Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
25 พ.ค. 2021 เวลา 02:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
GDP ไตรมาสแรก ปี 2564 ของไทยดีกว่าคาด แต่มีแนวโน้มไม่สดใสจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ แถมในอนาคตยังมีประเด็นเรื่องเงินเฟ้อกับ Fed Tapering
เศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากที่หดตัวอย่างหนักในขณะที่การ Lockdown ในไตรมาส 2 ปีที่แล้ว เศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสแรกของปี 2564 ดีขึ้นกว่าการหดตัวร้อยละ 4.2 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 แต่อย่างไรก็ดี GDP ยังต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโควิดถึงร้อยละ 4.5
ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มเศรษฐกิจไทยมืดมัวขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 3 ที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและไปแตะระดับสูงสุดเกือบ 10,000 รายต่อวัน
นอกจากนี้การกระจายวัคซีนของไทยมีความล่าช้ากว่าประเทศอื่น ๆ อย่างเช่น US และ UK อยู่มาก ในขณะนี้มีประชากรไทยเพียงร้อยละ 2 ที่ได้รับการฉีดวัคซีน ด้วยเหตุนี้แผนการเปิดตัวทางเศรษฐกิจด้านการบริการ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศชาวต่างชาติในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม น่าจะต้องเลื่อนออกไป และเป้าหมายของรัฐบาลที่จะรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 3 ล้านคนภายในปีนี้อาจจะเป็นไปได้ยากแล้ว โดยทางเราเองประเมินว่าปีนี้จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในไทยต่ำกว่า 1 ล้านคน เนื่องจากหลาย ๆ ประเทศในเอเชียก็ยังเผชิญกับการระบาดระลอกใหม่อยู่เช่นกัน การจัดตั้ง Travel Bubble ก็โดนยกเลิกในหลายประเทศแล้ว
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDC) ปรับลดการคาดการณ์ GDP ปี 2564 ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1.5 -2.5 จากเดิมที่ร้อยละ 2.5 – 3.5 สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่แย่ลง ส่วนด้านการส่งออกสินค้ายังคงเป็นไปได้ดี NESDC ปรับประมาณการใหม่โดยให้ขยายตัวถึงร้อยละ 10 จากเดิมร้อยละ 6 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างสูง โดยการส่งออกถือว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยในปีนี้
Bnomics คาดการณ์ว่า GDP สำหรับปี 2564 นี้อยู่ที่ร้อยละ 1 – 2 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แต่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งมีการปรับลดประมาณการลงเหลือร้อยละ 1 – 2 เช่นกัน หลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งล่าสุด โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อตัวเลขประมาณการที่ลดลงก็เป็นผลมาจากแผนการกระจายวัคซีนภายในประเทศที่มีความล่าช้าและไม่แน่นอนอย่างมากในปัจจุบัน
ถ้าหากพิจารณาถึงนโยบายทางด้านการเงิน ทาง Bnomics มองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยคงไม่ลดอัตราดอกเบี้ยลงไปต่ำกว่านี้อีก ถึงแม้เศรษฐกิจจะมีแนวโน้มแย่ลงก็ตาม ส่วนนโยบายทางด้านการคลัง เรามองว่าหนี้สาธารณะจะทะลุเพดานหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 60 ของ GDP เนื่องจากกระทรวงการคลังจำเป็นที่จะต้องอัดฉีดเงินเข้าสู่ในระบบต่อเนื่อง แต่เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ต้องกังวลใจมากนัก เนื่องจากฐานะทางการคลังของไทยยังมีความเข้มแข็งอยู่มาก จึงไม่เป็นประเด็นหากรัฐบาลไทยต้องกู้ยืมเพิ่มเติม
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในเดือนมีนาคมเร่งตัวไปอยู่ที่ร้อยละ 3 เทียบกับปีที่แล้ว ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในระดับต่ำติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาหลายเดือน และเราประเมินว่า เงินเฟ้อพื้นฐานยังไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ ในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้านี้ เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังเป็นไปได้ช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น จึงทำให้ทาง ธปท จะไม่มีการปรับดอกเบี้ยนโยบายเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
ส่วนแนวโน้มผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของไทยคาดว่าจะคงล้อไปกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยทางเราคาดว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ จะไม่สูงไปกว่าร้อยละ 2 ในช่วงที่เหลือของปีนี้
จากรายงานการประชุม FOMC เดือนเมษายน นักลงทุนยังจับตามองว่า FED จะเริ่มทำ Taper เมื่อไร และในรายงานได้มีการพูดถึงว่า ควรจะมียกประเด็นเรื่องการทำ Tapering ขึ้นมา ซึ่ง Tapering หมายถึงการลดอัตราการเข้าซื้อสินทรัพย์ของ Fed
โดยปัจจุบัน Fed มีการเข้าซื้อสินทรัพย์อยู่ที่ 120 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน โดยประเด็นที่น่าสนใจในรายงานสรุปการประชุม คือมีการระบุไว้ว่า Quantitative Easing จะหยุดลงภายใน 9 เดือนหลังจากมีการเริ่มทำ Tapering และการเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ จะใช้เวลาอีก 9 เดือน โดย Tapering นี้จะเริ่มขึ้นเมื่อไหร่ต้องขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และทาง Fed เองจะพร้อมจะให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายที่ร้อยละ 2 ในอนาคตข้างหน้า เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 24 พ.ค. 64
ผู้เขียน: บุรินทร์ อดุลวัฒนะ Chief Economist, Bnomics
➡️ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :
https://bit.ly/3fOcF6i
เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
ฉบับวันที่ 24 พ.ค. 64
➡️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Facebook:
https://bit.ly/3tRitAD
Youtube :
https://bit.ly/3cPmUpo
Twitter :
https://bit.ly/3s4KIMp
Line OA :
https://bit.ly/3eYkTJC
════════════════
คุณจะไม่พลาดทุกประเด็นเศรษฐกิจ จาก Bnomics
เพียงตั้งค่าที่เมนูมุมขวาบนเพจให้
เป็น "#Favourites" หรือ “#รายการโปรด”
แล้วทุกประเด็นเศรษฐกิจ จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
════════════════
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
บันทึก
3
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Global Economic Update
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย