5 มิ.ย. 2021 เวลา 12:11 • ประวัติศาสตร์
“เขมรพระนคร” หนึ่งในความยิ่งใหญ่ของโลกยุคโบราณ
5
สถาปัตยกรรม เป็นศิลปะที่ถ่ายทอดออกมาผ่านสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของสิ่งก่อสร้างนั้นๆ...
3
สถาปัตยกรรม ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงเจตนารมณ์ ความนึกคิด ความเชื่อ รวมถึงอุดมการณ์ของผู้สร้างสรรค์...
3
สถาปัตยกรรม บางทีจึงสื่อถึงอำนาจและความชอบธรรมของผู้สร้างสรรค์...
อำนาจที่ได้หลอมรวมความรู้สึกนึกคิดของผู้คนให้ไปในทางที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการ...
1
อำนาจที่แสดงถึงความสำเร็จและความยิ่งใหญ่ในยุคสมัยของผู้สร้างสรรค์...
1
ทุกท่านครับ นี่คือเรื่องราวการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่ทั้งสวยงาม อลังการ พิศดาร และลึกลับ...
2
เรื่องราวของกลุ่มคนในยุคโบราณที่ล้ำหน้าทางวิศวกรรม...
2
เรื่องราวของอำนาจและความเชื่อที่สถาปนาสิ่งก่อสร้างเชิงสัญลักษณ์....
เรื่องราวของอาณาจักรที่เป็นศูนย์รวมของสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมแห่งเทพเจ้า...
เรื่องราวของผู้สร้างสรรค์ที่หลอมรวมความเชื่อเหล่านั้นเข้ากับสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่...
ชัยวรมันที่ 2...
ยโศวรมันที่ 1
สุริยวรมันที่ 1...
สุริยวรมันที่ 2...
4
ชัยวรมันที่ 7...
2
หริหราลัย...
1
เทวราชา...
พนมบาเค็ง...
พนมกุเลน...
1
เขาพระสุเมรุ...
ยโสธรปุระ...
1
ปราสาทบันทายศรี...
นครวัด...
นครธม...
ปราสาทบายน...
และนี่ คือเรื่องราว “เขมรพระนคร” หนึ่งในความยิ่งใหญ่ของโลกยุคโบราณ
โปรดนั่งลงเถิดครับ แล้วผมจะเล่าให้ฟัง...
4
ภาพจาก Cycling in Cambodia
ก่อนที่เราจะไปรับรู้เรื่องราวของเขมรพระนคร เราควรต้องไปทำความรู้จักกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแถบแผ่นดินใหญ่กันก่อน เพื่อที่ทุกท่านจะไ้ด้เข้าใจความเป็นมาของเขมรพระนครมากขึ้น...
3
ก่อนที่เขมรพระนครจะผงาดขึ้นมานั้น ดินแดนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างก็มีอารยธรรมและอาณาจักรโบราณอยู่ก่อนแล้ว โดยอารยธรรมเหล่านั้นมักเกิดขึ้นตามลุ่มแม่น้ำที่สำคัญของภูมิภาค
2
ไม่ว่าจะเป็นในแถบแม่น้ำกาลาดาน ที่ได้ก่อเกิดอารยธรรมของอาระกันหรือยะไข่ขึ้นมา...
แม่น้ำอิระวดี ซึ่งมีอารยธรรมของพวกพยูตั้งอยู่...
1
แม่น้ำสาละวิน ก็ได้ก่อเกิดอารยธรรมของมอญขึ้น...
2
แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ก็มีการพบร่องรอยของอาณาจักรโบราณอย่างทวารวดี...
1
และข้ามไปในแถบแม่น้ำโขง (บริเวณกัมพูชา ลาว ภาคอีสานของไทย และเวียดนามตอนใต้) ก็ได้เกิดอาณาจักรโบราณขึ้นมาเช่นกัน คือ อาณาจักรฟูนัน และอาณาจักรเจนละ...
2
โดยอาณาจักรฟูนันกับอาณาจักรเจนละที่ว่านี้แหละครับ คือต้นกำเนิดของเขมรพระนคร...
2
ภาพจาก Bee Ree (อารยธรรมและอาณาจักรโบราณก่อนเขมรพระนคร)
เรามาพูดถึงฟูนันกันก่อนนะครับ โดยฟูนันที่ว่า เป็นอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอำนาจว่ากันว่าอยู่ที่เมือง “ออกแก้ว” ซึ่งอยู่บริเวณแม่น้ำโขงตอนล่าง ซึ่งถือได้ว่าเมืองออกแก้วเป็นเมืองท่าที่สำคัญของแถบนี้ในยุคโบราณเลยล่ะครับ...
4
เมื่อศูนย์กลางอำนาจเป็นเมืองท่าที่สำคัญ การค้าจึงเฟื่องฟู และสามารถกระตุ้นให้คนในอาณาจักรผลิตพืชผลมากยิ่งขึ้น จนระบบการทำงานเริ่มมีความสลับซับซ้อน
3
ฟูนันจึงเจริญเติบโตมั่งคั่งอย่างรวดเร็วจนหลุดพ้นจากความเป็นชนเผ่า กลายไปเป็นรัฐและอาณาจักรในที่สุด (แต่ก็ไม่ใช่อาณาจักรที่ใหญ่โตอะไรมากมาย)
8
เมืองออกแก้ว เป็นเมืองท่าที่รับการค้าจากต่างแดนเข้ามาและอีกด้านหนึ่งก็เป็นเมืองท่าที่รับสิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรม” จากต่างแดนเข้ามาด้วย
5
โดยวัฒนธรรมที่เข้ามาผสานและทรงอิทธิพลต่อฟูนันมากที่สุด คือ “วัฒนธรรมอินเดีย”
ความเป็นอินเดียได้หลั่งไหลเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองของฟูนัน
ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเรื่องฮินดูและพุทธ...
การใช้ภาษาสันสกฤต...
สถาปัตยกรรมแบบอินเดีย...
พระพุทธรูปแบบอินเดีย...
คำลงท้ายเรียกกษัตริย์ว่า “วรมัน”...
รวมถึงความเชื่อเรื่องจักรวาลและเขาพระสุเมรุ...
1
แต่แล้วหลังจากยุคของฟูนัน ก็เกิดความไม่สงบ เจอทั้งศึกภายในบ้าง ศึกภายนอกบ้าง จนอาณาจักรได้แตกซอยออกเป็น 2 ส่วน คือ
2
เจนละบก...
และเจนละน้ำ...
แน่นอนครับว่า ความเป็นฟูนันได้ถูกถ่ายทอดไปสู่ความเป็นเจนละ แต่ทว่าทั้งเจนละบกและเจนละน้ำก็ไม่ได้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยทั้งสองเจนละก็ต่างมีแว่นแคว้นที่ไม่ได้ยอมสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์องค์เดียว
2
ซ้ำร้ายกว่านั้น ในเวลาต่อมาชวาได้มีแพลนในการขยายอาณาจักรของตนเอง โดยมีการรุกรานตีเอาตังเกี๋ย แล้วตีเอาอันนัมใต้ ซึ่งมีการบรรยายลักษณะของชาวชวาที่มารุกรานได้น่าสะพรึงกลัวสุดๆเลยล่ะครับว่า
“พวกนี้เป็นพวกมนุษย์กินคน มีชีวิตอยู่ด้วยการกินอาหารที่น่าขยะแขยงยิ่งกว่าซากศพมนุษย์ พวกนี้มันดุร้าย ผอมและดำน่ากลัว” (จารึกโพนคร)
2
และแล้ว ชวาก็ได้รุกรานพร้อมครอบครองเจนละในที่สุด...
2
เจนละได้ถูกชวาปกครองไปพักใหญ่ๆ จนกระทั่งได้มีเจ้าชายองค์หนึ่งซึ่งมาจากชวา โดยเจ้าชายองค์นี้ว่ากันว่ามีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับราชวงส์ในแถบเจนละ
3
ซึ่งเจ้าชายองค์นี้นี่แหละครับ ที่เป็นผู้มาปลดแอกรวบรวมดินแดนและแว่นแคว้นในแถบเจนละให้เป็นหนึ่งเดียว พร้อมประกาศอิสรภาพจากชวา และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ที่มีนามว่า...
3
“ชัยวรมันที่ 2”
และนี่แหละครับ คือ ปฐมบทของอาณาจักรเขมรยุคพระนคร...
4
ภาพจาก wikiwand (ศิลปกรรมและวัฒนธรรมฟูนัน)
ภาพจาก Pinterest (ภาพจำลองจินตนาการชัยวรมันที่ 2)
อย่างที่ผมได้เล่าไปครับว่า ชัยวรมันที่ 2 มีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับดินแดนแถบเจนละ และอาจมีเลือดเนื้อเชื้อไขของเชื้อพระวงศ์ด้วย...
เนื่องจากความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในแถบเจนละ ทำให้สายสกุลของชัยวรมันที่ 2 ต้องหลบหนีไปยังชวา
แต่แล้วในที่สุด ชัยวรมันที่ 2 ก็ได้หวนกลับมายังเจนละอีกครั้งใน ค.ศ.800 ซึ่งเป็นช่วงกลียุคที่ถูกปกครองโดยชวา อีกทั้งแว่นแคว้นต่างๆยังรบพุ่งกันเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่
1
ชัยวรมันที่ 2 ก็ได้กระโดดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแย่งชิงนั้น โดยเริ่มสร้างกองกำลังและตั้งตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ โดยอ้างสายเลือดเชื้อพระวงศ์ของตนเอง พร้อมสร้างแว่นแคว้นหนึ่งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางอำนาจของตนเองที่เมืองอินทรปุระ จนก่อเกิดเป็นอาณาจักรเขมรที่มั่นคงขึ้นมา...
3
และในช่วงเวลาที่อยู่ในอินทรปุระนี่แหละครับ ชัยวรมันที่ 2 ก็ได้พบกับพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อ ศิวไกวัลย์ ซึ่งจะกลายเป็นผู้ติดตามชัยวรมันที่ 2 ไปทุกหนทุกแห่ง และเป็นผู้ที่สร้างความเชื่อแบบใหม่ขึ้น ซึ่งจะทรงอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ไปอีกยาวนาน
2
ความเชื่อที่ว่า คือ “เทวราชา” นั่นเองครับ
แต่ก่อนที่จะไปพูดถึงเรื่องเทวราชา เราควรวกกลับมาถึงเรื่องราวการรวบรวมดินแดนของชัยวรมันที่ 2 กันก่อน...
1
เมื่อสร้างศูนย์กลางอำนาจที่เมืองอินทรปุระได้แล้ว ชัยวรมันที่ 2 ก็ได้พยายามตีรวบเอาแว่นแคว้นต่างๆเข้ามาอยู่ในอาณัติของตนเอง
2
และเมื่ออาณาจักรและเขตอำนาจเริ่มใหญ่โตขึ้น ก็มีการย้ายศูนย์กลางอำนาจใหม่ โดยไปที่บริเวณตำบลร่อลวยและสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาชื่อว่า “หริหราลัย”
1
หลังจากที่สร้างศูนย์กลางอำนาจใหม่ที่หริหราลัยแล้ว ดินแดนที่เป็นแว่นแคว้นซึ่งแต่ก่อนแตกแยกรบพุ่งกัน ก็เริ่มถูกกำราบให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของชัยวรมันที่ 2
2
แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า ดินแดนต่างๆส่วนใหญ่ที่ยอมอยู่ภายใต้อำนาจของชัยวรมันที่ 2 นั้น แค่เพียงเพราะว่า “กลัวพวกชวา” แต่กลับไม่ได้ยอมรับชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์หรือเจ้าเหนือหัวของตนเองจริงๆ เพราะดินแดนเหล่านี้ก็ต่างมีกษัตริย์ปกครองอยู่ก่อนแล้ว
1
ชัยวรมันจึงคิดแล้วคิดอีกว่า “จะทำอย่างไรให้ผู้คนในดินแดนต่างๆยอมรับตนเองในฐานะกษัตริย์?”
4
ศิวไกรวัลย์จึงได้ปิ๊งไอเดียขึ้นมา “ง่ายนิดเดียวเองท่าน ก็สร้างตัวของท่านเองให้เหนือกว่ากษัตริย์ทั้งปวงซะสิ โดยการเปลี่ยนตัวของท่านจากกษัตริย์ธรรมดาทั่วไป ให้กลายเป็นเสมือนเทพเจ้า”
5
ดังนั้น จึงได้เกิดแนวคิดที่เอาอำนาจของกษัตริย์ไปผูกกับความศักดิ์สิทธิ์แบบฮินดู...
และแล้วพิธีกรรมการสร้างกษัตริย์ให้กลายเป็นเทพเจ้าก็ได้เริ่มขึ้น โดยใช้ความเชื่อเรื่องศูนย์กลางอำนาจของฮินดู คือ เขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นใจกลางของจักรวาล
1
โดยมีการจำลองเขาพระสุเมรุ โดยใช้ยอดเขาพนมกุเลนในการทำพิธีกรรม...
1
พิธีกรรมที่ว่านี้ เป็นการที่พราหมณ์ซึ่งเป็นผู้ติดต่อโดยตรงกับเทพเจ้า (ซึ่งเน้นไปที่พระศิวะ) จะเป็นผู้มอบวัตถุศักดิ์สิทธิ์จากเทพเจ้าให้กับกษัตริย์
2
ซึ่งวัตถุศักดิ์สิทธิ์ที่ว่าหลายท่านคงจะเดาออกว่ามันคือ “ศิวลึงค์” นั่นเองครับ
6
ดังนั้น ศิวลึงค์จึงเป็นสัญลักษณ์ที่ผูกกษัตริย์อย่างชัยวรมันที่ 2 เข้ากับเทพเจ้า...
1
สถานะของชัยวรมันจึงไม่ใช่เป็นเพียงกษัตริย์ท้องถิ่นต๊อกต๋อยทั่วไป...
2
แต่ได้กลายเป็นกษัตริย์ที่อยู่เหนือกษัตริย์ทั้งปวง ที่ได้ผูกพระราชอำนาจเข้ากับความศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า ก่อกำเนิดเป็น “เทวราชา” ขึ้นมาในที่สุด...
5
ภาพจาก Chronology of Cambodia History (พิธีกรรมมอบศิวลึงค์ให้กับกษัตริย์)
ภาพจาก OFF TRACK tour (พนมกุเลน)
หลังจากที่ได้สร้างสถานะของกษัตริย์ให้กลายเป็นเทพเจ้าแล้ว ชัยวรมันที่ 2 ก็ได้นำศิวลึงค์กลับไปที่หริหราลัย แล้วประกาศอิสรภาพจากชวาพร้อมขับไล่พวกชวาออกไปจากดินแดน
ชัยวรมันที่ 2 ครองราชย์อยู่ถึง 48 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่แนวคิดเทวราชาได้เริ่มซึบซาบเข้ากับอาณาจักร จนสามารถถ่ายทอดสู่กษัตริย์องค์ต่อๆมา
4
จนกระทั่งมาถึงในสมัยของยโศวรมันที่ 1 ซึ่งได้วางแพลนที่จะย้ายเมืองหลวงจากหริหราลัยไปที่อื่น แล้วในที่สุดก็ได้ตัดสินใจสร้างเมืองหลวงใหม่ขึ้นมาซะเลย
โดยที่ตั้งของเมืองหลวงใหม่นั้นอยู่ตรงกลางระหว่างพนมกุเลนและโตนเลสาบ ซึ่งยโศวรมันที่ 1 ได้เล็งเห็นครับว่าจุดนี้แหละเป็นจุดที่เหมาะสม เพราะหากไปตั้งเมืองใกล้โตนเลสาบมากเกินไป ช่วงฤดูน้ำหลากที่น้ำจะไหลจากพนมกุเลนลงสู่โตนเลสาบจะทำให้น้ำท่วมเมืองได้
3
แต่หากตั้งเมืองออกห่างจากโตนเลสาบมาอีกหน่อย เมืองก็จะรอดพ้นจากน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากได้ ส่วนเรื่องปัญหาว่าจะไม่มีน้ำใช้เพราะอยู่ห่างจากโตนเลสาบ ก็ได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีกักเก็บน้ำขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นวิศกรรมที่ค่อนข้างล้ำหน้าสุดๆในสมัยนั้นเลยล่ะครับ
4
โดยเทคโนโลยีที่ว่า คือ บาราย นั่นเองครับ...
6
ยโศวรมันที่ 1 ได้สั่งให้สร้างบารายซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดมหึมาขึ้นมาในเมืองหลวงใหม่ เพื่อแก้ปัญหาขาดน้ำ...
1
อีกทั้งยังไม่ลืมถึงการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ที่ยกสถานะของกษัตริย์ตั้งแต่ยุคชัยวรมันที่ 2 โดยการนำศิวลึงค์มาที่เมืองหลวงใหม่นี้ด้วย พร้อมกับสร้างเมืองล้อมรอบเนินเขาที่ชื่อว่าพนมบาเค็ง ซึ่งเป็นการจำลองให้พนมบาเค็งเป็นเขาพระสุเมรุนั่นเอง...
5
หลายท่านอาจสงสัยว่าเขาพระสุเมรุคืออะไรกันแน่? ผมขออนุญาตใช้พื้นที่ตรงนี้อธิบายความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุกันซักหน่อย...
1
โดยเขาพระสุเมรุที่ว่านี้เป็นความเชื่อของทั้งพุทธ ฮินดู และเชนครับ
1
โดยศาสนาเหล่านี้ต่างมีความเชื่อว่า “ที่ๆเราอาศัยอยู่เป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล โดยลักษณะของจักรวาลนั้นจะแบ่งเป็นทิศ 4 ทิศ ซึ่งแต่ละทิศจะมีมหาทวีปทั้ง 4 ตั้งอยู่ ซึ่งที่ๆมนุษย์อาศัยจะเรียกว่า ชมพูทวีป โดยเป็นทวีปที่อยู่ทางทิศใต้
อีกทั้งในแต่ละทิศ ยังมีมหาสมุทรทั้ง 4 ล้อมรอบ ผนวกกับมีภูเขาซึ่งเรียกว่ากำแพงจักรวาลล้อมรอบทิศทั้ง 4 เช่นกัน...
1
และใจกลางของทั้งมหาทวีป มหาสมุทรและกำแพงจักรวาลนั้น ก็คือ “เขาพระสุเมรุ” ซึ่งเป็นสวรรค์และที่อยู่อาศัยของเทพเจ้านั่นเองครับ
1
ดังนั้น เมืองหลวงแห่งใหม่ของยโศวรมันที่ 1 จึงเป็นเหมือนการย่อจักรวาลตามความเชื่อของฮินดูขึ้นมา โดยมีพนมบาเค็งเปรียบเหมือนกับเขาพระสุเมรุ และมีแม่น้ำเสียมเรียบไหลผ่านอยู่รอบๆเมืองเปรียบเป็นมหาสมุทรทั้ง 4 และตัวของยโศวรมันที่ 1 ก็ได้ประทับอยู่ ณ ศูนย์กลางของจักรวาลแบบเทพเจ้า
ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนั้น เป็นต้นกำเนิดของเมืองที่ชื่อว่า “ยโศธรปุระ” ซึ่งจะกลายเป็นเมืองศูนย์กลางอำนาจของเขมรยุคพระนครนั่นเองครับ...
จักรวาลตามความเชื่อของฮินดู พุทธ และเชน
ภาพจากขุนเดชวิทยายุทธ (ยโศธรปุระ ซึ่งมีพนมบาเค็งอยู่ใจกลาง)
ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม (พนมบาเค็ง)
ภาพจาก Locationscout (พนมบาเค็งจำลองเขาพระสุเมรุ)
เมื่อยโศวรมันที่ 1 ได้สร้างเมืองยโศธรปุระขึ้นมาแล้ว ก็เกิดติดลมครับ เสพติดการก่อสร้างขึ้นมา โดยสั่งให้มีการก่อสร้างวิหารบนภูเขาทุกลูกที่อยู่ใกล้เมืองหลวง ซึ่งที่ขึ้นชื่อสุดๆ คือ เขาพระวิหารซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมระดับเอ ที่สร้างบนเขารูปสามเหลี่ยมยื่นออกมาจากพนมดงเร็ก...
1
หลังยุคของยโศวรมันที่ 1 ค่านิยมการก่อสร้างวิหารใหญ่โตก็เริ่มบูมขึ้นในกษัตริย์รุ่นต่อๆมา และรูปแบบของศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมก็เริ่มแอดวานซ์ขึ้นเรื่อยๆ...
4
แต่ทว่าภายในราชสำนักก็มีการแย่งชิงอำนาจกัน ซึ่งนับได้ว่าเขมรพระนครเป็นยุคที่ราชสำนักมีการนองเลือดกันหลายครั้งหลายคราเลยทีเดียวครับ
2
ถึงขนาดทำให้กษัตริย์องค์หนึ่ง คือ ชัยวรมันที่ 4 ถึงกับทนความตึงเครียดในราชสำนักไม่ไหว ทำการย้ายเมืองหลวงไปบริเวณที่เรียกว่า “เกาะแกร์”
1
แต่พอย้ายเมืองหลวงมาแล้ว รุ่นลูกของชัยวรมันที่ 4 อย่างหรรษาวรมันที่ 2 ก็ยังไม่พ้นจากการถูกยึดอำนาจครับ โดยราเชนทรวรมันที่ 2 ได้เตะหรรษาวรมันที่ 2 ตกจากบัลลังก์ไป แล้วย้ายเมืองหลวงกลับไปที่ยโศธรปุระอีกครั้ง...
1
จนมาถึงรุ่นลูกของราเชนทรวรมันที่ 2 คือ ชัยวรมันที่ 5 ซึ่งการเมืองภายในเริ่มสงบลง ความบ้าการก่อสร้างและการขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมเขมรจึงกลับมาอีกครั้ง จนทำให้ยุคนี้กลายเป็นยุคทองของวิทยาการเขมรเลยทีเดียว
4
โดยผลงานที่สำคัญของยุคนี้ คือ “ปราสาทบันทายศรี”
3
โดยปราสาทบันทายศรีนั้นไม่ใช่ความคิดของกษัตริย์ แต่กลับเป็นความคิดของพราหมณ์ที่ได้ขออนุญาตกษัตริย์ในการสร้างปราสาทเพื่อบูชาพระศิวะ ทำให้ลักษณะของสถาปัตยกรรมมีความแตกต่างจากสิ่งก่อสร้างของกษัตริย์
2
ตั้งแต่ขนาดปราสาท ที่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับปราสาทอื่นๆของกษัตริย์...
1
มีการใช้หินทรายสีชมพูในการก่อสร้าง...
รวมถึงการแกะสลักหินซึ่งแสดงออกถึงศักยภาพสูงสุดของศิลปกรรมเขมร...
5
จนทำให้แม้ปราสาทบันทายศรีจะเป็นปราสาทที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่กลับถูกยกให้เป็นปราสาทที่มีความสวยงามมากที่สุดในบรรดาปราสาทและวิหารของเขมรยุคพระนครเลยทีเดียวครับ...
3
ภาพจาก Sonasia Holiday (ปราสาทเขาพระวิหาร)
ภาพจาก Tourism of Cambodia (ปราสาทเขาพระวิหาร)
ภาพจาก Asean Studies (ปราสาทบันทายศรี)
ภาพจาก The Happy Trip (ศิลปกรรมของปราสาทบันทายศรี)
ภาพจาก Travel Loop (ปราสาทบันทายศรี)
ภาพจาก Hello Angkor (ปราสาทบันทายศรี)
หลังจากยุคชัยวรมันที่ 5 ก็เป็นยุคของอุทัยทิตยวรมันที่ 1 แต่ก็เป็นช่วงสั้นๆเท่านั้น เมื่อมีเจ้าชายจากต่างแดน (สันนิษฐานว่าจากอาณาจักรตามพรลิงค์) ได้เดินทางมาที่ยโศธรปุระแล้วอ้างว่า “ข้ามีสายเลือดของราชวงศ์เขมรที่ถูกต้องที่สุด ดังนั้นบัลลังก์จะต้องเป็นของข้าสิ!”
ว่าแล้วเจ้าชายองค์นี้ก็ทำการล้างบางราชวงศ์เก่าจนหมดสิ้น แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์นามว่า “สุริยวรมันที่ 1”
7
ในยุคของสุริยวรมันที่ 1 ก็ยังถือว่าเป็นยุคที่มีโปรเจคการก่อสร้างที่ใหญ่โตไม่แพ้ยุคก่อนๆเลยทีเดียวครับ...
4
ไม่ว่าจะเป็นปราสาทพิมานอากาศ...
1
และปราสาทตาแก้ว...
อีกทั้งสุริยวรมันที่ 1 ยังมีความแตกต่างจากกษัตริย์องค์ก่อนๆ เพราะมีความทะเยอทะยานในการขยายอำนาจของเขมรออกไปโดยการทำสงคราม ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก สามารถยึดครองตามพรลิงค์ มลายู ทวารวดี และลากยาวไปถึงมอญเลยทีเดียว!
4
แต่จากการบ้าสงครามของสุริยวรมันที่ 1 นี่แหละครับ ทำให้ในยุคต่อๆมาอาณาจักรเขมรต้องวุ่นอยู่กับปัญหาการปราบกบฏและการรักษาอาณาเขตอำนาจของตนเองเอาไว้...
3
อีกทั้งในเวลาต่อมานั้น ก็ได้มีมหาอำนาจใหม่เกิดขึ้นมา คือ อาณาจักรพุกาม ทำให้กษัตริย์เขมรต้องทำสงครามเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ในดินแดนและผู้คนกับกษัตริย์พุกาม อย่าง กษัตริย์อโนรธามังช่อและกษัตริย์ครรชิตอยู่บ่อยครั้ง
5
รวมถึงอาณาจักรจามปาก็เริ่มขยายอำนาจและเข้ามารุกรานเขมรพระนคร...
1
แต่ถึงแม้บ้านเมืองจะเกิดสงครามและความไม่สงบ แต่โปรเจคการก่อสร้างก็ไม่ได้ชะงักเลยล่ะครับ ในสมัยของอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ก็ได้มีการสร้างปราสาทบาปวนขึ้นมา เพื่อคงความศักดิ์สิทธิ์ของเทวราชาเอาไว้ และมีการนำศิวลึงค์ทองคำมาไว้ในตัวของปราสาทอีกด้วย
3
แต่การเกิดกบฏ...
การทำสงครามกับพุกามและจามปา...
3
รวมถึงการแย่งชิงอำนาจภายในราชสำนัก...
ทำให้เขมรพระนครเริ่มอ่อนแอลง ความไม่มั่นคงภายในได้เกิดขึ้น เกิดการจราจลและความวุ่นวายภายในอยู่กว่า 30 ปี
1
กษัตริย์หลายองค์ไม่สามารถจัดการความยุ่งยากที่เกิดขึ้นได้เลย จนกระทั่งมีเจ้าชายองค์หนึ่งได้เสนอตัวเองว่า “ปัญหาที่เกิดขึ้นเดี๋ยวตูจัดการเอง!”
2
ว่าแล้วก็ทำการเตะกษัตริย์อย่างธรนินทรวรมันที่ 1 ตกจากบัลลังก์ พร้อมล้างบางราชวงศ์จนเหี้ยนเตียน แล้วทำการสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ใน ค.ศ. 1113 นามว่า...
1
“สุริยวรมันที่ 2”
1
โดยสุริยวรมันที่ 2 นี่แหละครับ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ที่เรืองอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์เขมร...
5
ภาพจาก Visit Angkor (ปราสาทพิมานอากาศ)
ภาพจาก sac (ปราสาทตาแก้ว)
ภาพจาก Trip.com (ปราสาทบาปวน)
สุริยวรมันที่ 2 ได้เรืองอำนาจขึ้นมาพร้อมกับความโชคดีครับ เมื่อกษัตริย์อินทรวรมันที่ 2 ของจามปาและกษัตริย์ครรชิตของพุกามได้สวรรคตไป ทำให้สุริยวรมันที่ 2 ได้โอกาสขยายอำนาจของเขมรออกไปอีกครั้ง โดยเฉพาะทางด้านตะวันออก จนสามารถยึดจามปาซึ่งเป็นเสี้ยนหนามมาอย่างยาวนานได้ในที่สุด...
3
ไม่เพียงแค่นั้น โปรเจคการก่อสร้างของสุริยวรมันที่ 2 นั้นก็ถือได้ว่ายิ่งใหญ่เว่อวังอลังการสุดๆไปเลยล่ะครับ
เพราะสุริยวรมันที่ 2 ได้สั่งให้เกณฑ์แรงงานคนจำนวนมหาศาลมาสร้างปราสาทที่ในเวลาต่อมานั้นกลายเป็นปราสาทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเขมรพระนคร รวมถึงเป็นเทวสถานและศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย...
2
ใช่แล้วครับ ผมกำลังพูดถึงสิ่งก่อสร้างที่ทุกท่านรู้จักกันดีในชื่อ “นครวัด (Angkor Wat)”
1
นครวัดนั้นได้สร้างขึ้นโดยจำลองจักรวาลของฮินดูเหมือนกับการสร้างยโศธรปุระของยโศวรมันที่ 1
2
โดยลักษณะของนครวัดจะมีปรางค์ทั้งหมด 5 ปรางค์ โดยทั้ง 4 มุมจะมีปรางค์ 1 ปรางค์ตั้งอยู่ ส่วนตรงกลางจะเป็นปรางค์ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งทุกท่านคงจะอ๋อในทันทีว่า “ปรางค์ตรงกลางเป็นการจำลองเขาพระสุเมรุนั่นเอง”
1
นอกจากนั้นรอบๆนครวัดยังมีสายน้ำล้อมรอบเปรียบเสมือนมหาสมุทรทั้งสี่ รวมถึงยังมีทางเดินขนาดยาวที่เชื่อมไปสู่ประตูและระเบียงของปรางค์ต่างๆ ซึ่งการเดินเข้าสู่ปรางค์ตรงกลางนั้น จะเป็นการให้ความรู้สึกครับว่า “เรากำลังเดินเข้าสู่ใจกลางของจักรวาล”
2
อีกทั้งนครวัดยังเป็นปราสาทที่มีความแตกต่างจากปราสาทอื่นๆของเขมรพระนคร นั่นคือ...
นครวัดเป็นปราสาทที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก...
3
และนครวัดไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะ แต่สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระวิษณุ...
1
จากลักษณะที่ผมเล่ามานั้น เราสามารถกล่าวได้ว่า “นครวัด ถูกสร้างขึ้นตามความเชื่อในการบูชาพระวิษณุของสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งลัทธิการบูชาพระวิษณุเริ่มบูมขึ้นในอินเดียจนส่งอิทธิพลมาถึงเขมรพระนครในยุคของสุริยวรมันที่ 2 แต่การบูชาพระศิวะก็ยังคงอยู่เหมือนเดิมนะครับ เพียงแต่มีพระวิษณุเข้ามาเป็นคู่แข่งในการตีตลาดด้วยเท่านั้นเอง...”
10
อีกทั้งนครวัดยังสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บพระศพของสุริยวรมันที่ 2 เนื่องจากทิศที่นครวัดหันหน้าไปนั้น คือ ทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศของคนตาย
1
ทำให้นครวัดถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นทั้งเทวสถาน ศาสนสถานและพระราชสุสานนั่นเองครับ...
4
ภาพจาก Wikipedia (ภาพสลักของสุริยวรมันที่ 2 ภายในนครวัด)
ภาพจาก Hidden Achitecture (นครวัด)
ภาพจาก Viator (นครวัด)
ภาพจาก TheArchitect’s Newspaper (นครวัด)
ภาพจาก Photo Cory (ระเบียงที่เชื่อมปรางค์แต่ละปรางค์)
ยุคของสุริยวรมันที่ 2 ได้สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับเขมรพระนคร แต่อีกด้านหนึ่งก็ได้สร้างความอ่อนแอและความเสื่อมให้กับเขมรพระนครเช่นเดียวกัน...
โปรเจคการก่อสร้างที่เว่อวังอลังการได้กลายเป็นพิษร้ายที่กัดเซาะเขมรพระนคร เนื่องจากการสร้างสิ่งที่ใหญ่โตอย่างนครวัดต้องใช้ทั้งทรัพยากรและแรงงานคนมหาศาล ทำให้เศรษฐกิจภายในของเขมรพระนครตกต่ำลง
ประชาชนที่เดือดร้อนและลำบากเพราะถูกเกณฑ์แรงงานมาสร้างนครวัดก็พากันก่นด่ากษัตริย์
จนรวมตัวกันก่อกบฏขึ้นมาหลายครั้งหลายคราเลยทีเดียวครับ
ซึ่งพอสุริยวรมันที่ 2 สวรรคต ดินแดนที่ตกอยู่ใต้การปกครองอย่างจามปาก็แยกตัวประกาศอิสรภาพและพยายามรุกรานเขมรพระนครอีกครั้ง
2
เหมือนสถานการณ์จะวนลูปกลับมาที่เดิม คือ...
2
อาณาจักรอ่อนแอ...
เกิดสงครามภายนอก...
มีการกบฏขึ้นทั่วอาณาจักร...
เกิดการแย่งชิงอำนาจในราชสำนัก...
และก็วนมาที่มีเจ้าชายองค์หนึ่งได้ขึ้นมาขจัดปัญหาทั้งหมด...
โดยเจ้าชายองค์ที่ว่านี้เป็นผู้ที่มาต่อลมหายใจให้กับเขมรพระนครที่กำลังจะเสื่อมสลายลง
เจ้าชายได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ใน ค.ศ.1181 นามว่า “ชัยวรมันที่ 7”
1
ภาพจาก bayon, angkor, cambodia (รูปปั้นชัยวรมันที่ 7)
การขึ้นมาของชัยวรมันที่ 7 ได้ทำให้เขมรพระนครกลับมารุ่งเรืองและกลายเป็นมหาอำนาจอีกครั้ง
2
มีการปราบกบฏและปราบจามปารวบอำนาจของอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว และว่ากันว่าเขมรในยุคนี้ได้ขยายอำนาจออกไปไกลกว่ายุคของสุริยวรมันที่ 2 ซะอีกครับ...
2
อีกทั้งโปรเจคการก่อสร้างก็ไม่น้อยหน้ากษัตริย์องค์อื่นๆเช่นเดียวกัน จากการเกิดสงครามถี่ๆนั้น ชัยวรมันที่ 7 จึงมีแพลนที่จะสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ไม่มีใครสามารถตีแตกได้
2
โดยเมืองที่ว่านั้น มีคูเมืองขนาดใหญ่ล้อมรอบ มีกำแพงที่ก่อด้วยศิลาแลงและมีเนินดินขนาดใหญ่ซ้อนอยู่ด้านใน
และแน่นอนครับ เมื่อสร้างเมืองหลวงใหม่ก็ต้องมีการจำลองจักรวาลแบบฮินดูอีกครั้ง ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือเขาพระสุเมรุซึ่งอยู่ตรงใจกลางของเมือง
1
และนี่ คือต้นกำเนิดของเมืองที่ชื่อว่า “นครธม” ซึ่งใจกลางของเมืองมีการจำลองเขาพระสุเมรุที่เรารู้จักกันดีในชื่อของ “ปราสาทบายน”
4
โดยปราสาทบายนนั้นเป็นปราสาทที่มีเอกลักษณ์มากกี่สุดและให้ความรู้สึกลึกลับและพิศวงมากที่สุดในบรรดาปราสาทของเขมรเลยทีเดียว...
1
ลักษณะของปราสาทบายนนั้น จะมียอดปราสาท 49 ยอด ซึ่งแต่ละยอดจะสลักหน้าคนขนาดมหึมาเอาไว้ทั้ง 4 ด้าน ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการวิเคราะห์และคาดเดากับคำถามที่ว่า “ใบหน้าที่สลักนั้นเป็นใบหน้าของใครกันแน่?”
2
บ้างก็ว่าเป็นพระพรหม เพราะการแกะสลักพระพรหมส่วนใหญ่นั้นจะแกะเป็น 4 หน้า...
บ้างก็ว่าเป็นพระศิวะ เพราะพระศิวะคือสัญลักษณ์ความศักดิ์สิทธิ์ของเทวราชา...
บ้างก็ว่าเป็นพระโพธิสัตย์ เพราะลักษณะของปราสาทบายนเหมือนกับเป็นพุทธสถานมากกว่าเป็นเทวสถาน...
1
บ้างก็ว่าเป็นชัยวรมันที่ 7 เองนั่นแหละที่สั่งให้สลักใบหน้าของตนเองลงบนปราสาทบายน...
1
ซึ่งก็ได้ข้อสรุปที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือที่สุด คือ “เป็นใบหน้าของพระศิวะ พระโพธิสัตย์และชัยวรมันที่ 7 รวมกัน”
เพราะใบหน้าบนปราสาทบายนเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเทวราชา + พุทธราชา (ซึ่งพุทธมหายานเริ่มได้รับความนิยม) + ใบหน้าของชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นทั้งเทวราชาและพุทธราชา รวมถึงการสร้างใบหน้าทั้งสี่ด้าน ก็เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่แสดงว่า “พระราชอำนาจแบบเทวราชาและพุทธราชาของชัยวรมันที่ 7 ได้แผ่ขยายไปทั้ง 4 ทิศทางนั่นเอง”
ภาพจาก Viator (รูปปั้นในนครธม)
ภาพจาก Just Siem Rep (นครธม)
ภาพจาก Best Price Travel (ปราสาทบายน)
ภาพจาก Lonely Planet (ใบหน้าแกะสลักบนปราสาทบายน)
ภาพจาก Grand Bayon Siemreap (ใบหน้าแกะสลักบนปราสาทบายน)
ภาพจาก Vuator (ใบหน้าแกะสลักบนปราสาทบายน)
ภาพจาก Indochina Travel Package (ปราสาทบายน)
นอกจากการสร้างนครธมและปราสาทบายนแล้ว ชัยวรมันที่ 7 ก็ได้สร้างปราสาทอีกหลายๆแห่ง ซึ่งเรียกได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่สร้างเยอะที่สุดเลยก็ว่าได้ครับ (แน่นอนว่าย่อมเกิดปัญหาขึ้นมาภายหลัง) โดยสิ่งก่อสร้างที่เด่นๆนอกจากปราสาทบายนแล้ว ก็ยังมีปราสาทตาพรหมและปราสาทพระขรรค์
1
ชัยวรมันที่ 7 สวรรคตเมื่อไหร่นั้นไม่มีหลักฐานระบุที่แน่นอน แต่เหตุผลในการสวรรคตนั้นเกิดจากโรคร้าย ซึ่งสันนิษฐานครับว่า คือ “โรคเรื้อน”
การถูกโรคร้ายกัดกินนี่แหละครับ ที่ทำให้ชัยวรมันที่ 7 ได้สร้างโรงพยาบาลซึ่งเรียกว่า “อโรคยาศาล” ขึ้นทั่วอาณาจักรเพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยให้ตนเองพ้นจากความเจ็บปวดได้บ้าง...
ซึ่งหลังยุคของชัยวรมันที่ 7 แน่นอนครับว่าเหมือนเกิดเดจาวู...
1
ความบ้าการก่อสร้างของชัยวรมันที่ 7 ทำให้เขมรพระนครเข้าสู่ยุคเสื่อมอีกครั้ง และเป็นความเสื่อมที่ยากจะฟื้นตัวขึ้นมา ทำให้มีการถกเถียงกันจนมองภาพของชัยวรมันที่ 7 ได้เป็น 2 ภาพคือ...
“เป็นกษัตริย์อัจฉริยะที่ฟื้นอำนาจของเขมรพระนครและสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่”
1
กับ “เป็นกษัตริย์ที่โง่เขลา บ้าการก่อสร้างจนไม่ได้เรียนรู้บทเรียนจากอดีต”
1
เขมรพระนครได้ตกต่ำลงเรื่อยๆ กษัตริย์ในฐานะเทวราชาองค์ต่อๆมาก็ได้รับความน่าเชื่อถือน้อยลง จนแทบจะหมดความสำคัญลงเพราะมีความเชื่อแบบใหม่เข้ามาแทนที่ นั่นคือ “พุทธศาสนาแบบหินยาน (เถรวาท)”
ภาพจาก Culture Trip (ปราสาทตาพรหม)
ภาพจาก Trip (ปราสาทพระขรรค์)
การสร้างเทวสถานที่ยิ่งใหญ่ของเขมรพระนครได้เพิ่มอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ตามความเชื่อแบบเทวราชา ก่อเกิดเป็นความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม...
แต่หลังฉากของความยิ่งใหญ่นั้น คือการเกณฑ์แรงงานในการสร้างสถาปัตยกรรมอันมหึมามากมาย ซึ่งในปัจจุบันก็ยังสงสัยอยู่ว่า “ต้องใช้แรงงานคนและทรัพยากรขนาดไหนถึงสามารถเนรมิตสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ขึ้นมาได้”
3
ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยครับว่า ประชาชนได้ถูกปกครองและล้มตายไปอย่างมหาศาลจากการตอบสนองความยิ่งใหญ่ของเทวราชา ซึ่งผู้ที่ได้ผลประโยชน์นั้นมีเพียงราชสำนัก...
1
ทำให้การมาของพุทธศาสนาหินยานซึ่งได้นำเข้าจากลังกาผ่านมอญ พม่า สุโขทัย จนมาถึงเขมรพระนคร ได้ส่งผลกระทบและก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อความเชื่อแบบฮินดูและเทวราชา...
1
พุทธศาสนาหินยานสามารถเข้าถึงประชาชนทั่วไปได้มากกว่าฮินดูและเทวราชาซึ่งเน้นเพียงความศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์...
4
พุทธศาสนาหินยานได้เน้นในความประหยัด ไม่สิ้นเปลือง...
2
ทำให้พุทธศาสนาหินยานนั้นเข้าถึงประชาชนของเขมรโดยปราศจากการต่อต้าน พร้อมกับโค่นล้มความเชื่อแบบฮินดูและเทวราชาลงในที่สุด...
1
ซึ่งกลายเป็นจุดจบทางความเชื่อของเขมรพระนคร...
2
เมื่อความเชื่อได้เปลี่ยนแปลงไป สิ่งก่อสร้างที่เคยพากันสร้างสรรค์ก็ได้จบลงเช่นเดียวกัน...
เหลือเพียงร่องรอยความยิ่งใหญ่ทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในยุคโบราณที่ผ่านพ้นกาลเวลามาจนถึงปัจจุบัน
และนี่ คือเรื่องราว “เขมรพระนคร” หนึ่งในความยิ่งใหญ่ของโลกยุคโบราณ
3
ภาพจาก Mekhong River Cruises
References
Chandler, David. A History of Cambodia. London : Routledge, 2007.
Coedes, George. Angkor. Oxford : Oxford University Press, 1984.
Hall, D.G.E. History of South East Asia. London : Red Globe Press, 1981.
สามารถติดตามได้อีกที่ :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา