Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นิทานของคุณพ่อ
•
ติดตาม
1 มิ.ย. 2021 เวลา 13:21 • ครอบครัว & เด็ก
พ่อเลวสอนลูก EP. 4 - อย่ายึดติดกับ “ความดี” Part. 2
อะไรคือความดี…..
ในอดีต
การมีทาสคือสิ่งที่ถูกต้อง
การที่ผู้หญิงมีสิทธิทางสังคมต่ำกว่าผู้ชายคือสิ่งที่ควร
“คนดำ” ควรมีสิทธิน้อยกว่า “คนขาว”
ปัจจุบัน แนวคิดเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ดีอีกต่อไปแล้ว
สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ‘ความดี’ ในสังคมนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
นี่คือเหตุผลที่ทำไมเราถึงไม่ควรยึดติดกับความดีรูปแบบใดรูปแบบหนี่ง
หลายครั้งที่การยึดติดกับ ‘ความดี’ นำมาสู่การกระทำ ‘สิ่งไม่ดี’ เพียงเพื่อต้องการปกป้องความดีที่ตนเชื่อ
สงครามกลางเมืองอเมริกา เกิดขึ้นเพราะฝ่ายหนึ่งต้องการให้การมี ‘ทาส’ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง
การฆ่าล้างชาวทุดซี่ ก็ทำไปเพราะเชื่อว่าสิ่งนั้นเป็น ‘ความดี’
การรุมประชาทัณฑ์นักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ก็เกิดขึ้นเพราะคนเหล่านั้นคิดว่าการทำสิ่งนั้นคือ ‘ความดี’
เพราะ ‘ความดี’ นั้นมีพลังที่จะทำให้คน ‘ทำเลว’ ได้โดยไม่รู้สึกผิด ผู้มีอำนาจส่วนใหญ่จึงพยายามสร้าง ‘ความดีสำเร็จรูป’ และผูกตัวเองติดอยู่กับมัน เพื่อให้ตนนั้นมีความชอบธรรมในการ ‘ทำเลว’
เขาใช้การศึกษา เพื่อให้คนในสังคมผูกติดคุณค่าของตนอยู่กับ ‘ความดี’ ในแบบที่เขาสร้างขึ้น
สร้างกลไกที่ทำให้เห็นว่า ‘คนดี’ ต่อให้ ‘ทำเลว’ ก็เป็นที่ยอมรับของสังคม
การตบตีผู้หญิง ในสายตาคนทั่วไปคือการ ‘ทำเลว’
แต่ถ้าคุณทำเพื่อปกป้อง ‘ความดี’ ในแบบที่ผู้มีอำนาจต้องการ การทำเลวจะทำให้คุณเป็น ‘คนดี’ ไปโดยปริยาย
ดังนั้น การสอนลูกให้ไม่ยึดติดกับความดีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อที่จะไม่ให้เขาต้องตกเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจในวันที่เขาเติบโตไป
วิธีที่ง่ายที่สุดในการให้ลูกไม่ผูกติดคุณค่าของตัวเองกับความดี คือการสอนให้เขารู้จักตั้งคำถาม ซึ่งการที่จะทำให้เขารู้จักตั้งคำถาม คุณต้องตอบคำถามให้เป็นด้วย เช่น
ลูกถามว่า “ทำไมเราต้องสวัสดี”
พ่อดีทั่วไปอาจจะตอบว่า “มันเป็นมารยาท”
แต่เผอิญผมมันเป็นพ่อเลวนี่สิ ซึ่งผมตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องของมารยาททางสังคมมาโดยตลอด และไม่เคยมีผู้ใหญ่ให้คำตอบผมได้จนผมหาคำตอบได้เองตอนโต ดังนั้น สิ่งที่ผมจะสอนคือ
“เราจะสวัสดีหรือไม่ก็ได้ แต่เราก็ต้องยอมรับผลที่จะตามมา เช่นผู้ใหญ่อาจจะไม่เอ็นดูเราและวันหลังก็จะไม่ทักทายหรือเล่นกับเราอีก ลูกชอบแบบนั้นหรือไม่ ถ้าคนที่หนูรู้จักเดินผ่านไปโดยไม่ทักทาย หนูจะชอบหรือไม่?”
คำอธิบายอาจจะดูเสียเวลา แต่ผมเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ละครับคือรากฐานของการสอนให้เขาโตไปเป็นเด็กที่ใช้เหตุและผล เพราะการตอบคำถามแบบแรก เขาจะจำเพียงว่าสิ่งเหล่านี้ต้องทำเพียงเพราะมันคือ ‘มารยาท’ เท่านั้น แต่เขาจะไม่เข้าใจว่าการทำตามมารยาทนั้นสำคัญอย่างไร ทำไมเราถึงควรที่จะทำตามมัน แต่ต้องยอมรับว่าจะมีในบางกรณีที่เขาจะยอมรับกับผลที่มันเกิดขึ้นกับมันได้และเลือกที่จะไม่ทำตามที่เราต้องการเช่นกันนะครับ 5555
นอกจากนี้ การสอนแบบดังกล่าวจะเป็นการสอนให้ลูกกระทำในสิ่งต่าง ๆ โดยมีเหตุผลในการรองรับมากกว่าที่ทำไปเพราะมันเป็น ‘สิ่งที่ดี’ เฉย ๆ แต่จะเป็นการสอนเขาว่ามัน ‘ดี’ เพราะอะไร เรื่องนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่มารยาท แต่ต้องอยู่ในคำถามต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่นวันนี้ลูกผมจะเอาของเล่นที่เป็นไม้ลงไปในสระน้ำ ซึ่งไม่ต้องการที่จะให้เขาเอาลงเพราะมันจะเปื่อยและเล่นไม่ได้อีก แต่แทนที่ผมจะสั่งห้ามเฉย ๆ ผมพาเขาไปดูที่วางรองเท้าที่เป็นไม้และอยู่กลางแจ้งโดยชี้ให้เห็นว่าถ้าไม้โดนน้ำจะเป็นอย่างไร ถ้าลูกไม่เชื่อ เดี๋ยวพ่อจะทดลองให้ดูโดยการเอาของเล่นชิ้นนั้นแช่น้ำไว้ในแก้ว แต่มันจะเล่นไม่ได้อีกนะ ลูกอยากลองหรือไม่ (ผมยอมเสียของเล่นเพื่อให้ลูกได้เรียนรู้นะครับ) แต่สุดท้ายเขาก็เลือกที่จะไม่ลองและเชื่อผม
เมื่อไรที่คุณรู้จักตั้งคำถามกับสิ่งต่าง ๆ เมื่อนั้นมันก็ยากที่คุณจะผูกคุณค่าของตัวเอง
ตามค่านิยม ‘ความดี’ ของสังคม
ค่านิยมปี 2556 ‘คนดี’ ต้องเป่านกหวีด
ค่านิยมปี 2564 ‘คนดี’ สำหรับคนบางกลุ่ม ต้องไม่เคยเป่านกหวีดมาก่อน
ถ้าเรารู้จักตั้งคำถาม คุณจะไม่ไหลไปกับกระแสสังคม
คนนิสัยแย่แค่ไหน แต่พอเป่านกหวีดมันก็ถือว่าเป็นคนดีได้จริงหรือ?
ทำไมคนเสื้อแดงถึงยังเชื่อในทักษิณทั้ง ๆ ที่เขาเป็นคนไม่ดี?
ทำไมคนเป่านกหวีดจะเปลี่ยนความคิดไม่ได้ ในเมื่อเราก็เห็นอยู่ว่าการศึกษาของเรามันหล่อหลอมมาแบบไหน?
คนที่เปลี่ยนความคิด มันจำเป็นที่จะต้องออกตัวแบบเศร้าเสียใจขออภัยร่ายยาวอย่างเดียวจริงหรือ?
คำถาม จะทำให้คุณตกผลึกทางความคิด
เมื่อคุณตกผลึกทางความคิด คุณก็จะมี ‘จุดยืน’ เป็นของตัวเอง
ดังนั้นจงอย่าสอนให้ลูกคุณเชื่อใน ‘ความดี’ แต่จงสอนให้เขาตั้งคำถามกับมัน
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
พ่อเลวสอนลูก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย