5 มิ.ย. 2021 เวลา 03:55 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 22) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 8️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 2)
หน้า 87 – 89
1️⃣ #กฤปะ_ความโง่หลงของบุคคล (อวิชชา)
ว่ากันว่า แต่เดิมนั้นนาม กฤปะ มาจากรากศัพท์สันสกฤต กฤป (สงสาร) แต่ในแง่สัทศาสตร์ ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับภาษาสันสกฤตบริสุทธิ์ เมื่อถ่ายคำ รากศัพท์นี้จะสอดคล้องกับ กลฤป★ ความหมายของรากศัพท์นี้คือ “จินตนาการ” ซึ่งฤษีวยาสะผู้รจนาตั้งใจใช้กฤปเป็นสัญลักษณ์ของ 'อวิชชา' — ความโง่หลงของบุคคล
★“ดับเบิลยู . ดี . วิทนีย์ นักภาษาสันสกฤตผู้ลือนาม ได้เขียนไว้ในผลงานอันโด่งดังของเขา The Roots, Verb-forms, and Primary Derivatives of the Sanskrit Language, ได้ระบุราก กฤป กับ กลป ซึ่งต่อมาโมนิเยอร์ วิลเลียมส์ได้แปลเป็น กลฤป วิทนีย์ได้วิเคราะห์ กลป ไว้ว่า “เห็นได้ชัดว่ารากศัพท์นี้สัมพันธ์อย่างชัดเจนกับ กฤป (มาตั้งแต่ยุคพระเวทจนถึงยุคพราหมณะ) กฤป (ใช้กันมาตั้งแต่ยุค พระเวทแล้ว)”
{หมายเหตุผู้จัดพิมพ์}
อุปมานามนี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ วสตุนยนยตวัง กลปยติ อิติ — “ผู้จินตนาการว่าวัตถุเป็นสิ่งอื่นนอกเหนือจากที่มันเป็น” ในกิเลสทั้งห้า #อวิชชา_นำมาแรกสุด #ความโง่หลงของมนุษย์ปิดบังการเห็นของเขา_ทำให้เขาเห็นสิ่งทั้งหลายผิดไปจากความเป็นจริง
ปตัญชลีอธิบาย 'อวิชชา' ไว้ว่า “อวิชชาคือการเห็นสิ่งที่ไม่จีรัง ไม่บริสุทธิ์ ชั่วร้าย และมิใช่วิญญาณ ว่าเป็นสิ่งจีรัง บริสุทธิ์ ดี และเป็นวิญญาณ”★
★ โยคะสูตร 2 : 5
🔳 'มายา' กับ 'อวิชชา' : #ความลวงหลง_กับ_ความโง่หลง 🔳
'มายา' #ความลวงหลงของจักรวาล_คือรูปของสิ่งทั้งหลายในอนันตภาพที่ไร้รูป 'อวิชชา' คือ #การที่จักรวาลสะกดจิตบุคคลในลักษณะที่ทำให้เขาแสดง_รับรู้_และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน #ราวกับแต่ละคนมีความเป็นจริงของตนที่แยกไปต่างหาก
จิตจักรวาลที่สถิตอยู่ทุกที่ทุกกาลโดยไม่มีความแตกต่างของพระผู้สร้าง #ก่อให้เกิดภาพลวงที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ #ผ่านทางทิพยสำแดงมากมายหลายลักษณะของพระองค์ #ด้วยการทำพระดำริให้เป็นรูปธรรมด้วยอำนาจของ_มายา ซึ่งคือ “มาตรวัดอัศจรรย์” พระองค์ได้ทรงสร้าง ทรงรักษา และทรงทำลายชีวิตและโลกฝัน
ในทำนองเดียวกัน ทิพยสำนึกแห่งพระเจ้าในมนุษย์ ซึ่งก็คือวิญญาณของปัจเจกบุคคลและเป็นฐานการแสดงออกทั้งปวงของเขา #อำนาจมายาแห่งการรังสรรค์ได้ถูกถ่ายทอดสู่มนุษย์ในรูปของ_อวิชชา และด้วย “มาตรวัด” ส่วนตนนี้ #จิตวิญญาณมนุษย์ซึ่งเป็นหนึ่งจึงถูกแบ่งแยก_ด้วยจินตนาการลวงหลง
'อำนาจการสร้างมโนภาพ' หรือ 'สร้างความคิดตามอหังการของตน' #ทำให้มนุษย์สร้างภาพมายาของสิ่งที่เป็นจริง_และทำให้มันกลายเป็น “วัตถุ” #ขึ้นมาหรือทำให้มันจับต้องได้_หรือแสดงออกด้วยจิตที่แบ่งแยกของตน (จิต พุทธิ อารมณ์ อายตนะ และการกระทำ)★ — นี่คือภาพจำลองของพระผู้สร้างที่สร้างสิ่งดีหรือเลวให้แก่ตัวเขาเอง และสร้างโลกปรากฏการณ์ซึ่งเขามีส่วนอย่างสำคัญในการทำให้เกิดขึ้น พลังสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในความคิดของมนุษย์นี้เองที่ทำให้เขาน่ากลัว มีความจริงอยู่ในภาษิตที่ว่า “คิดอย่างไร ได้อย่างนั้น” ซึ่งเราควรต้องรับฟัง❗
1
★ ศาสตราจารย์ อาร์เธอร์ ซายองก์ เขียนไว้ใน Catching the Light : The Entwined History of Light and Mind (New York: Bantam Books, 1993) ว่า “การเห็นภาพต้องอาศัยมากกว่าการทำหน้าที่ของอวัยวะทางกาย ถ้าขาดแสงภายใน ขาดจินตนาการการสร้างภาพแล้ว เราก็จะเหมือนคนตาบอด” และเขายังอ้างถ้อยคำของจักษุศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศส ดร. มอโรที่กล่าวว่า “เป็นการเข้าใจผิดถ้าคิดว่าผู้ป่วยที่นัยน์ตาได้ฟื้นสภาพด้วยการศัลยกรรมจะสามารถเห็นโลกภายนอกได้” การผ่าตัดเอาต้อกระจกออกจากนัยน์ตาของคนที่ตาบอดมาแต่กำเนิด ช่วยให้เขาเห็นได้แต่แสงที่เลือนรางเพียงเล็กน้อย พวกเขาไม่สามารถเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของกับผู้คน “การคืนสายตาและการเห็นให้แก่ผู้ที่ตาบอดมาแต่กำเนิดนั้น เป็นหน้าที่ของนักการศึกษามากกว่าศัลยแพทย์”
1
ศาสตราจารย์ ซายองก์ ยังอธิบายต่อไปด้วยว่า “แสงในธรรมชาติกับแสงในจิตสัมพันธ์กันอยู่ในดวงตาและทำให้เกิดภาพ แสงสองชนิดทำให้โลกเราสว่างไสว แสงหนึ่งนั้นคือแสงที่ได้จากดวงอาทิตย์ ส่วนอีกแสงหนึ่งตอบรับกับแสงนั้น – นั่นคือแสงแห่งดวงตา ต่อเมื่อแสงทั้งสองสัมพันธ์กัน เท่านั้นเราจึงจะเห็นได้ ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราก็มองไม่เห็น – นอกจากแสงภายนอกกับดวงตา การจะเห็นได้ต้องอาศัย “แสงภายใน” ที่ทำให้แสงภายนอกที่เราคุ้นเคยเกิดความสมบูรณ์ และแปรผัสสะให้เป็นการรับรู้ที่มีความหมาย แสงแห่งจิตต้องไหลเข้าหาและสมรสกับแสงแห่งธรรมชาติเพื่อจะนำโลกมาปรากฏให้เราเห็น”
{หมายเหตุผู้จัดพิมพ์}
🔳 #ลักษณะความโง่หลงของจิต 🔳
ทั้งๆที่อิทธิพลอำนาจของอวิชชาทำให้เกิดความหลงอย่างน่าเอือมระอา แต่มนุษย์ผู้อยู่ใต้อำนาจของมันก็ไม่อยากจะจากมันเลย ใครก็ตามที่พยายามเปลี่ยนทัศนะคนเจ้าความเห็น — หรือเปลี่ยนความคิดอย่างหัวชนฝาของเขา จะรู้ดีว่า “ความเป็นจริง” ตามความคิดของ 'อวิชชา' นั้นมันบีบบังคับบุคคลนั้นแค่ไหน และโมหะก็อยู่ตรงนั้น
คนที่เชื่อวัตถุอย่างหัวชนฝา คือเชลยในอาณาจักร “ความเป็นจริง” ของตน ย่อมไม่รับรู้ภาวะความหลงของตน จึงไม่อยากจะแลกสิ่งนี้กับความจริงแท้ที่มีเพียงหนึ่งเดียว หรือ บรมวิญญาณ เขาเห็นโลกที่ไม่เที่ยงแท้ว่าเป็นสิ่งจริง เป็นนิรันดร์ — เท่าที่เขาเข้าใจเกี่ยวกับนิรันดรภาพ เขาคิดว่าประสบการณ์ผัสสะเป็นการรับรู้และเป็นความรู้สึกที่บริสุทธิ์ เขาสร้างมาตรฐานศีลธรรมของตนเอง และประพฤติตามมาตรฐานนั้น แล้วเรียกสิ่งนั้นว่าเป็นสิ่งดี ทั้งๆที่มันขาดความกลมกลืนกับกฎแห่ง สวรรค์ เขาคิดว่าตัวตนของเขา การดำรงอยู่ในฐานะมตชน ซึ่งเขาสำคัญตนจนตัวพองว่าสามารถทำอะไรได้ทุกอย่างนั้น คือภาพลักษณ์วิญญาณที่พระเจ้าทรงสร้าง
'อวิชชา' เมื่ออยู่ใต้อำนาจของผัสสอินทรีย์ที่เลวร้าย ก็คือมารที่ขัดขวางการหยั่งรู้พระเจ้า แต่ในมหาภารตะ กฤปะ ขุนพลชั้นอาจารย์ซึ่งเป็นตัวแทนของอวิชชา เป็นเพียงหนึ่งในจำนวนน้อยนิดที่รอดชีวิตจากสงครามกุรุเกษตร และหลังจากสงครามยุติแล้ว เขาได้สงบศึกกับฝ่ายปาณฑพ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ของปฤกษิต หลานของอรชุน – ซึ่งเป็นทายาทเพียงคนเดียวและเป็นผู้สืบทอดของฝ่ายปาณฑพ ✴️ ซึ่งหมายความว่า #ในการรังสรรค์นั้น_สิ่งทั้งหลายไม่อาจดำรงอยู่ถ้าขาดหลักการปัจเจกนี้ #ถ้าอวิชชาถูกถอนออกไปไม่เหลือ #รูปที่ดำรงอยู่ก็จะสลายกลับสู่บรมวิญญาณอันไร้รูป ✴️
✴️ ปุถุชนจะงุนงงเมื่อถูกมายาแห่งผัสสอินทรีย์ชักนำไป #เขาจะยึดวัตถุมายานั้นราวกับมันเป็นสิ่งจริง #ซึ่งเป็นเหตุให้เขาดำรงอยู่และเป็นความมั่นคงของชีวิต — แต่โยคีนั้นตรงกันข้าม #ท่านรู้อยู่ตลอดเวลาถึงความจริงหนึ่งเดียว_หรือบรมวิญญาณ ท่านเห็น 'มายา' และ 'อวิชชา' – ความโง่หลงทั้งของโลกและบุคคล – #ว่าเป็นแค่ใยเหนียวที่ยึดโยงพลังปรมาณู_พลังแม่เหล็ก_และพลังวิญญาณไว้ด้วยกัน #เป็นสิ่งที่ให้กายและจิตแก่ท่าน #ที่จะมีส่วนอยู่ในละครจักรวาลการสร้างสรรค์ของพระเจ้า ✴️
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา