5 มิ.ย. 2021 เวลา 13:11 • สิ่งแวดล้อม
ขยะ โควิด และ สิ่งแวดล้อม
3
เนื่องในวันนี้ 5 มิถุนายน 2021 เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ภายใต้สถานการณ์โรคระบาดเช่นเดียวกับปีที่แล้ว จึงเป็นเรื่องอื่นไปไม่ได้เลย นอกจากผลกระทบของโควิดต่อสิ่งแวดล้อม
มีหลายสิ่งเปลี่ยนแปลงไป ดังที่ทุกคนทราบกันดี โควิดทำให้การใช้รถ ใช้ถนน ลดลงในหลายเมือง หลายประเทศ มลพิษทางอากาศลดลง นอกจากนั้นโควิดยังทำให้การเดินทางท่องเที่ยวลดลง ถ้าไม่นับรวมเม็ดเงินทางเศรษฐกิจที่หายไปอย่างมาก โควิดทำให้สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งได้ฟื้นฟู คืนความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
1
doi: 10.1163/1”5707563-bja10052
แต่โควิด ก็ทำให้เกิดมลพิษแบบใหม่ ที่กำลังเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมขณะนี้ นั่นก็คือเหล่าขยะป้องกันการติดเชื้อ (PPE) เช่น หน้ากากอนามัย และ ถุงมือยาง ซึ่งเมื่อก่อน ขยะเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นขยะติดเชื้อตามโรงพยาบาลที่จะมีการจัดการอย่างเป็นระบบ
2
แต่เป็นเพราะสถานการณ์โรคระบาดที่รณรงค์ให้ประชาชนรักษาความสะอาด ใส่หน้ากากอนามัยลดการติดเชื้อ ทำให้มีขยะเหล่านี้เพิ่มขึ้นในทุกครัวเรือน การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) คาดการณ์ว่ารายได้จากการขายหน้ากากอนามัยทั่วโลกรวมกันในปี 2020 มีมูลค่าถึง 166 ล้านล้านดอลลาร์ เทียบกับปี 2019 ที่มีมูลค่า 800 ล้านดอลลาร์ แล้วถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก
1
ดังนั้นถ้าไม่มีการจัดการที่ดี ก็เป็นเรื่องง่ายมากที่จะมีขยะเหล่านี้ปนเปื้อนออกไปสู่สิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่กับมนุษย์ต่อไป
ส่วนมาก หน้ากากอนามัยในปัจจุบันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากปิโตรเลียม ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ รวมกับถุงมือยาง ขยะเหล่านี้จึงมีปลายทางอยู่ในธรรมชาติทั้งบนบกและทะเล
bbc.com
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Swansea ประเทศอังกฤษ พบว่าหน้ากากอนามัยที่ถูกทำให้อยู่ในน้ำ (submerged) จะมีโลหะหนักและเส้นใยพลาสติกออกมา ซึ่งสุดท้ายเส้นใยพลาสติกก็จะกลายเป็นนาโนพลาสติก หรือ พลาสติกขนาดจิ๋วปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม
ดร. Sarper Sarp หนึ่งในผู้นำทีมวิจัยให้สัมภาษณ์ว่า ก่อนช่วงโควิดเขาได้ศึกษาผลกระทบของขยะพลาสติกต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่ตอนนี้เขาพบว่ามีขยะหน้ากากอนามัยถูกทิ้งในสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างมาก
"ตอนนี้เราต้องจัดลำดับความสำคัญ เราควรจัดการกับโรคระบาดก่อน ซึ่งหน้ากากอนามัยเป็นสิ่งสำคัญ จึงควรต้องใช้ต่อไป เพียงแต่ว่าเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว ต้องหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย อาจจะเป็นการออกมาตรการหรือข้อบังคับใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะเหล่านี้ให้เป็นระบบ เพราะปัญหาของขยะ PPE เป็นปัญหาสะสม โลหะหนักที่ออกมาจากหน้ากากอนามัย เป็นโลหะพิษ เช่น ตะกั่ว, แคดเมียม, พลวง อาจจะไม่เห็นผลในเวลาอันสั้น แต่ถ้าไม่หาทางแก้ปัญหาโดยเร็ว อนาคตจะเกิดปัญหาตามมาแน่นอน"
bbc.com
หลังจากที่เริ่มมีข่าวของขยะป้องกันการติดเชื้อ ว่าส่งผลกระทบต่อชีวิตสัตว์ในธรรมชาติปรากฎขึ้นในหลายประเทศ เช่น พบเพนกวิน Magellanic ในบราซิลตายพราะกินหน้ากากอนามัยเข้าไป, เม่นในอังกฤษติดอยู่ในถุงมือยาง และ ปลาหมึกนอกชายฝั่งฝรั่งเศสดิ้นอยู่ในสายรัดหน้ากากอนามัย
3
พบหน้ากากอนามัยในทางเดินอาหารของเพนกวิน ซึ่งเป็นสาเหตุของการตาย [https://doi.org/10.1016/j.marpolbul.2021.112232]
ยังมีงานวิจัยจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ตีพิมพ์เกี่ยวกับผลของกระทบของขยะป้องกันการติดเชื้อ (PPE) ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ภายในเมือง Leiden ประเทศเนเธอร์แลนด์ หลังจากมีการขุดลอกคลองเพื่อทำความสะอาด จึงพบขยะ PPE เป็นจำนวนมาก และยังพบปลาติดอยู่ในถุงมือที่ขาดแล้ว
2
doi: 10.1163/1”5707563-bja10052
นอกจากนี้ยังพบรังนกบริเวณนั้น มีหน้ากากอนามัยและถุงมือเป็นส่วนประกอบของรัง แสดงให้เห็นว่าขยะ PPE ที่อยู่ๆก็เพิ่มปริมาณขึ้นทั่วโลก กำลังส่งผลกระทบต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน
2
doi: 10.1163/1”5707563-bja10052
doi: 10.1163/1”5707563-bja10052
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเมื่อสถานการณ์ของโรคระบาดดีขึ้น เพราะอนาคตหากมีโรคระบาดเกิดขึ้นอีก จะได้มีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ มนุษย์ สัตว์ และ ธรรมชาติล้วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน เมื่อมีสิ่งใดได้รับผลกระทบ ไม่ช้าก็เร็ว สิ่งอื่นจะได้รับผลกระทบตามมาแน่นอน
2
เบื้องต้นสิ่งที่เราทำได้ตอนนี้อาจจะเป็นการแยกขยะ ขยะทั่วไป, ขยะพลาสติก, ขยะที่รีไซเคิลได้, ขยะ PPE อย่างถุงมือและหน้ากากอนามัย ออกจากกัน อย่างน้อยจะได้ง่ายต่อการจัดการต่อไป ไม่ใช่เพื่อใคร เพื่ออนาคตของเราและลูกหลานของเราเอง
2
Copyright © 2021 Elsevier Ltd. All rights reserved. [https://doi.org/10.1016/j.chemosphere.2021.129601]
References >>
A.-F. Hiemstra et al. The effects of COVID-19 litter on animal life. Animal Biology. Published online March 22, 2021. doi: 10.1163/1”5707563-bja10052.
Dharmaraj S, Ashokkumar V, Hariharan S, Manibharathi A, Show PL, Chong CT, Ngamcharussrivichai C. The COVID-19 pandemic face mask waste: A blooming threat to the marine environment. Chemosphere. 2021 Jun;272:129601. doi: 10.1016/j.chemosphere.2021.129601. Epub 2021 Jan 9. PMID: 33497928; PMCID: PMC7836388.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา