3 มิ.ย. 2021 เวลา 05:21 • ประวัติศาสตร์
“แกรนด์ดัชเชสอานาสตาเซีย นีคาลายีฟนา แห่งรัสเซีย (Grand Duchess Anastasia Nikolaevna of Russia)” เจ้าหญิงผู้ถูกแอบอ้างกับปริศนาการรอดชีวิตจากการสังหารหมู่
1
“แกรนด์ดัชเชสอานาสตาเซีย นีคาลายีฟนา แห่งรัสเซีย (Grand Duchess Anastasia Nikolaevna of Russia)” เป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องใน “จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (Nicholas II of Russia)” พระประมุของค์สุดท้ายแห่งรัสเซีย
4
พระเจ้าซาร์และครอบครัวถูกปลงพระชนม์หมู่โดยตำรวจลับของบอลเชวิคในปีค.ศ.1918 (พ.ศ.2461)
ขณะที่ถูกปลงพระชนม์นั้น เจ้าหญิงอานาสตาเซียมีพระชนม์เพียง 17 พรรษา และก็มีข่าวลือตามมาว่าสมาชิกในราชวงศ์บางคนนั้นรอดชีวิต และหนีออกมาได้ โดยผู้ที่ถูกลือมากที่สุดก็คือเจ้าหญิงอานาสตาเซีย
เจ้าหญิงอานาสตาเซียเกิดในปีค.ศ.1901 (พ.ศ.2444) ที่พระราชวังเปเตียร์กอฟ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเป็นพระราชธิดาองค์ที่ 4 ใน “จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (Nicholas II of Russia)” กับ “จักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนา แห่งรัสเซีย (Alexandra Feodorovna)”
ครอบครัวโรมานอฟ
องค์เหนือหัวทั้งสองแห่งรัสเซียได้ทรงเลี้ยงดูพระราชบุตรอย่างธรรมดาที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะให้ทุกคนนอนบนเตียงที่ไม่มีหมอน น้ำที่อาบก็เป็นน้ำเย็น และทุกคนต้องทำความสะอาดห้องด้วยตัวเอง อีกทั้งเหล่าข้าราชบริพารก็เรียกเด็กๆ ด้วยพระนามธรรมดา
เจ้าหญิงอานาสตาเซีย ทรงเป็นเจ้าหญิงที่ร่าเริง เปี่ยมไปด้วยพลังตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระองค์มีพระเนตรสีฟ้า พระเกษาสีบลอนด์ และเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของผู้ที่ได้พบเห็น
หากแต่พระองค์ก็ดื้อรั้น ไม่สนพระทัยในการเรียนเท่าที่ควร และมักจะซน ชอบทำอะไรรุนแรงจนหลายๆ คนขยาด ไม่ว่าจะเป็นการแกล้งเหล่าข้าราชบริพาร รวมทั้งไม่เชื่อฟังพระอาจารย์
2
ในเวลาต่อมา “กริกอรี รัสปูติน (Grigori Rasputin)” สามัญชนและเป็นผู้วิเศษ ผู้ที่องค์จักรพรรดินีทรงเคารพนับถือเนื่องจากสามารถรักษาอาการประชวรของ “อเล็กเซย์ นีโคลาเยวิช ซาเรวิชแห่งรัสเซีย (Alexei Nikolaevich, Tsarevich of Russia)” ได้ใกล้ชิดและมีบทบาทในราชวงศ์
เหล่าพระราชบุตรโรมานอฟ ได้ถูกสั่งสอนให้เชื่อฟังและเคารพรัสปูติน และรัสปูตินก็มักจะเขียนจดหมายและส่งโทรเลขมาถวายเหล่าพระราชวงศ์อยู่เสมอ
กริกอรี รัสปูติน (Grigori Rasputin)
ความสนิทสนมของรัสปูติน เริ่มจะหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ เช่น มีอยู่ครั้งหนึ่ง รัสปูตินได้เข้าไปในห้องบรรทมของเหล่าพระราชธิดา ซึ่งในขณะนั้นได้แต่งองค์ด้วยชุดบรรทมแล้ว สร้างความตระหนกให้แก่เหล่าพระพี่เลี้ยงเป็นอย่างมาก
ข่าวลือเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัสปูตินกับพระราชวงศ์นั้น เป็นที่ร่ำลือไปทั่ว โดยลือกันว่ารัสปูตินได้มีสัมพันธ์กับจักรพรรดินีและพระราชธิดาทั้งสี่พระองค์
แต่ถึงจะมีข่าวลือไม่ดี แต่เหล่าพระราชวงศ์ก็ยังคงนับถือและใกล้ชิดกับรัสปูติน จนกระทั่งรัสปูตินถูกสังหารในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.1916 (พ.ศ.2459)
ภายหลังการตายของรัสปูติน พระราชธิดาทั้งสี่ของพระเจ้าซาร์ก็ได้เสด็จไปร่วมงานศพ และไว้ทุกข์ประทานแก่รัสปูติน
ศพของรัสปูติน
ภายหลังการตายของรัสปูตินไม่นาน เจ้าหญิงอานาสตาเซียและครอบครัวก็ถูกคุมองค์ไปประทับยังพระราชวังอเล็กซานเดอร์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1917 (พ.ศ.2460) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการปฏิวัติรัสเซีย
ในเดือนมีนาคมของปีนั้น พระเจ้าซาร์ได้ทรงสละราชสมบัติ และพรรคบอลเชวิค ก็ได้เข้ามาคุมอำนาจในรัสเซีย และมีคำสั่งให้ย้ายเหล่าพระราชวงศ์ไปประทับยังไซบีเรีย
จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ทรงสละราชสมบัติ
ขณะถูกคุมองค์โดยพรรคบอลเชวิค เจ้าหญิงอานาสตาเซียก็ยังทรงร่าเริง
พระองค์ทรงจัดแสดงละครในบ้านที่ประทับ สร้างความรื่นเริงให้สมาชิกพระองค์อื่นๆ แม้แต่ทหารยามหลายคนก็ชอบพระองค์
2
ในปีค.ศ.1989 (พ.ศ.2532) ได้มีการพบเอกสารที่บอกเล่าถึงการสังหารหมู่ราชวงศ์โรมานอฟ
3
จากคำบอกเล่าในเอกสาร ได้กล่าวว่า ในกลางดึกของคืนวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ.1918 (พ.ศ.2461) สมาชิกทุกพระองค์ได้ถูกปลุกให้ตื่นจากบรรทมกลางดึก และมีคำสั่งให้ทุกพระองค์แต่งองค์ เตรียมย้ายไปประทับยังที่อื่น
พระราชวงศ์และคนรับใช้ถูกนำลงมายังห้องเล็กๆ ใต้ดิน และนายทหารก็ได้บอกให้ทุกคนรอซักครู่
องค์จักรพรรดินีมีรับสั่งขอเก้าอี้ให้พระองค์และพระราชโอรสประทับนั่ง
1
ในไม่ช้า เหล่าเวรยามก็ได้เดินเข้ามาในห้อง
ทหารที่เดินนำหน้าเข้ามา ได้ทูลพระเจ้าซาร์และทุกพระองค์ว่ามีคำสั่งให้ประหารทุกพระองค์ สร้างความตกตะลึงแก่ทุกพระองค์
1
พระเจ้าซาร์ทรงหันพระพักตร์ไปหาครอบครัว และตรัสว่า “อะไรนะ?” ก่อนที่วินาทีต่อมา กระสุนจะพุ่งเข้าไปยังพระศอของพระองค์ ตามมาด้วยเสียงปืนสนั่นหวั่นไหว
1
ห้องทั้งห้องเต็มไปด้วยควันและฝุ่นจากดินปืน ก่อนที่เหล่าทหารจะเข้าไปใช้ดาบปลายปืนแทงเหล่าผู้ที่ยังไม่สิ้นลม รวมทั้งพระเจ้าซาร์ที่ถูกยิงซ้ำที่พระเศียร สวรรคตในทันที
5
การสังหารหมู่ราชวงศ์โรมานอฟ
มีการนำพระศพไปฝัง และทำการเผาพระบรมศพของพระเจ้าซาร์และพระศพของพระราชธิดาองค์หนึ่ง และฝังยังจุดคนละจุด ซึ่งกว่าจะมีการพบจุดที่ฝังในภายหลัง ก็คือปีค.ศ.2007 (พ.ศ.2550)
1
ภายหลังจากการสังหารราชวงศ์โรมานอฟ ก็มีเสียงลือว่ามีหนึ่งในพระราชธิดารอดชีวิตจากการสังหาร โดยผู้ที่ถูกลือมากที่สุด ก็คือเจ้าหญิงอานาสตาเซีย
1
มีผู้หญิงไม่น้อยกว่า 10 คนออกมากล่าวอ้างว่าตนคือเจ้าหญิงอานาสตาเซีย โดยที่โด่งดังที่สุด คือ “แอนนา เฮนเดอร์สัน (Anna Henderson)” หญิงที่อ้างตนว่าคือเจ้าหญิงอานาสตาเซีย และรอดมาได้จากความช่วยเหลือของทหารยาม
1
ศาลเยอรมันได้รับคดีของเฮนเดอร์สัน ซึ่งการต่อสู้ในชั้นศาลกินเวลาตั้งแต่ค.ศ.1938-1970 (พ.ศ.2481-2513) ก่อนที่ศาลจะตัดสินว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ว่าแอนเดอร์สันคือเจ้าหญิงอานาสตาเซีย
1
แอนนา เฮนเดอร์สัน (Anna Henderson)
ภายหลังจากเฮนเดอร์สันเสียชีวิต ได้มีการตรวจ เปรียบเทียบดีเอ็นเอของเฮนเดอร์สันกับ “เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินเบอระ (Prince Philip, Duke of Edinburgh)” พระสวามีของ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II)” พระประมุขแห่งสหราชอาณาจักร
2
เข้าชายฟิลิปทรงมีศักดิ์เป็นเครือญาติกับจักรพรรดินีอเล็กซานดรา และผลก็ออกมาว่าเฮนเดอร์สันไม่มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์โรมานอฟเลย
ยังมีอีกหลายคนที่แอบอ้างเป็นเจ้าหญิงอานาสตาเซีย หากแต่เมื่อมีการพบที่ฝังพระศพของสมาชิกอีกสองพระองค์ในปีค.ศ.2007 (พ.ศ.2550) จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าในการสังหารครั้งนั้น ไม่มีผู้ใดรอดไปได้เลย
โฆษณา