Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สมองสองช้อน
•
ติดตาม
30 พ.ค. 2021 เวลา 09:00 • การศึกษา
#เทคนิคการวาง Layout ให้กับภาพปก cover
เคยได้ยินใช่ไหมคะ ว่า “หน้าตาคือใบเบิกทาง” หรือถ้าจะบอกว่ามันคือ “First Impression” ก็คงจะไม่ผิดนัก
ถ้าภาพปก cover ของเราคือสิ่งแรกที่คนอื่นจะเห็น เป็นประตูสู่เนื้อหาภายในที่เราอยากให้เขาอ่าน เราก็ควรใส่ใจกับมันสักหน่อย
Image by Juraj Varga from Pixabay
กฎการวาง Layout มีอยู่ 3 สิ่งด้วยกัน คือ:
1. องค์ประกอบของภาพ (Composition)
2. โทนสีของภาพโดยรวม (Color Tone)
3. รูปแบบ ขนาด และสีของตัวหนังสือ (Font)
องค์ประกอบของภาพ หรือ Composition
Composition ที่ดี คือ ความ balance ที่ลงตัวของตัวรูปภาพหลัก ตัวรูปภาพอื่นๆ และตัวหนังสือ
หลังจากที่เราเลือกรูปภาพหลักที่จะใช้ได้แล้ว ลำดับต่อไป คือการจัด composition ของภาพ
(Note: เราใช้ภาพจาก Pixabay เป็นหลัก ถึงแม้จะเป็นภาพที่สามารถใช้ได้ฟรี แต่อย่าลืมให้เครดิตของภาพด้วยนะคะ)
เราควรจะวางสิ่งต่างๆยังไงให้เกิดความ balance ที่ลงตัว?
- เราจะไม่เอาอะไรไปบดบัง สิ่งที่เราคิดว่า คือรูปภาพหลัก
จากภาพตัวอย่างด้านบน ... รูปภาพหลัก คือ เด็กผู้หญิง และ ลูกโป่งดาวต่างๆ เราก็ไม่เอาอะไรไปวางทับมัน ปล่อยให้เด็กผู้หญิงและลูกโป่ง ทำหน้าที่ชูโรงให้กับภาพนี้
แต่เราจะนำส่วนประกอบอื่นๆไปวางทับบนส่วนที่ไม่สำคัญ เช่น กอหญ้าข้างๆทั้งซ้ายและขวา รวมถึงพื้นที่ตรงท้องฟ้า
- ให้ความหนักของภาพ ทั้งซ้ายและขวา พอดีๆกัน โดยให้มองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหลัก รูปภาพอื่นๆ และตัวหนังสือ
จากภาพตัวอย่างด้านบน ... เรา balance ภาพ โดยการ วางชื่อหัวข้อบทความอยู่ตรงกลางที่มีพื้นที่โล่งๆ
ด้านขวามีสมุดโล่งๆสีขาวอยู่ เราก็เลยใส่ “HOW TO?” ตัวใหญ่ สีเด่นหน่อย เพื่อให้น้ำหนักทางด้านขวาบ้าง
ทางด้านซ้าย มีหนังสือเล่มสีเขียวอยู่ แต่ด้วยความที่ด้านซ้ายมีของเยอะกว่าทางด้านขวา เราก็เลยใส่ “when writing is your dream ...” เป็นตัวเล็กๆเข้าไป
โทนสีของภาพโดยรวม หรือ Color Tone
Color Tone เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ให้เกิดความสะเปะสะปะในภาพ ไม่ดูเลอะเทอะ
การเลือกสีที่ใช้ในภาพโดยรวม ควรใช้ประมาณ 2-3 สีหลัก
เช่น สมมุติว่ารูปภาพหลัก มีสีเหลืองเป็นส่วนใหญ่ ก็ให้นับว่า สีที่ 1 คือสีเหลือง
คราวนี้ก็เหลืออีก 2 สี ที่เราจะเลือกใช้
จากภาพตัวอย่าง ... จะมีร่มสีน้ำตาลรวมอยู่ในรูปภาพหลักด้วย
เราก็ดึงสีน้ำตาลมาใช้เป็นสีที่ 2
ซึ่งเรานำสีน้ำตาลนั้นมาใช้เป็น background สำหรับวางชื่อหัวข้อบทความ
ยังเหลืออีก 1 สี ...
ในรูปภาพหลัก มีผู้หญิงที่ถือร่มใส่ชุดสีดำ เราอาจจะนำสีดำมาเล่นอีกสีหนึ่งก็ได้ แต่ ...
เมื่อมองไปว่า เราต้องเขียนชื่อหัวข้อบทความลงบน background ที่เราทำไว้เป็นสีน้ำตาล
สีดำอาจไม่ตอบโจทย์ เพราะมันจะดูกลืนมากไปกับสีน้ำตาล จะทำให้หัวข้อบทความเราดู drop ไม่โดดเด่น
เราจึงเลือกใช้สีขาวเป็นสีสุดท้ายเพื่อให้ดูเด่นเมื่อถูกวางอยู่บนพื้นสีน้ำตาล โดยให้เป็นสีสำหรับตัวหนังสือที่เราจะวางลงบนภาพนี้
สมมุติว่า เราไม่ทำตามกฎ Color Tone เลย ... ภาพจะออกมาประมาณไหน
มันดูเลอะเทอะ ไม่สวยงามเท่ากับภาพแรก ใช่ไหมคะ?
ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า "สี" หรือ "Color Tone" ก็มีอิทธิพลต่อภาพมากทีเดียว
รูปแบบ ขนาด และสีของตัวหนังสือ หรือ Font
Font ก็เล่นบทบาทไม่น้อยทีเดียวสำหรับภาพปก cover
เพราะมันคือสิ่งที่สื่อสารโดยตรงกับผู้อ่าน
Font ที่ควรใช้?
ไม่มีคำว่า “Font ที่ควรใช้” เพราะการที่จะใช้ Font อะไรนั้น มันขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการให้ภาพปก cover ของเราเป็นแนวไหน ดูโมเดิร์น ดูมินิมอล ดูเป็นกันเอง หรือว่าดูน่าเชื่อถือ
นอกจากแนวต่างๆที่กล่าวมา เราอาจจะใช้ Font เป็นเอกลักษณ์ของตัวผู้เขียน
เช่น เราอาจจะใช้ Font เพียงไม่กี่แบบ และใช้แค่ Font เหล่านี้ ต่อเนื่องไปในทุกๆภาพปก cover ของเรา
ขนาดของ Font ควรเป็นเท่าใด?
Font ที่ใหญ่ที่สุดในภาพ ก็ควรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งในที่นี่ ก็คือ ชื่อหัวข้อบทความของเรานั่นเอง
ส่วนที่นอกเหนือไปจากชื่อหัวข้อบทความ ก็ให้มีขนาดเล็กลงมาอย่างน้อย 1 เท่าตัว เพื่อให้เห็นความแตกต่างได้ชัดเจน
แล้ว Font สำหรับชื่อหัวข้อบทความต้องใหญ่แค่ไหน?
เอาเป็นว่า อย่างน้อยต้องใหญ่พอที่จะสามารถอ่านได้อย่างชัดเจน
แต่จะใหญ่ขนาดไหนนั้น ก็คงขึ้นอยู่กับความต้องการของเราด้วย และรวมถึงความ balance ใน composition ตามที่กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้
สีของ Font ล่ะ?
การเลือกใช้สี Font ขึ้นอยู่กับความสำคัญของประโยคๆนั้น หรือ คำๆนั้น
ชื่อหัวข้อบทความ คือหัวใจหลัก เพราะฉะนั้น สีของ Font จำเป็นที่จะต้องโดดเด่นขึ้นมา
เช่น ถ้าพื้นเป็นสีโทนน้ำเงิน เราก็ควรใช้ Font ที่เป็นสีขาว หรือ เหลือง
ถ้าเราใช้ Font สีดำ เทา หรือ ม่วง ชื่อหัวข้อบทความของเราก็จะถูกกลืนไปกับสีน้ำเงิน ดูจมไป ไม่เด่น ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง
เพราะฉะนั้นแล้ว นอกจากเราจะตั้งชื่อหัวข้อบทความให้เชิญชวน เราก็ควรที่จะให้ความใส่ใจกับ Font ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบ ขนาด หรือ สี
ทั้งนี้และทั้งนั้น กฎแห่งการวาง Layout ไม่ได้ตายตัวเสมอไป บางครั้งการฉีกกฎ กลับกลายเป็นการทำให้ภาพดูแปลกและน่าสนใจขึ้นไปอีก
แต่อย่างไรก็ตาม เทคนิคการวาง Layout ที่เราบอกไปนั้น คือการ play safe เพราะถ้าหากคุณทำตามกฎที่ว่าแล้ว ไม่มีคำว่า ดูไม่ดี อย่างแน่นอน
ลองเอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้กันดูนะคะ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่อยากจะทำให้ “First Impression” ของเราดูดีมากยิ่งขึ้น
#สมองสองช้อน ขอขอบคุณผู้อ่านทุกคน ขอบคุณทุกๆ like ทุกๆการติดตาม ทุกๆ comment ที่เป็นกำลังใจให้กับการเขียนของเรา ... ขอบคุณค่ะ
2 บันทึก
6
8
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
HOW TO?
2
6
8
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย