Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
30 พ.ค. 2021 เวลา 03:12 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 21) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 8️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 1)
หน้า 85 – 87
โศลก 8️⃣
นักรบเหล่านี้มีตัวท่าน (โทรณ) ภีษมะ กรรณ และ กฤปะ – ผู้พิชิตในการศึกหลายครั้ง; มีอัศวัตถามัน วิกรรณ บุตรของโสมทัต และชยัทรถ
“ผู้นำทัพผัสสอินทรีย์ฝ่ายเรา มีตัวท่าน (โทรณ จริตนิสัยหรือความโน้มเอียงภายใน” 1️⃣ ภีษมะ (อหังการ การเห็นภายใน) 2️⃣ กรรณ (การยึดมั่น) 3️⃣ กฤปะ (โมหะของบุคคล) 4️⃣ อัศวัตถามัน (ความใคร่ที่แฝงอยู่) 5️⃣ วิกรรณ (การผลักออก) 6️⃣ โสมทัตติ (บุตรของโสมทัต ในที่นี้คือ ภูริษราวัส เป็นตัวแทนของกาม หรือ การกระทำฝ่ายวัตถุ) กับ 8️⃣ ชยัทรถ★ (การติดยึดทางกาย)”
★ในบรรดาอรรถาธิบายคีตากว่าเจ็ดสิบสำนวนโดยนักปราชญ์ผู้ได้รับการยกย่องอย่างยิ่ง สำนวนแรกที่หาได้นั้นเขียนโดย อาทิศังกราจารย์ — โศลกในคีตาภาษาสันสกฤตจะมีแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น นาม ชยัทรถ ปรากฏในบางสำนวน โดยอยู่ข้างหลัง “บุตรของโสมทัต” แต่ในสำนวนอื่น ๆ ไม่มี แต่เมื่อคีตานิทานเปรียบเทียบนี้มีความสอดคล้องกับ 'โยคะสูตร' ของปตัญชลี ดังปรากฏในอรรถาธิบายของ ท่านอาจารย์ปรมฟังสา การรวมชยัทรถไว้ด้วยจึงเป็นสิ่งจำเป็นเห็นชัด
{หมายเหตุผู้จัดพิมพ์}
ทุรโยธน์ — ความใคร่ในกาม เมื่อได้พิจารณากองกำลังน่าเกรงขามของพุทธิปัญญาฝ่ายศัตรูแล้ว จึงพยายามควบคุมจิตที่ตื่นตระหนกทั้งของตนเองและของอาจารย์โทรณ (นิสัยความเคยชิน) ด้วยการพรรณนาถึงกองกำลังของฝ่ายตน – ทหารฝ่ายผัสสอินทรีย์กับขุนพลที่ยกพลโยธามาเพื่อปกป้องตน
ความโน้มเอียงของมนุษย์สู่กามคุณนั้น เมื่อเผชิญกับการต่อต้านของเหตุผลที่กอปรด้วยปัญญา ที่เพิ่งถูกปลุกให้ลุกขึ้นมาอ้างสิทธิ์ที่สูญเสียไป มันจะเริ่มกระวนกระวาย รู้ถึงความอ่อนแอของตนและความพ่ายแพ้ที่ใกล้เข้ามา #ความอ่อนแอซึ่ง เป็นธรรมชาติชั้นรองที่ให้ความสบายใจมักจะเดือดร้อน #เมื่อสติกับการประจักษ์แจ้งที่หลับอยู่ถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมา
กามราคะมักชักนำอาณาจักรกายจิตที่ใคร่ใน วัตถุให้หันเหไปได้ตามใจของมัน ตราบเท่าที่ความใคร่สนองความพอใจได้อย่างไม่ขาดสายไปจนถึงที่สุด มันก็จะไม่ทำให้ใครเดือดร้อน แต่ความใคร่จะกลายเป็นสิ่งที่น่ากลัวทันทีที่สัตว์มนุษย์มากด้วยผัสสารมณ์ (ผูกอยู่ด้วย มโนมยโกษ) ถูกปัญญาแห่งการใคร่ครวญปลุกให้ตื่นขึ้น (ปอกกาบ ญาณมยโกษ) ด้วยสำนึก ชัดเจนถึงหน้าที่และการกระทำที่ถูกต้อง เมื่อนั้นแหละที่ความใคร่ไม่สามารถโน้มน้าวได้อย่างอิสระ เพราะนักสู้ฝ่ายพุทธิปัญญาที่มาใหม่เหล่านี้เริ่มที่จะเข้าไปขัดขวางกิจกรรมนอกลู่นอกทางของกามราคะ
กิเลสราชา อยากให้จริตนิสัยในอดีต ซึ่งอยู่ฝ่ายเดียวกับจริตชั่วซึ่งมีกำลังมาก ได้มีข้อมูลครบถ้วนเกี่ยวกับกำลังของกองทัพฝ่ายศัตรู เพื่อหาวิธีที่จะเอาชนะให้ได้
___
🟧 อรรถาธิบายเพิ่มเติม : #สัญลักษณ์ของกองกำลังที่เป็นปฏิปักษ์ต่อคุณลักษณะฝ่ายวิญญาณ 🟧
ดังที่ฝ่ายปาณฑพได้จาระไนไว้ในโศลกที่ 4️⃣➖6️⃣ #ถึงสิ่งจำเป็นที่โยคีต้องมีเพื่อเข้าถึงการหยั่งรู้ตน_หรือการเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า ฝ่ายเการพซึ่งทุรโยธน์จาระไนชื่อไว้ในโศลกที่ 8️⃣ #ก็เป็นตัวแทนหลักๆซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ
ในโยคะสูตร 1:24 ปตัญชลีกล่าวว่า “พระเจ้า (อิศวร) ไม่ถูกแตะต้องโดย "#กิเลส" (ความเดือดร้อน) 6️⃣ "กรรม" (การกระทำ) 7️⃣ "วิบาก" (นิสัย) และ 8️⃣ "อาศยะ" (ความอยาก)”
โยคะสูตร 2:3 ได้ #นิยามกิเลสหรือความเดือดร้อน ไว้ห้าลักษณะดังนี้ ; 1️⃣ "อวิชชา" (ความโง่หลง) 2️⃣ "อสมิตา" (อหังการ) 3️⃣ "ราคะ" (การติดยึด) 4️⃣ "เทวษ" (ความเกลียด) 5️⃣ "อภินิเวศ" (การยึดมั่นกาย)
#ในเมื่อพระเจ้าเป็นอิสระจากความบกพร่องทั้งแปดนี้ที่มีอยู่คู่กับการเนรมิตสร้าง ดังนั้น #สิ่งแรกที่โยคีผู้แสวงหาความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าต้องขจัดไปจากจิต ก็คือ #ความบกพร่องทั้งแปดนี้ ซึ่งปตัญชลีได้เรียงลำดับไว้ และมีความสอดคล้องกับนามนักรบของทุรโยธน์ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ ;
(มีต่อ)
1 บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภควัทคีตา เล่ม 1 บทที่ 1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย