Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นิทานของคุณพ่อ
•
ติดตาม
25 พ.ค. 2021 เวลา 17:07 • ครอบครัว & เด็ก
พ่อเลวสอนลูก EP. 3 - อย่ายึดติดกับ “ความดี” Part. 1
สำหรับพ่อที่ดีส่วนใหญ่ คงไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการสอนลูกให้เป็น “คนดี”
แต่สำหรับ “พ่อเลว” อย่างผม สิ่งที่สำคัญกว่าการสอนให้ลูกเป็นคนดีนั้นคือการอย่าไปยึดติดกับ “ความดี”
ผมเริ่มตั้งคำถามกับความดีครั้งแรกตอนเป็นเด็กราว ๆ อนุบาลที่ถูกสอนให้วัดค่าของผู้หญิงจากพรหมจรรย์จากการดูหนังหรือละครสักเรื่องนี่ละครับ เพราะสิ่งที่ผมได้รับรู้ในสังคมกลับเห็นว่าผู้ชายทำไมถึงไม่โดนชี้วัดด้วยเกณฑ์เดียวกันบ้าง พอมีอะไรกัน กลายเป็นว่าผู้ชายไม่เสียอะไร แต่ผู้หญิงกลับถูกตราหน้าว่าเป็นคนไม่ดีเสียอย่างนั้น
พอโตมาได้เรียนรู้เรื่องพุทธศาสนาก็เกิดความสงสัยขึ้นอีกเพราะผมเห็นว่ามันเป็นวิชาที่ “น่าเบื่อมาก” เพราะทุกครั้งที่ผมตั้งคำถาม ผมจะถูกตราหน้าว่าเป็น “มารศาสนา” ในทันที แต่มันก็น่าสงสัยจริง ๆ นะครับว่าทำไมเวลาทำบุญต้องเขียนชื่อถึงจะได้ผล อ่านคำสอนทุกบทก็ไม่เคยเห็นคำสอนให้ไหว้พระพุทธรูป การอุตริมนุสธรรมก็เป็นอาบัติขั้นปาราชิก แต่ก็เห็นใบ้หวยกันอยู่เรื่อย ๆ
ส่วนเหตุการณ์ที่ผมเลือกที่จะเป็น “คนเลว” ก็มาจากสถานการณ์ทางการเมืองในปี 2556-2557 ซึ่งกระแสของสังคมรอบตัวผมนั้นมองว่าถ้าเป็น “คนดี” คุณต้องไปเป่านกหวีด แต่จากที่ผมได้เห็นแนวความคิดและการกระทำต่าง ๆ ของคนที่เรียกตัวเองว่าเป็น “คนดี” ผมไม่ลังเลใจที่จะยอมเป็น “คนเลว” เลยแม้แต่น้อย และเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่จะสอนลูกไม่ให้ยึดติดกับ “ความดี”
ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องความดีต่อไป เราต้องกล่าวถึงทฤษฏีความต้องการของมาสโลว์ก่อน
มาสโลว์ได้สรุปความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ขั้น ดังนี้
1. ความต้องการพื้นฐานหรือปัจจัย 4
2. ความปลอดภัยในร่างกายและทรัพย์สิน
3. การเป็นที่รักและยอมรับ
4. ความต้องการมีคุณค่า
5. ความสมบูรณ์ของชีวิต
โดยเมื่อคนเราสามารถเติมเต็มความต้องการของตนเองในขั้นที่ 1 ได้แล้ว ก็จะต้องการเติมเต็มความต้องการของตัวเองในลำดับขั้นตอนต่อไป อย่าไรก็ตาม บางทีความต้องการในขั้นที่สุงกว่าก็สามารถเอาชนะความต้องการในขั้นที่ต่ำกว่าได้ เช่นเด็กต้องการความรักจากพ่อแม่มากกว่าความต้องการเรื่องความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งส่วนของความดีนั้นจะเกี่ยวข้องกับขั้นตอนที่ 3 และ 4 คือการเป็นที่รักและยอมรับ และความต้องการมีคุณค่า
การเป็นที่รักและยอมรับนี่เองที่ทำให้คนจำนวนมาเลือกที่จะทำตามกระแสสังคม โดยเชื่อว่าสิ่งนั้นคือความดีและหาเหตุผลอื่น ๆ มาสนับสนุนความชอบธรรมในการกระทำของตน เช่นวัยรุ่นเล่นยาเสพติดเพราะอยากเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน สำหรับวัยรุ่น การเป็นที่ยอมรับในหมู่เพื่อนนั้นก็เพียงพอที่จะเติมเต็มความต้องการของเขาแล้ว แต่ในภาพใหญ่ สิ่งที่เราสามารถเห็นได้ชัดที่สุดคือการประท้วงในปี พ.ศ. 2556 – 2557 ที่แกนนำได้อาศัยความดีสำเร็จรูปที่ได้ปลูกฝังมาใช้ในการปลุกปั่นให้คนเชื่อว่าสิ่งที่เขาทำอยู่นั้นคือ “ความดี” และหลายคนเลือกที่จะไม่ตั้งคำถามกับความดีเหล่านั้นเพียงเพราะเห็นว่ามันได้รับการยอมรับจากสังคม ทั้งยังลดคุณค่าคนที่คิดต่างด้วยวาทกรรมที่เขาสร้างขึ้นมานั่นเอง
สำหรับผม ถึงแม้จะไม่ชอบใจกับการเป็นคนดีตามกระแสสังคม แต่สิ่งที่อันตรายกว่าคือการที่เราหรือลูกของเราผูกคุณค่าของตัวเองกับความดีเพียงรูปแบบเดียว เช่นผู้หญิงบางคนให้คุณค่ากับพรหมจรรย์ของตนมาก พอเสียพรหมจรรย์ไปทำให้รู้สึกไม่มีคุณค่าในตัวเอง (Google คำว่า depression after losing virginity ได้ครับ) ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าเราไม่ยึดติดกับมัน แต่อย่างที่ได้เขียนไว้ข้างต้นว่ามนุษย์เราทุกคนนั้นต้องการที่จะรู้สึกมีคุณค่า และคนบางส่วนจะรู้สึกมีคุณค่าเมื่อเขาได้เป็น “คนดี” ตามความดีสำเร็จรูปที่เคยได้ถูกปลูกฝังมา จึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นคนบางส่วนพยายามจะปกป้องสิ่งที่เขาถูกปลูกฝังว่ามันคือ “ความดี” แม้หลาย ๆ ทีจะดูไม่ Make Sense ก็ตาม
ดังนั้นหากเราเพียงสอนลูกให้เป็น “คนดี” โดยที่ไม่เข้าใจเรื่องความดี เขาก็จะมีโอกาสที่จะกลายเป็นคนดีซึ่งไหลไปตามกระแสสังคมเท่านั้น ในตอนต่อไปผมจะกล่าวถึงว่า “ทำไม” เราถึงไม่ควรยึดติดกับความดีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และจะทำอย่างไรให้ลูกเราไม่ผูกคุณค่าของตัวเองกับ “ความดี” ครับ
ช่วงโฆษณา
ตอนนี้หมดมุขครับ 555 ถ้าใครมีอะไรอยากให้ช่วยโปรโมตสามารถติดต่อมาทาง Inbox ได้นะครับ (แต่อ่านช้าหน่อยนะครับ) เดี๋ยวจะช่วยโปรโมทให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ช่วงนี้เข้าใจทุกท่านครับว่าน่าจะลำบากกันถ้วนหน้า ถึงเพจผมจะมีคน Like เพียง 600 แต่ก็อยากช่วยทุกท่านเท่าที่จะทำได้ครับ
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
พ่อเลวสอนลูก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย