31 พ.ค. 2021 เวลา 14:49 • สุขภาพ
🎯วัคซีนSinopharm กับ Sinovac เป็นฝาแฝด Chinese Twins!🎯
2
ทั้งคู่มีโอกาสป้องกันโควิดกลายพันธุ์ได้ดีกว่าจริงหรือไม่?
2
ตอนนี้ทุกคนกำลังตื่นเต้นกับวัคซีน Sinopharm ที่กำลังจะเข้ามาใหม่เป็นทางเลือก ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้ว Sinopharm กับ Sinovac เหมือนกันอย่างแทบจะแยกกันไม่ออกเลยทีเดียวค่ะ
1
Sinopharm กับ Sinovac เปรียบเหมือนพี่น้องฝาแฝด คลานตามกันออกมาจากท้องแม่เดียวกัน เวลาคลอดใกล้เคียงกัน แหล่งต้นกำเนิด และวิธีผลิตแบบเดียวกันเลยค่ะ!
1
เรามาดูว่าเหมือนกันอย่างไร
☀️1. ทั้งคู่ใช้เทคโนโลยี่การผลิตแบบเดียวกันคือเป็น วัคซีนชนิดเชื้อตาย (killed vaccine)
Sinopharm ผลิต Sinopharm COVID-19 vaccine ชื่อ “Sinopharm BBIBP-CorV” โดยใช้ไวรัสสายพันธุ์ WIV04 จาก Jinyintan Hospital, Wuhan ประเทศจีน
1
นำไวรัสมาเลี้ยงใน Vero cell และทำให้ตายโดยใช้ Beta Propriolactone แล้วนำไป adsorb กับ alum บรรจุในน้ำเกลือปราศจากเชื้อปริมาณ 0.5 ml
Sinovac ผลิตวัคซีนป้องกันโควิด ชื่อ “Coronavac” โดยใช้สายพันธุ์ และเทคโนโลยี่ วิธีเดียวกับของ Sinopharm
วัคซีนทั้งคู่ไม่มีเชื้อไวรัส ที่มีชีวิต ใช้กรรมวิธีผลิตแบบดั้งเดิมที่เคยใช้กับวัคซีนชนิดเชื้อ
ตายอื่นๆ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
☀️2. ทั้งคู่ผลิตในประเทศจีน
วัคซีนของ Sinopharm ผลิตโดย China National Pharmaceutical Group เป็นกลุ่มที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของ 100% ก่อตั้งมาตั้งแต่ 26 พฤศจิกายน 1998 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปักกิ่ง
1
ส่วนวัคซีน Coronavac ผลิตโดยบริษัท Sinovac Biotech Co.Ltd เป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ เริ่มก่อตั้งเมื่อ 2001 ในประเทศจีน
2
เห็นไหมคะว่าทำไม Sinopharm กับ Sinovac จึงเป็นฝาแฝด ก็ออกมาจากท้องแม่เดียวกันเวลา ในเวลาใกล้เคียงกัน นั่นเองค่ะ
2
ทีนี้ฝาแฝดออกมาแล้วต่างก็มีวิถีทางของตนเองเรามาดูว่า เขาไปเริ่มต้นชีวิตกันที่ไหน อย่างไร
☀️Sinopharm☀️
เพิ่งลงรายงานการศึกษา เบื้องต้น การทดลองในphase 3 ใน JAMA network 26 May 2021 นี้เอง (อ้างอิง 1)
ทำการศึกษาทดลอง phase 3 ที่ศูนย์การแพทย์หลายแห่ง ใน บาห์เรน อียิปต์ จอร์แดน และ UAE (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เป็นการศึกษา ชนิด double blind randomized clinical trial เพื่อดู ประสิทธิผล และความปลอดภัยของวัคซีนในผู้ใหญ่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี ที่สุขภาพแข็งแรง
ออกแบบการศึกษา โดย China National Biotech Group Company Limited โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายที่ทำจากสายพันธุ์ WIVO4
กลุ่มที่ 2 ใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายที่ทำจากสายพันธุ์ HBO2
กลุ่มที่ 3 (กลุ่มควบคุม) ใช้aluminium hydroxide ที่เป็น alum ในวัคซีน
ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 21 วัน
ดูประสิทธิผลโดย ดูเคสที่เป็นโควิด 19 ที่มีอาการ ในช่วงเวลาอย่างน้อย 14 วันหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่ 2
2
นำข้อมูล มาศึกษาวิเคราะห์ เบื้องต้นจาก ศูนย์แพทย์ใน UAE และ บาห์เรน มีจำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษา 40,411 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ฉีด WIVO4 จำนวน 13,470 คน
กลุ่มที่ 2 ฉีด HBO2 จำนวน 13,470 คน
กลุ่มที่ 3 (กลุ่มควบคุม)ฉีดแต่ alum ในวัคซีน(ไม่มีไวรัส) จำนวน 13,471
เก็บข้อมูลถึง 20 ธันวาคม 2020 นำมาวิเคราะห์ พบว่า กลุ่มศึกษาอายุเฉลี่ย 36.1 ปี เป็นผู้ชาย 84.4% ส่วนใหญ่ (94.6%) ได้รับวัคซีน 2 โด๊ส ได้รับการติดตามอย่างน้อย 1 ครั้ง หลังจากวันที่14 นับจากการฉีดเข็มที่ 2
ระยะเวลาติดตามเฉลี่ย77 วัน
กลุ่ม 1 WIVO4 พบคนเป็นโควิดชนิดมีอาการ 26 ราย
กลุ่ม 2 HBO2 พบโควิดชนิดมีอาการ 21 ราย
กลุ่ม 3 alum เท่านั้น พบโควิดชนิดมีอาการ 95 ราย
นำมาคำนวณประสิทธิผล(efficacy)ของวัคซีนเทียบกับยาหลอก(alum)ได้ดังนี้
1
กลุ่ม WIVO4 72.8% กลุ่ม HBO2 78.1 %
พบ2รายที่เป็นโควิดที่มีอาการรุนแรง อยู่ในกลุ่มที่3 ส่วนกลุ่มวัคซีนไม่พบโควิดรุนแรงเลย
อาการไม่พึงประสงค์ หลังจากฉีดแต่ละเข็ม 7 วัน พบ 41.7-46.5%ในทั้ง 3 กลุ่ม อาการรุนแรงพบได้น้อยมากในทั้ง 3 กลุ่ม(0.5% ในกลุ่ม 1 , 0.4% ในกลุ่ม 2 และ 0.6 % ในกลุ่ม 3 )ส่วนใหญ่เป็นอาการไม่รุนแรง grade 1-2 เป็นชั่วคราว หายเอง ไม่ต้องรักษาเป็นพิเศษ
1
อาการที่พบบ่อยสุดคือ ปวดบริเวณที่ฉีด (24.3% ในกลุ่ม 1, 19.4% ในกลุ่ม2 และ 27.9% ในกลุ่ม 3)
ตามด้วยอาการปวดศีรษะ (12.9%,13.1% และ12.6%)
1
ระหว่างวันที่ 8-28 หลังฉีด อาการไม่พึงประสงค์ไม่เพิ่มขึ้น
ผลการศึกษาวัคซีนชนิดเชื้อตายสายพันธุ์ WIVO4 ของบริษัท Sinopharm พบว่ามีประสิทธิผล 72% ซึ่งจะนำไปเปรียบเทียบโดยตรงกับวัคซีนที่ทำโดยวิธีอื่นๆไม่ได้ เพราะ
1.platform หรือวิธีที่แตกต่างกัน กลไกที่วัคซีนจะเข้าไปทำงานในร่างกายก็ต่างกัน
2.ลักษณะของประชากรที่ทำการศึกษาแตกต่างกัน เช่น เชื้อชาติ อายุ สุขภาพ
3.ปริมาณเชื้อไวรัสโควิดที่อยู่ในแต่ละแหล่งจำนวนไม่เท่ากัน
4.มีเชื้อที่กลายพันธุ์อยู่มากน้อยไม่เท่ากัน ณ ขณะนั้น
การศึกษา นี้ทำในประเทศ ตะวันออกกลางซึ่งมีอัตราการติดเชื้อโควิดต่ำกว่าการศึกษาวัคซีนชนิดอื่นๆ และกลุ่มศึกษาก็เป็นกลุ่มหนุ่มสาว ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย
การนำผลการศึกษานี้ไปปรับใช้งานในที่อื่นๆจึงมีข้อจำกัดคือ
1.ไม่ได้ศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ และคนที่อายุน้อยกว่า 18 ปี
2.การศึกษาทดลองนี้ทำในคนอายุน้อยที่มีสุขภาพดี ไม่มีข้อมูลในผู้หญิง ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง
3.พบเคสที่มีอาการหนักเพียง 2 ราย จึงยังประเมินการป้องกันโรครุนแรงไม่ได้
4. ยังตอบคำถามไม่ได้ว่า การให้วัคซีนชนิดเชื้อตายจะช่วยป้องกันการติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือไม่
1
การศึกษานี้ยังคงดำเนินการเก็บข้อมูล ต่อไปเพื่อดูผลในระยะยาวด้วย
☀️วัคซีนชนิดเชื้อตาย มีโอกาสป้องกันเชื้อโควิดกลายพันธุ์ได้ดีกว่าวัคซีนชนิด mRNA และ viral vector จริงหรือไม่☀️
1
วัคซีนชนิดเชื้อตายนำเอาไวรัสทั้งตัว ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนทั้ง 4 ชนิดของไวรัสโควิดคือ S spike
E Envelope
M Membrane และ
N Nucleocapsid
ตามทฤษฎี เมื่อร่างกายรับวัคซีนเชื้อตาย และสร้างภูมิต้านทาน จึงมีโอกาสสร้างภูมิสำหรับโปรตีนทั้ง 4 ตัวนี้
สมมุติว่ามีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง S protein ร่างกายยังมีภูมิสำหรับโปรตีน E M N ที่ยังพอจะกำจัดเชื้อได้
1
เปรียบเหมือนมีอาวุธหลายชนิดไว้ต่อสู้กับไวรัส ดังที่ Prof .Luk O’Neil ศาสตราจารย์ด้าน Biochemistry ของ School of Biochemistry and Immunology ที่ Trinity College,Dublin กล่าวให้สัมภาษณ์ไว้ว่า
“การใช้ไวรัสทั้งตัวทำวัคซีน มีภูมิต้านทานที่เปรียบกับอาวุธหลายอย่างต่อส่วนต่างๆของไวรัส” (อ้างอิง3)
นักวิจัยค้นพบว่า คนที่เพิ่งหายจากการติดเชื้อโควิด มี antibodyต่อ N (Nucleocapsid protein)ขึ้นสูงกว่า S Spike protein แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าจะช่วยในการป้องกันโรคได้หรือไม่อย่างไร ในอนาคตจึงควรมีการศึกษาการนำ N protein มาพัฒนาวัคซีนรุ่นต่อๆไป
1
ส่วนวัคซีน ชนิดใหม่ๆที่ใช้ mRNA เข้าไปในเซลล์ ให้สร้างเฉพาะ S protein ตัวเดียว ออกไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต่อ S เท่านั้น
วัคซีนจากเชื้อทั้งตัว มีทั้ง S E M N proteinจึงมีแนวโน้มจะต่อต้านเชื้อกลายพันธุ์ได้ดีกว่าวัคซีนที่ผลิตจากโปรตีนเพียงหนึ่งตัว คือS Spike protein (วัคซีนกลุ่มนี้คือ mRNA vaccine -
Pfizer และ Moderna )
2
แต่อย่างไรก็ตาม นี่ยังเป็นเพียงทฤษฎี ต้องติดตามดูในชีวิตจริงว่าผลวัคซีนแต่ละตัวต่อเชื้อกลายพันธุ์จะเป็นอย่างไร
☀️สรุป☀️
1.BBIBP-CorV (Sinopharm)ใช้เทคโนโลยีที่เหมือนกับ Coronavac (Sinovac) เป็นวัคซีนป้องกันโควิดชนิดเชื้อตาย ที่ผลิตจากไวรัสทั้งตัว ผลิตจากประเทศจีนทั้งคู่
2.วัคซีนโควิดของSinopharm ชนิดที่ทำจากสายพันธุ์ WIVO4 มีประสิทธิผล 72.8% ต่อการติดเชื้อโควิดชนิดมีอาการ และจากสายพันธุ์ HBO2 มีประสิทธิผล 78.1%
3.วัคซีนป้องกันโควิดชนิดเชื้อตาย มีโอกาสต่อต้านเชื้อกลายพันธุ์ได้ดีกว่าวัคซีนชนิดที่ให้ร่างกายสร้างภูมิต่อโปรตีน S (Spike protein )เท่านั้น
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ Sinovac ได้ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ
1
ถอดความ และเขียนบทความโดย
พญ ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล กุมารแพทย์
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา