Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
8 มิ.ย. 2021 เวลา 09:35 • สุขภาพ
โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness)
เป็นโรคที่เกิดขึ้นหลังจากที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเรามากขึ้น ส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้ที่เสพติดการเล่นโซเชียลเป็นชีวิตจิตใจ จากคนที่ใจเย็น สามารถทนรอบางสิ่งบางอย่างได้ พฤติกรรมจะเปลี่ยนไปเป็นคนละคน กลายเป็นคนขี้เบื่อ ใจร้อน หงุดหงิดง่าย เครียดได้ง่าย แม้แต่เรื่องเล็กน้อย เช่น ทนรอการดาวน์โหลดรูปภาพนาน ๆ ไม่ได้ หรือแม้กระทั่งรู้สึกหงุดหงิดทุกครั้งเมื่อคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือเกิดอาการค้าง บางรายถ้าอาการหนักอาจรู้สึกกระวนกระวายใจเป็นอย่างมาก
2
โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness)
1.ทำเหมือนกำลังแข่งขันกับทุกสิ่งทุกอย่าง
ลี แชมเบอร์ส นักจิตวิทยาด้านสิ่งแวดล้อม และที่ปรึกษาด้านความเป็นอยู่ที่ดีในประเทศอังกฤษ อธิบายว่า คนเรามักจะเคยมีช่วงเวลาที่รีบเร่งกว่าปกติเกิดขึ้นได้ เช่น ต้องเร่งทำงานที่ต้องให้เสร็จตามกำหนด หรือต้องเร่งรีบเพื่อไปสนามบินให้ตรงเวลาสำหรับเที่ยวบินที่จองไว้ แต่จะมีคนบางกลุ่มที่เขาจะแยกไม่ออกระหว่างความจำเป็นที่ต้องรีบกับเวลาที่ไม่ต้องเร่งรีบ กลายเป็นว่าพวกเขาทำทุกอย่างเหมือนกำลังอยู่ในสนามแข่งขัน แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น กินข้าวก็ต้องเร็ว ช้อปปิ้งเร็ว ขับรถเร็ว แม้รถติดไฟแดงเพียงเล็กน้อยก็อาจสร้างความหงุดหงิดได้ ซึ่งอาการนี้เข้าข่ายอาการของ Hurry Sickness
1
2. ชอบทำอะไรหลายอย่างพร้อม ๆ กัน
ริชาร์ด จอลลี ที่ปรึกษาด้านองค์กร และเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ Kellogg School of Management ของ Northwestern University บอกว่า อีกหนึ่งสัญญาณที่สังเกตได้คือ การทนไม่ได้ที่จะทำอะไรทีละอย่าง เพราะคนที่มีอาการ Hurry Sickness มักจะรับทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ชอบมีหน้าที่ในหลายบทบาท
3. ขี้หงุดหงิดเมื่อพบกับความล่าช้า
1
อีกหนึ่งสัญญาณของโรคทนรอไม่ได้ คือ จะรู้สึกหงุดหงิดฉุนเฉียวขึ้นมาทันทีที่เผชิญหน้ากับความล่าช้า เช่น กดปุ่มลิฟต์ซ้ำ ๆ เพื่อต้องการให้ประตูลิฟต์ปิดเร็ว ๆ หรือเมื่อเจอสัญญาณไฟแดง หรือเจอคนต่อแถวยาวในธนาคารระหว่างรอทำธุรกรรมทางการเงิน ก็จะรู้สึกเซ็ง หงุดหงิด มีอารมณ์ที่ขุ่นมัวเกิดขึ้นในใจทันที
4. รู้สึกว่าตัวเองล่าช้าตลอดเวลา
สิ่งที่เกิดขึ้นคือความกังวลและต้องการจะไล่ตามทุกอย่างให้ทันใจตัวเองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเรื่องการทำงาน การเดินทาง ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เพราะความรู้สึกที่ต้องการจะทำให้สำเร็จเร็วๆ กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออารมณ์ข้างใน ทำให้บางครั้งควบคุมตัวเองไม่ได้ และแน่นอนว่าคนที่อารมณ์เสียบ่อย ๆ ย่อมไม่ส่งผลดีต่อการทำงาน หรือแม้แต่ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
5. ขัดจังหวะคนอื่นบ่อย ๆ
ด้วยนิสัยที่รอไม่ได้ ทำให้อาจมีหลายครั้งที่คุณไปขัดจังหวะเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานโดยไม่รู้ตัว บางครั้งคนที่คุยด้วยเขาอาจจะยังพูดไม่จบหรือยังไม่เข้าประเด็นที่คุณต้องอยากฟัง ทำให้เกิดการตัดบทสนทนาและพูดแทรกในเรื่องที่ตัวเองอยากสื่อสารออกไปเร็ว ๆ แม้ว่าคุณไม่ได้ตั้งใจที่จะหยาบคาย และการตัดคนอื่นออกจากบทสนทนาก็เป็นอีกหนึ่งอาการของคนที่เป็นโรคทนรอไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ไม่ดีต่อเพื่อนร่วมงานโดยที่คุณไม่รู้ตัว
6. หมกมุ่นกับสิ่งที่ต้องทำอย่างไม่สิ้นสุด
อีกหนึ่งสัญญาณคือ นิสัยจอมหมกมุ่นอยู่กับลิสต์สิ่งที่คุณต้องทำให้เสร็จ คุณจะรู้สึกพึงพอใจเมื่อคุณจัดการสิ่งที่ต้องทำได้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ใจคุณก็จะสงบไม่นาน เพราะต่อจากนั้นคุณจะคิดถึงสิ่งที่ต้องทำลำดับถัดไปอย่างรวดเร็ว อย่าลืมว่าการก้าวไปสู่หน้าที่ใหม่ ๆ กับผลงานใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว บางครั้งมันไม่ได้ทำให้คุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่มันอาจทำให้คุณเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายขึ้น ลี แชมเบอร์ส ถึงได้บอกว่า “คนที่เป็นโรคทนรอไม่ได้ จึงแสดงให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ว่าพวกเขามีสิ่งที่ต้องทำมากเกินไป และมันเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ อยู่ตลอดเวลา”
1
1
วิธีแก้
1
1. เปลี่ยนความคิดให้ได้ว่าทุกอย่างในชีวิตไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน มีเรื่องที่รอได้กับเรื่องที่ต้องทำทันที แต่ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง และทำให้เสร็จทีละอย่าง
2. อนุญาตให้ตัวเองได้พักผ่อน ไม่ต้องทำงานตลอดเวลา ลองนอนหลับนิ่ง ๆ สบาย ๆ ในวันหยุด อ่านหนังสือที่ซื้อมาแต่ยังไม่ได้อ่าน หรือออกไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ ออกกำลังกาย และฝึกสมาธิ จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้ผ่อนคลาย
3. ก่อนนอนพยายามทำกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายและจิตใจสงบ เช่น แช่น้ำอุ่นก่อนนอน จดบันทึก หรือฟังเสียงบรรเลงช่วยกล่อมนอน หากสามารถนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ จะช่วยให้เราได้รับการฟื้นฟูและสร้างสมดุลทางอารมณ์ให้ดีขึ้น
4. ยอมรับความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง คุณไม่จำเป็นต้องต่อสู้กับนิสัยทนไม่ได้อยู่คนเดียว ให้คนรัก ให้คนในครอบครัวช่วยคุณได้ ให้พวกเขาเตือนคุณเมื่อคุณกลับไปเป็นนิสัยเดิม ๆ เพื่อดึงสติให้คุณปรับพฤติกรรมตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ยอมรับว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ฝังรากลึกอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เชื่อเถอะว่าคนที่รักคุณมีอยู่รอบตัว พวกเขาเต็มใจที่จะอยู่เคียงข้างและเป็นกำลังใจให้คุณได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าเมื่อไรที่รู้สึกว่าพยายามก็แล้ว ครอบครัวช่วยก็แล้ว แต่ยังเปลี่ยนไม่ได้ ก็อย่ากลัวที่จะไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือทุกเมื่อเช่นกัน
2
#สาระจี๊ดจี๊ด
โรคทนรอไม่ได้ หากมีอาการมาก ๆ ก็จะเข้าข่ายโรคประสาทได้ ท่านจึงควรปรับเปลี่ยนลักษณะงาน และพยายามควบคุมอารมณ์ตนเองไว้บ้าง มิฉะนั้นท่านจะเป็นคนที่เสียทั้งงานและเสียทั้งเพื่อนได้
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
https://youtu.be/o1bnoV45x8E
https://www.sanook.com/health/28637
https://thestandard.co/hurry-sickness
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
27 บันทึก
54
11
52
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
27
54
11
52
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย