30 พ.ค. 2021 เวลา 06:29 • ประวัติศาสตร์
#24 The Brain Club : History เคยมีการนำช้างมาสู้รบในสงครามโลกจริงหรือไม่
ภาพถ่ายจากปี 1914 ปีแรกที่สงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มปะทุ เป็นภาพทหารอเมริกันกำลังนั้งยิงปืนกลบนตัวช้าง ที่คาดว่าเป็นสายพันธุ์ช้างศรีลังกา
ถือเป็นภาพที่แปลกประหลาดมาก เปรียบเสมือนการทำยุทธหัตถี หรือการทำสงครามบนหลังช้างตามประวัติศาสตร์สงครามในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่เราคุ้นเคยกันดี เพียงแต่ปรับให้เป็นยุคใหม่ โดยการใช้อาวุธหนักยุคใหม่แทน
อาวุธในภาพคือปืนกลรุ่น M1895 Colt-Browning มีชื่อเล่นที่รู้จักกันดีว่า " Potato Digger " สาเหตุของชื่อมาจากภาพจำเวลานำมาใช้งาน ที่บางสถานการณ์จะต้องนำขาตั้งเจาะฝังลงไปในพื้นดินเพื่อเตรียมพร้อมยิงนั้นเอง
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ช้างคือสัตว์ที่ถูกใช้เพื่อสู้รบในสงครามมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากเป็นสัตว์มีรูปร่างสูงใหญ่ที่สุดบนบก และมีพละกำลังมหาศาล จึงทำให้ได้เปรียบในการสู้รบ สามารถข่มขวัญกองทหารม้า และพลทหารของศัตรูได้ดี แต่การกำเนิดของอาวุธดินปืนในช่วงศตวรรษที่ 15 ความได้เปรียบของช้างศึกในสงครามก็ลดน้อยลง
บทบาทของช้างในสงครามจึงเปลี่ยนแปลงไป ออกจากแนวหน้ามาทำงานแนวหลังแทน มีการใช้ช้างเป็นเครื่องทุ่นแรงในการบรรทุก ขนส่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของขนาดใหญ่แทน
ปืนกลรุ่น M1895 Colt-Browning
จนกระทั่งในช่วงศตวรรษที่ 20 การมาของยานยนตร์ที่เริ่มแพร่หลายมากขึ้น ทำให้บทบาทของช้างลดลงอีกครั้ง จนแถบจะไม่มีการนำช้างมาฝึกใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามโลกที่มีเทคโนโลยีทันสมัยมากมายกำเนิดขึ้น
เห็นจะมีก็แต่เพียงเรื่องราวที่โด่งดังของช้างพม่าที่มีส่วนร่วมในการต่อสู้กับญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งถ้าหากมีโอกาสสโมสรสมองจะนำเขียนให้อ่านครับ
จึงพอสรุปได้ว่า ภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพในสนามการสู้รบจริงๆ เพราะจากบันทึกของกองทัพสหรัฐไม่เคยพบการนำช้างมาใช้งาน และอีกปัจจัยสำคัญที่สุดคือ ช้างเป็นสัตว์ที่มีประสาทการรับรู้เสียงดีมากๆ การยิงปืนกลใกล้หูขนาดนี้ คงไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา