30 พ.ค. 2021 เวลา 02:37 • ปรัชญา
ทำความเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น ด้วยการเข้าใจความเป็นจริงในหลายมิติ
แนวคิดนี้ผมกร่อนมาจากหนังสือแห่งยุคอย่าง Sapiens
เชิญอ่านได้เลยครับ
---
คุณเคยรู้สึกไม่เข้าใจความคิดคนบ้างมั้ยครับ ทำไมเจ้าพวกนั้นถึงคิดแบบนั้น เจ้าพวกนี้ถึงคิดแบบนี้ ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้ก็รู้กันอยู่ว่าใครถูกใครผิด ใครจริงใครไม่จริง
หากคุณรู้สึกแบบนี้อยู่บ่อย ๆ ผมเชื่อว่าแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นจริง ที่ผมจะสรุปให้ฟังต่อไปนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ให้กับคุณได้บ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ ^ ^
โดยเจ้าความเป็นจริง คุณยูวัลล์อธิบายไว้ว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1. Fact แปลว่าความจริง
เป็นความจริง จริง จริง ในช่วงเวลาหนึ่ง ที่จะไม่แปลผันไปตามความคิดของสิ่งมีชีวิต
ยกตัวอย่างเช่น พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตก หรือเชื้อโควิด-19 ทำให้คนเสียชีวิตได้ เป็นต้น
ความจริงเหล่านี้ล้วนเป็นจริงในช่วงเวลาปัจจุบัน แม้ใครจะคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วยเช่นใด ความจริงตรงนี้ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงตาม
ศัพท์วิชาการในไทยคือ วัตถุวิสัย
2. Reality แปลว่าความจริง เช่นกัน
ความจริงในรูปแบบที่สองนี้ เป็นความจริงเชิงจินตนาการ ที่สามารถแปลสภาพได้ตามความคิดของสิ่งมีชีวิต (โดยเฉพาะมนุษย์) ซึ่งในหลาย ๆ กรณี พบว่าไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ ความจริงประเภทนี้ยังมีลักษณะเลื่อนไหล สามารถแปรเปลี่ยนได้ตามความเชื่อของสิ่งมีชีวิตนั้น
ยกตัวอย่างเช่น เงินตรา เป็นสิ่งที่มนุษย์ตกลงขึ้นร่วมกัน ว่ามีค่า สามารถแลกเปลี่ยนซื้อขายได้
บริษัทจำกัด เป็นสิ่งที่มนุษย์ตกลงขึ้นร่วมกัน ว่าเป็นบุคคลสมมติ สามารถทำพันธะเฉกเช่นมนุษย์จริง ๆ ได้
ศัพท์วิชาการในไทยคือ อัตวิสัย
---
ในชีวิตมนุษย์ เราพบ Reality มากกว่า Fact เป็นอย่างมาก การวิพากย์ถกเถียง หลาย ๆ ครั้งก็จะเป็นการยึดถือตามนิยามของผู้พูด ที่มักมาจากค่านิยม ความเชื่อ และประสบกาณ์ที่ผ่านมาของคนผู้นั้น ซึ่งแต่ละคนก็มีสิ่งเหล่านี้ไม่เหมือนกัน
1
ส่งผลให้ความจริงของแต่ละคนแตกต่างกันนั่นเอง
ผมมองว่า แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่จะทำให้เราเข้าใจคนมากขึ้น เป็นรากฐานของความ Empathy หรือความเข้าอกเข้าใจผู้คน เพราะแต่ละคนก็มีความจริงเชิงจินตนาการไม่เหมือนกัน ตามแต่ค่านิยม ความเชื่อ และประสบกาณ์ที่ผ่านมาของคนผู้นั้น
เมื่อเราคิดได้อย่างนี้ เราก็มีแนวโน้มที่จะลดอคติในจิตใจลง และพยายามมองความจริงของเขา ลองจินตนาการว่าเราเป็นเข้า มีค่านิยม ความเชื่อ และประสบกาณ์แบบเดียวกับเขา เราจะมีความคิดอ่านแบบเขายังไง
และจะเป็นการลดการ Judge หรือตัดสินผู้อื่นได้อีกด้วย
---
หัวข้อนี้ ผมมองว่าเป็นแก่นหลักสำคัญแก่นหนึ่งในหนังสือ Sapiens เลย ผมพยายามอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายที่สุด อาจมีบางการแปลความที่ผิดไปจากความหมายของผู้เขียน ใครที่เคยอ่านและเห็นจุดบกพร่องตรงนั้น ผมรบกวนช่วยมาบอกกันในคอมเมนต์หน่อยนะครับ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
หากต้องการอ่านเพิ่มเติม คุณสามารถหาอ่านได้ในหนังสือ Sapiens หนังสือดีแห่งยุค ที่มนุษย์ควรอ่าน หาซื้อได้ที่ร้านค้าชั้นนำทุกสาขา หรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่
 
คุณสามารถอ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่
 
สนับสนุนผม เพื่อให้มีกำลังใจทำผลงานต่อไป
 
ผมจะอัปเดตบทความทุกวันที่หารด้วยเลข 3 ลงตัว หากชื่นชอบก็ฝากติดตามเพจไว้ได้นะครับ ^ ^
โฆษณา