้าถึงสมาธิ  แต่ก็ยังพบว่า #เขาไม่สามารถดำรงจิตนั้นไว้ได้อย่างถาวร – เมื่อ เขาถูกสังสการหรืออนุสัยที่ยังคงมีอยู่ในจิตตามนิสัยในอดีตและความอยากชักนำกลับมาสู่มนินทรีย์
นี่คือภาวะของโยคีเมื่อท่านต้องเตรียมสู้รบใน สงครามทางจิตวิญญาณ พุทธิปัญญาอันบริสุทธิ์ – ที่สำคัญห้าประการซึ่งพี่น้องปาณฑพทั้งห้าเป็นตัวแทน – จะถูกปลุกให้ตื่นขึ้นในตัวของโยคี พร้อมที่จะเรียกอาณาจักรกายแห่งจิตวิญญาณกลับคืนมา
พี่น้องปาณฑพทั้งห้าคือตัวละครหลักตามอุปมาการในคีตา เป็นผู้ควบคุมกองกำลังของจิตและปราณ ณ #จักระทั้งห้าในไขสันหลัง #ซึ่งเป็นแหล่งคุณและอำนาจที่ผู้ภักดีที่ปฏิบัติสมาธิอย่างลึกซึ้ง #สามารถปรับเข้ากับจักระกายทิพย์และกายเหตุ ของทิพยจิตได้
ปาณฑพทั้งห้ามีความสำคัญ เรียงตามลำดับจากข้างล่างขึ้นมา ดังนี้ :
1️⃣ #สหเทพ : การยับยั้งระวังตน คืออำนาจที่จะอยู่ห่างจากความชั่ว (ทม อำนาจการอดกลั้น ความหนักแน่น ที่สามารถควบคุมผัสสอินทรีย์ภายนอกได้) กับ 'ธาตุสั่นสะเทือนของดิน' ใน 'จักระก้นกบ' หรือ 'มูลาธารจักระ' (1)
2️⃣ #นกุล : การยึดมั่น อำนาจที่จะปฏิบัติตามระเบียบที่ดี (สม อำนาจฝ่ายสร้างสรรค์ ความตั้งใจ ซึ่งสามารถควบคุมความโน้มเอียงทางจิตได้) กับ 'ธาตุสั่นสะเทือนของน้ำ' ที่ 'จักระกระเบนเหน็บ' หรือ 'สวาธิษฐานจักระ' (2)
3️⃣ #อรชุน : การควบคุมตน กับ 'ธาตุสั่นสะเทือนของไฟ' ใน 'จักระบั้นเอว' จักระนี้ หรือ 'มณีปุระ' (3) ให้พลังไฟของจิตและกำลังกายเพื่อสู้รบกับทหารฝ่ายผัสสอินทรีย์ที่กลุ้มรุมกันเข้ามา เป็นการเสริมกำลังนิสัยและการกระทำที่ดี เป็นตัวฝึกนิสัย ทำให้ ร่างกายตั้งตรง ทำให้กายและจิตบริสุทธิ์ และทำให้การทำสมาธิที่ลึกซึ้งเป็นไปได้
เราเห็นต่อไปด้วยว่า ทำไมจึงเปรียบจักระนี้กับอรชุน ซึ่งเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถที่สุดในกองทัพฝ่ายปาณฑพ ถ้าเราได้พิจารณาถึงหน้าที่ซึ่งเป็นของคู่กัน นี่คือ #จุดหักเหในชีวิตของผู้ภักดีที่จะละจากวัตถุมาสู่จิตวิญญาณ จากจักระบั้นเอวลงไปถึงจักระกระเบนเหน็บ ชีวิตและจิตไหลลงล่างสู่มนินทรีย์ฝ่ายผัสสวัตถุ แต่เมื่ออยู่ในสมาธิ ผู้ภักดีช่วยชีวิตและจิตให้หันไปสนใจแรงดึงดูดจากจักระที่สูงกว่าคือ 'จักระลำตัว'★ อำนาจอันร้อนแรงของจักระบั้นเอวก็จะถอนความสนใจจากวัตถุมุ่งผดุงการงานแห่งจิตวิญญาณด้วยอำนาจของจักระที่สูงขึ้นไป
★คำอธิบาย การดึงดูดกันระหว่าง จักระก้นกบ จักระลำตัว กับ วิญญาณจักษุ ดูบทที่ 1 : โศลก 21 – 22
เมื่อจิตของผู้ภักดีดิ่งลึกอยู่ในสมาธิ พิจารณามนินทรีย์และภาวะต่าง ๆ ที่วิญญาณทิพย์ห่อหุ้มอยู่นั้น เขาจะพบว่ากายทิพย์เปิดสู่วิญญาณละเอียดของกายเหตุ ณ ส่วนลึกสุดของโพรงไขสันหลังทิพย์ (ฉิตระ) ที่ 'จักระบั้นเอว' หรือ 'มณีปุระจักระ' นั่นเอง นี่เป็นการเปิด 'พรหมนาที' หรือโพรงเหตุกับทิพยจักระแห่งจิต ซึ่งนำไปสู่ 'ฉิตระ' 'วัชระ' และ 'สุษุมนา'
#เมื่อชีวิตและจิตวกสู่ภายในในสมาธิที่ลึกซึ้ง #ผู้ภักดีจะรวมกับกระแสพรหมนาที #และเข้าถึงอาณาจักรเหตุแห่งวิญญาณที่ละเอียดกว่า นี่คือ #เครื่องหุ้มสุดท้ายที่โยคีต้องผ่านไปให้ได้ในภาวะสมาธิลึก #ก่อนที่จะเข้าสู่พรหมนาทีแห่งบรมวิญญาณในขั้นสุดท้าย
เมื่ออรชุน – อำนาจการควบคุมตนในจักระบั้นเอวปลุกไฟสมาธิ ปลุกขันติแห่งวิญญาณ และการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ได้แล้ว เขาถอนชีวิตและจิตที่กำลังไหลลงล่างผ่านจักระบั้นเอว จักระกระเบนเหน็บและจักระก้นกบออกไปภายนอก “ให้กลับขึ้นมาสู่จักระด้านบน” #นี่เองที่ทำให้โยคีที่กำลังอยู่ในสมาธิมีกำลังกายและกำลังจิต #ที่จะปฏิบัติสมาธิขั้นลึกซึ้งต่อไปเพื่อการหยั่งรู้ตน
#ถ้าขาดการควบคุมตนและไฟนี้แล้ว #ความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณไม่อาจเป็นไปได้เลย ดังนั้น ถ้าพูดตรงๆ “อรชุน” คือตัวแทนของผู้ภักดีที่มีการควบคุมตน มีความอดทน และมีการตัดสินใจแน่วแน่ในตัวตนของคนที่กำลังทำสงครามกรุเกษตร เขาคือเอกแห่งผู้ภักดี เป็นศิษย์ของพระเจ้า ภควันกฤษณะ ซึ่งในบทสนทนาคีตาคือศรีกฤษณะ ผู้ชี้ทางแห่งชัยชนะให้แก่อรชุน
1
พี่น้องปาณฑพอีกสองคนได้แก่ :
4️⃣ #ภีมะ : ความมีชีวิตชีวา พลังชีวิตที่ควบคุมวิญญาณ (ปราณ) กับ 'ธาตุสั่นสะเทือนของลมสร้างสรรค์' (หรือปราณ) ที่ 'จักระลำตัว' หรือ 'อนาหตจักระ' (4) อำนาจของจักระนี้จะช่วยผู้ภักดีในการปฏิบัติเทคนิคที่ถูกต้องในการปฏิบัติ “ปราณายามะ” เพื่อทำให้ลมหายใจสงบ และควบคุมมนินทรีย์ที่กลุ้มรุมกันเข้ามา นี่เป็นอำนาจที่จะทำให้ อวัยวะภายในและภายนอกสงบ จึงสามารถทำลายทุกอารมณ์ (เช่น กามราคะ ความโลภ และความโกรธ) ที่รุกรานเข้ามา ทั้งยังเป็นผู้ทำลายโรคภัยและความเคลือบแคลงสงสัย นี่คือ #จักระความรักแห่งสวรรค์และการสร้างสรรค์ทางจิตวิญญาณ
5️⃣ #ยุธิษเฐียร : ความสงบแห่งสวรรค์ กับ 'ธาตุสั่นสะเทือนที่มีความสร้างสรรค์ของอากาศ' ที่ 'จักระคอ' หรือ 'วิศุทธจักระ' (5) ยุธิษเฐียรเป็นพี่คนโตในหมู่พี่น้องปาณฑพ (พุทธิ หรือปัญญาบริสุทธิ์) เหมาะที่จะกำหนดให้เป็นราชาแห่งปัญญาทั้งปวง เพราะความสงบเป็นปัจจัยหลักของการแสดงออกอย่างผู้ที่เห็นถูกต้อง สิ่งใดที่ทำให้จิตกระเพื่อม ไม่ว่าอินทรีย์หรืออารมณ์จะทำให้ทุกสิ่งที่รับรู้บิดเบือนไป แต่ความสงบคือการเห็นที่กระจ่างชัด เป็นสหัชญาณโดยตัวมันเอง
ในเมื่ออากาศซึ่งมีอยู่ทุกหนทุกแห่งเป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะถูกกระทำเพียงใดจากอำนาจของธรรมชาติที่รุนแรง ปัญญาของยุธิษเฐียรคือความสงบที่ไม่เปลี่ยนแปร เห็นทุกสิ่งอย่างแบบไม่บิดเบือน
นี่เป็นอำนาจที่สามารถวางแผนโค่นอารมณ์ที่เป็นศัตรูได้ – นี่คืออำนาจของความสนใจ ความมีใจจดจ่อต่อทุกสิ่งที่ถูกต้อง – เป็นอำนาจที่คุมความสนใจให้อยู่ได้นาน ๆ และดูแลควบคุมการทะลุทะลวงความสนใจดังกล่าว – นี่คืออำนาจที่จะวินิจฉัยผลจากการกระทำที่ผิด – เป็นอำนาจที่จะใช้ความสงบดูดกลืนความดี – เป็นอำนาจที่จะเปรียบเทียบความดีความชั่ว – และเป็นสามัญสำนึกในการรับรู้มองเห็นข้อดีของการสนับสนุนส่งเสริมเพื่อนและทำลายศัตรู (เช่น ผัสสอินทรีย์และนิสัยที่ เคยชินเป็นต้น) – นี่คืออำนาจจินตนาการที่กอปรด้วยสหัชญาณ #ความสามารถที่จะสร้างภาพแห่งความจริงให้ปรากฏ★
★เมื่อเร็ว ๆ นี้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ #การสร้างภาพด้วยอำนาจของจิต ได้ยืนยันว่า ผู้คนสามารถเรียนรู้ที่จะใช้ความสามารถในการสร้างและทำงานกับการสร้างมโนภาพ เพื่อสุขภาวะทั้งทางกาย จิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณ
การศึกษาชิ้นหนึ่งของ ดร. เอส. รัปปาปอร์ต ซึ่งใช้เวลาศึกษาถึงเจ็ดปี ได้วิเคราะห์ผู้เข้ารับการทดลองจำนวนยี่สิบห้าคน ที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ — เอาชนะความบกพร่องที่เป็นมาแต่กำเนิดได้ หายจากโรค “ที่ไม่อาจรักษา” กลับมาใช้ชีวิตได้อีกหลังจากประสบอุบัติเหตุและพิการอย่างรุนแรง เป็นต้น ผู้วิจัยรายงานว่า “#ทุกคนมีภาพอยู่ในใจว่าเขาอยากเป็นใคร_และอยากเป็นอะไร #แล้วสภาวะทางกายของพวกเขาก็เติบโตตามที่พวกเขาจินตนาการ”
{หมายเหตุผู้จัดพิมพ์}
✴️ ที่ปรึกษาและผู้สนับสนุนคนสำคัญของพี่น้องปาณฑพคือ “องค์พระเป็นเจ้า” ในร่างอวตารของศรีกฤษณะ ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งบรมวิญญาณ (พรหมัน) วิญญาณ หรือ สหัชญาณดังที่สำแดงในภาวะอภิจิต กุฏัสถะ ไจตันยะ หรือจิตแห่งพระคริสต์ และจิตจักรวาลที่ท้ายสมอง กุฏัสถะ หรือศูนย์แห่งพระคริสต์ และดอกบัวพันกลีบ หรือสิ่งที่มหาอาจารย์สอนอรชุนศิษย์ผู้ภักดีของพระองค์ ซึ่งเท่ากับว่าศรีกฤษณะ ทรงนำทิพยปัญญามาสนทนากับอหังการฝ่ายต่ำ ที่ลุ่มหลงอยู่ในวังวนมนินทรีย์ในตัวของผู้ภักดี ญาณปัญญาประเสริฐนี้เป็นทั้งนายและครู — พุทธิปัญญาฝ่ายต่ำเป็นศิษย์ ญาณปัญญาประเสริฐได้แนะนำอหังการถึงวิธีที่จะยกตนให้สอดคล้องกับ ความจริงนิรันดร์เพื่อจะได้ทำหน้าที่ที่พระเจ้าประทานมาให้สำเร็จผล ✴️
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา