31 พ.ค. 2021 เวลา 10:57 • ไลฟ์สไตล์
💉💊💊💊รีวิวเวรเภสัชกรโรงพยาบาลว่างานที่ต้องทำอะไรบ้างนะคะ💊💊💊💉
เภสัชโรงพยาบาลในที่นี้ที่ทำงานอยู่เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จะขอแบ่งเป็นเวรเภสัชโรงพยาบาล
😷ห้องยาผู้ป่วยใน vs ห้องยาผู้ป่วยนอก😷
นะคะ ซึ่งเราเองไม่ได้ฟิกซ์ห้องยาว่าอยู่ห้องยาไหน แต่จะเวียนไปทุกห้องยา ส่วนใหญ่จะอยู่ห้องยานอกมากกว่าค่ะ
เวรที่รพ.จะมีอยู่หลายช่วงเวลาค่ะ แบ่งเป็นเวร เช้า บ่าย ดึก ห้องยานอกจะเปิด 24 ชั่วโมง
จะมีเวรหลายช่วงเวลา เช่น
7.00-16.00
8.00-17.00
9.00-19.00
เวรบ่ายจะมีแต่จากเวรเช้าแล้วแต่ตารางอาจจะมีเลิก
19.00,20.00,21.00,22.00 ค่ะ
เวรดึกก็คือ 21.00-7.00 ค่ะ
#เวรห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน
-เวรเช้าสุดที่เข้างาน 7.00 ต้องเช็คยาเสพติดในสต็อคห้องยาใน
-ตรวจสอบยา Emergency
ถ้ามีการใช้ยาในกล่องยาฉุกเฉิน คือยาช่วยชีวิตที่แต่ละหวอดจะใช้เวลาที่มีเคสฉุกเฉิน เคสที่ผู้ป่วย arrest ต้องปั๊มหัวใจ ช่วยชีวิต ถ้ามีเคสทางรพ.จะมีการประกาศโค้ดลับ เพื่อให้ผู้ช่วยเภสัชเอากล่องยาฉุกเฉินไปให้ที่หวอดคนไข้ บางแผนกก็มีกล่องยาฉุกเฉินสตอคสำรองไว้เลย เพื่อให้หมอใช้ยาฉุกเฉินได้รวดเร็วไม่ต้องรอเบิกจากห้องยา ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน พอใช้เสร็จหวอดหรือหอผู้ป่วยจะนำกล่องยามาเปลี่ยน เพื่อเอากล่องยาฉุกเฉินที่เติมลงไปตามจำนวนที่กำหนด เช็ควัน เดือน ปี วันหมดอายุในกล่องยาทุกครั้ง
- ตรวจสอบ order ยาที่แพทย์สั่งให้ผู้ป่วยขณะแพทย์ราวน์หวอด ถ้ามีปัญหาเรื่องยา ขนาดยาเหมาะสมหรือไม่ เช็คอันตรปฏิกิริยาระหว่างยา วิธีบริหารยา คนไข้มีประวัติแพ้ยาไหม ความถูกต้อง เหมาะสมของยาทุกอย่าง การผสมยา ขนาดยาเหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้นๆหรือไม่ ต้องดูโรคประจำตัวคนไข้เหมาะสมไหม ค่าตับ ค่าไตและการปรับขนาดยา น้ำหนักคนไข้ อายุคนไข้ และอื่นๆอีกมากมาย ถ้ามีปัญหาเภสัชกรก็จะปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการใช้ยาอีกครั้ง หรือเรียกว่า consult แพทย์เพื่อ confirm order ยาที่แพทย์สั่งใช้
- เช็คยาต่างๆที่แพทย์ order ขึ้นหวอด
- กรณีมีเคสแพ้ยาที่กำลังแพ้ หรือเรียกว่าแพ้ยา New case เภสัชกรก็จะขึ้นไปประเมินการแพ้ยา และบันทึกลงในระบบรพ. ออกบัตรแพ้ยาให้คนไข้
-รายงานความเสี่ยงในการทำงานในระบบรพ.
- จ่ายยาให้ผู้ป่วยกลับบ้าน และสอนใช้ยาเทคนิคพิเศษต่างๆ เช่น สอนฉีดยาอินซูลินคือยาลดระดับน้ำตาลในเลือดในคนไข้โรคเบาหวาน สอนใช้ยาพ่นคอในผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ยาหยอดยา ยาป้ายตา ยาเหน็บช่องคลอด ยาเหน็บทวารหนัก ยาพ่นจมูก เป็นต้น
- เช็ครายการยา เวชภัณฑ์ที่มีการมาผ่าตัดที่รพ. หรือเรียกว่า OR case
- ตัดจ่ายยาเสพติดในกรณีที่แพทย์สั่งใช้ในคนไข้ที่อยู่ที่หวอด
#เวรห้องยาผู้ป่วยนอก
- เวรเช้าเช็คยาเสพติด
- ดูการสุ่มตรวจ error ใบสั่งยา
- ลงรายงานความเสี่ยง error จากการทำงานในห้องยา
- ลงประวัติแพ้ยาในเคสที่คนไข้แจ้งแพ้ยาที่เป็นประวัติยาเดิม
- ตรวจสอบยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้คนไข้ โดยเภสัชกรที่ตรวจสอบยากับเภสัชกรที่จ่ายยาจะเป็นคนละคนกัน เพื่อเป็นการ double check เพื่อลด error ในการทำงาน
- จ่ายยาตามใบสั่งแพทย์
- ถ้ามีปัญหาเรื่องในยาก็ consult แพทย์ ประเด็นที่ดูก็เหมือนกันกับห้องจ่ายยาผู้ป่วยในค่ะ
- ถ้ามีเคสแพ้ยาเภสัชกรก็ไปประเมินแพ้ยา บันทึกประวัติแพ้ยาในระบบรพ. ออกบัตรแพ้ยาให้คนไข้
- ตรวจสอบยา stat ที่แพทย์สั่งยาให้คนไข้ คือ แพทย์จะมีการให้คนไข้ขณะอยู่รพ. เช่น อาจจะมียาฉีด ให้น้ำเกลือ การให้ยาลดความดันโลหิต ขณะที่คนไข้ไปรพ.แล้วมีความดันสูง หรือสูงมากจนอาจจะเกิดอันตรายกับคนไข้ แล้วแพทย์อาจจะสังเกตอาการคนไข้จนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือคงที่แพทย์จึงสั่งยากลับบ้านให้คนไข้ แล้วแต่กรณี หรือถ้าอาการคนไข้อาการไม่ดีขึ้น แพทย์ก็จะให้คนไข้นอนรพ. admit ขึ้นหวอดคนไข้ค่ะ
งานเภสัชรพ.ที่ต้องทำก็จะประมาณนี้นะคะ
ใครที่สงสัยหรืออยากสอบถามประเด็นไหนก็ comment ใต้โพสต์ได้นะคะ
ขอบคุณที่ติดตามนะคะ
ฝากกดไลค์กดแชร์ด้วยนะคะ 😍🤩👏😷😷😷

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา