6 มิ.ย. 2021 เวลา 03:50 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 23) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 8️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 3)
หน้า 89 – 91
2️⃣ #ภีษมะ_อหังการ (อสมิตะ)
ยสมาต ปญจตตตวนิ วิเภติ สห — “ผู้ 'สร้างความกลัว' ปลุกเร้า หรือ ทำให้ธาตุทั้งห้าสำแดง” ความสำคัญของการอุปมาภีษมะกับอหังการนี้ได้อธิบาย ไว้แล้ว [อ่านบทนำ หน้า (37)] เขาเป็นบรรพบุรุษของการดำรงอยู่อย่างปัจเจก #เป็นเหตุให้เกิดรูปและทำให้รูปดำรงอยู่ได้ด้วยธาตุทั้งห้า #ที่ทำให้เกิดเป็นกายมนุษย์_พร้อมกับผัสสอินทรีย์และการกระทำ
นามภีษมะ มาจากรากศัพท์สันสกฤต ภี หรือ ภีษ “ทำให้ตกใจ” อำนาจอันน่าคร้ามเกรงนี้ #ทำให้สิ่งที่สะท้อนจากบรมวิญญาณ (อภัส ไจตันยะ) #กลายมาเป็นลักษณะของตน #คล้ายกับว่าขาดจากบรมวิญญาณ_แต่หันมาสัมพันธ์กับโลก — นั่นคืออำนาจของธรรมชาติที่ปลุกกลไกของร่างกายที่สงบอยู่ภายในให้กลับมีชีวิตและแสดงออก ดังที่ได้พรรณนาไว้ในสงครามจิตใจ ว่าอหังการหรือภีษมะเป็นปฏิปักษ์ตัวยงของฝ่ายปาณฑพ ซึ่งทำให้เกิดความกลัวในจิตใจของกองกำลังฝ่ายจิตวิญญาณที่จักระในไขสันหลัง ที่ดิ้นรนกลับสู่บรมวิญญาณ เพื่อสถาปนาอาณาจักรจิตวิญญาณทิพย์ขึ้นมา
'อัสมิตา' ของปตัญชลี ซึ่งเป็นกิเลสขั้นที่สองนั้น มาจากศัพท์สันสกฤต อสมิ “ฉันเป็น/ฉันคือ” แสดงความเป็นตัวตน เหมือนกับอุปมาภีษมะในคีตา
จิตสำนึกของมนุษย์ในความฝันแสดงภาพลักษณ์ได้อย่างหลากหลาย ทั้งมนุษย์ สัตว์ และ สิ่งของ และในความฝันนั้นเขาให้ความเป็นตัวตนของเขาได้ในทุกรูปทุกอินทรีย์ เขาให้มนุษย์ในฝันแต่ละคนยืมอหังการของเขาไปใช้ เพื่อว่าทุกสิ่งที่ เขากระทำ คิด เดิน พูดคุยกับผู้ฝัน เป็นการกระทำของชีวาตมันที่มี “วิญญาณ” ของตนเอง ทั้งๆที่ทุกคนล้วนถูกสร้างจากจิตและวิญญาณของนักฝันพระองค์เดียวกัน
ทำนองเดียวกัน พระเจ้าในสุบินนิมิตแห่งพระองค์ ทรงสามารถกลายเป็น ดิน ดาว แร่ธาตุ ต้นไม้ สัตว์ และวิญญาณมนุษย์อย่างหลากหลาย #พระเจ้าทรงให้ยืมจิตของพระองค์เพื่อการดำรงของสรรพสิ่งในจักรวาลฝันแห่งพระองค์ — #แต่มนุษย์รู้สึกราวกับว่า_พวกเขาเป็นตัวตนอิสระที่แยกต่างหากจากพระเจ้า
ปตัญชลีพรรณนากิเลสของปัจเจกมนุษย์ไว้ดังนี้ “อสมิตะ (อหังการ) #คือการที่ผู้เห็นคิดว่าตนเป็นสิ่งเดียวกับการเห็น”★ — 'อหังการ' เกิดขึ้นเมื่ออาตมัน (วิญญาณ) หรือ ผู้เห็น (ฉายาของพระเจ้าในมนุษย์) #ลืมปรมาตมัน_แล้วกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับอำนาจการรับรู้และการกระทำของกายและจิต — อสมิตะ จึงกลายเป็นจิตที่ผู้เห็น (วิญญาณหรือธรรมชาติจอมปลอมของวิญญาณ ซึ่งก็คืออหังการ) #มองเสมือนว่าตนกับอำนาจปัญญาของจิตเป็นสิ่งเดียวกัน
★ โยคะสูตร 2:6
🔳 #กายอหังการ_ต่อสู้กับ_ทิพยอหังการ 🔳
'ระดับความหลง' หรือ 'ระดับปัญญาในการแยกแยะ' ย่อมขึ้นอยู่กับธรรมชาติการแสดงออกของ “ความเป็นฉัน” — ถ้าสัมพันธ์กับอินทรีย์หยาบและอายตนะ (กายหยาบกับโลกวัตถุ) “ความเป็นฉัน” ก็จะกลายเป็น 'กายอหังการ' ที่ทำลายปัญญา — ถ้าสัมพันธ์กับการเห็นและความรู้ที่ประณีตในกายทิพย์ “ความเป็นฉัน” ก็จะกลายเป็นสำนึกที่กระจ่างชัด กลายเป็น 'ทิพยอหังการ' — ซึ่งธรรมชาติที่แท้อาจได้รับผลกระทบในทางร้ายจากอำนาจความลวงของโลกธรรมชาติ หรืออาจจะเป็นไปในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ สามารถปรับไปกันได้กับญาณปัญญาของกายเหตุ และเมื่อนั้นแล้วมันก็จะกลายเป็นปัญญาอหังการ
เมื่อ “ความเป็นฉัน” แสดงออกด้วยสหัชญาณปัญญาบริสุทธิ์แห่งกายทิพย์ มันจะกลายเป็นอหังการปัญญาพิสุทธิ์ (ทิพยอหังการ) หรือ #การแสดงออกในขั้นสูงสุด_คือ_วิญญาณ_ภาพสะท้อนของบรมวิญญาณในปัจเจกบุคคล — #วิญญาณหรือปัจเจกสำนึกอันบริสุทธิ์_รู้ถึงอัตลักษณ์แห่งบรมวิญญาณซึ่งทรงพลานุภาพและสถิตทั่วทุกที่ทุกกาล #จึงใช้เพียงกายกับจิตเป็นหนทางสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งสร้างทั้งปวง – คัมภีร์ฮินดูจึงกล่าวว่า ✴️“เมื่อ 'ฉัน' นี้ตาย ฉันจึงรู้ว่าฉันเป็นใคร”✴️
✴️ในบริบทของโศลกนี้ ที่กำลังพรรณนาถึงกองกำลังจิตใจของฝ่ายเการพ อหังการจิตของภีษมะได้ถูกอธิบายไว้เป็นนัยในลักษณะของทิพยอหังการ หรือ การเห็นแจ้งภายใน จิตนี้ตรงกันกับรูปละเอียดของมนินทรีย์ (มนัส) ปัญญา (พุทธิ) และอารมณ์ (จิตตะ) เมื่อผู้ภักดีก้าวหน้ามาถึงขั้นนี้ ทิพยอหังการหรืออหังการเห็นแจ้งภายในนี้ จะส่งผลอย่างรุนแรง เมื่อมนินทรีย์ฉุดมันออกภายนอกไปเข้ากับฝ่ายเการพ แต่ถ้าสมาธิเป็นฝ่ายชนะ “ความเป็นฉัน” (อสมิตะ) หรืออหังการเห็นแจ้งภายใน จะก้าวไปสู่จิตวิญญาณมากขึ้น เป็นเครื่องมือของกายเหตุและกายทิพย์ และสุดท้ายแล้วก็จะกลายเป็นวิญญาณ หรือปัจเจกสำนึกอันพิสุทธิ์★✴️
★อ่านเพิ่มเติมใน “อรรถาธิบายเพิ่มเติม : ธรรมชาติของอหังการ,” บทที่ 1 : 11;  สัสมิตสัมปชัญญ สมาธิ และอสัมปชัญญสมาธิ, บทที่ 1 : 15–18 และ การแยกแยะอหังการกับวิญญาณ, บทที่ 7 : 5–6
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา